การจัดการ ของ การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่

การป้องกัน

ส่วนย่อยบทความนี้กล่าวถึงยุทธการป้องกันไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วที่องค์กรผู้เชี่ยวชาญสหรัฐ คือ Council on Foreign Relations เป็นผู้ตีพิมพ์[98]

ถ้าไข้หวัดใหญ่ยังคงเป็นปัญหากับเพียงแค่สัตว์โดยมีการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์จำกัด นี่ก็ไม่ใช่การระบาดทั่ว แต่ยังเป็นอันตรายเพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามกลายเป็นโรคระบาดทั่ว มีการเสนอยุทธการชั่วคราวเหล่านี้[98]

  • การฆ่าหรือการให้วัคซีนแก่สัตว์เลี้ยง
  • การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ธรรมดาแก่ผู้ทำงานกับเป็ดไก่
  • การจำกัดการเดินทางในเขตที่พบไวรัส

เหตุผลที่ให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ธรรมดาแก่ผู้ที่ทำงานกับเป็ดไก่ก็คือ มันลดโอกาสการผสมยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ธรรมดากับไวรัสนกคือ H5N1 จนกลายเป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคระบาดทั่วยุทธการระยะยาวสำหรับเขตภูมิภาคที่เกิดเชื้อ H5N1 ที่ติดง่ายเป็นประจำในนกป่ารวม[98]

  • เปลี่ยนวิธีการทำฟารม์เพื่อเพิ่มความสะอาดและลดการติดต่อระหว่างสัตว์เลี้ยงกับนกป่า
  • เปลี่ยนวิธีการทำฟาร์มในเขตที่สัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ และที่อยู่มักไม่สะอาด เปลี่ยนข้อปฏิบัติสำหรับตลาดสดที่ฆ่านกในตลาด ปัญหาการใช้มาตรการเหล่านี้ก็คือความยากจนที่แพร่หลาย บ่อยครั้งในเขตชนบท บวกกับการเลี้ยงนกเพื่อเป็นอาหารของครอบครัว หรือเพื่อรายได้โดยไม่มีมาตรการป้องกันการระบาดของโรค
  • เปลี่ยนนิสัยการซื้อของเฉพาะพื้นที่จากการซื้อนกที่ยังเป็น ๆ เป็นซื้อเนื้อนกที่ตายแล้ว
  • เพิ่มการมีวัคซีนและลดราคาวัคซีนสำหรับสัตว์

การชลอการระบาด

มาตรการของรัฐ

การรับมือกับการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่เบื้องต้นเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการสื่อสารทางสาธารณสุขที่ดี และมีสมรรถภาพในการติดตามความวิตก ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนยกตัวอย่างเช่น กระทรวงสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักรได้พัฒนาชุดคำถาม (Flu TElephone Survey Template, FluTEST) เพื่อใช้สำรวจประชากรทั้งประเทศในช่วงการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่[99]

  • การเว้นระยะห่างทางสังคม - ถ้าให้เดินทางน้อยลง ทำงานที่บ้าน หรือปิดสถาบันการศึกษา ไวรัสก็จะมีโอกาสระบาดน้อยลง งดการอยู่ในที่แออัดถ้าเป็นไปได้ เว้นระยะห่าง (อย่างน้อย 1 เมตร) จากบุคคลที่มีอาการหวัด เช่น ไอหรือจาม[100] แต่วิธีการนี้ในช่วงโรคระบาดทั่วก็จะมีผลรุนแรงหลายอย่างทางจิตใจ ดังนั้น เกณฑ์การเว้นระยะห่างควรพิจารณาสุขภาพจิตด้วย[101]
  • อนามัยเกี่ยวกับการหายใจ - แนะนำให้ประชาชนปิดการไอการจามของตน ถ้าใช้กระดาษทิชชู ควรทิ้งอย่างพิถีพิถันและล้างมือทันทีหลังจากนั้น (ดูอนามัยการล้างมือ) ถ้าไม่มีกระดาษทิชชูตอนนั้น ให้ปิดปากด้วยข้อพับของแขนให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[100]
  • อนามัยการล้างมือ - การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ (หรือด้วยน้ำยาล้างมือที่ทำด้วยแอลกอฮอล์) เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะหลังจากไอหรือจาม หรือหลังจากเจอหรือสัมผัสกับผู้อื่นหรือกับพื้นผิวที่อาจมีเชื้อ (เช่น ราวบันได เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันเป็นต้น)[102]
  • อนามัยอื่น ๆ - พยายามอย่าแตะตา จมูก และปากให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[100]
  • หน้ากากอนามัย - ไม่มีหน้ากากที่กันโรคได้ทั้งหมด แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้หรือเกินมาตรฐาน N95 ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเชื่อว่า ป้องกันได้ดี องค์การแนะนำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใส่หน้ากากระดับ N95 และให้คนไข้ใส่หน้ากากที่แพทย์พยาบาลใส่ ซึ่งอาจป้องกันสิ่งคัดหลั่งทางลมหายใจไม่ให้กระจายไปในอากาศ[103] หน้ากากทุก ๆ อย่างอาจช่วยเตือนคนใส่ไม่ให้จับหน้าของตนเอง ซึ่งอาจช่วยการติดเชื้อเนื่องด้วยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อ โดยเฉพาะในที่แออัดซึ่งผู้ที่ไอหรือจามไม่สามารถล้างมือของตนได้ แต่หน้ากากก็อาจติดเชื้อเองและต้องจัดการเหมือนขยะติดเชื้อเมื่อถอดออก
  • การสื่อสารความเสี่ยง - เพื่อให้ประชาชนยอมทำตามวิธีการลดการระบาดของโรค การสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในชุมชน (เช่นบังคับให้คนป่วยหยุดงานอยู่บ้าน ปิดสถาบันการศึกษา) สำหรับเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดที่รัฐบาลกลางกำหนดให้ทำ โดยผู้นำชุมชนเป็นผู้กระจายข่าวสารไปไปยังประชาชน ไม่ควรแสดงความมั่นใจหรือความแน่นอนเกินจริงว่า วิธีเหล่านี้มีประสิทธิผลเพียงไร[104]

ยาต้านไวรัส

มียาต้านไวรัสสองกลุ่มที่ใช้รักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ คือ 1) สารยับยั้งเอนไซม์นูรามินิเดส (neuraminidase inhibitor) เช่น โอเซลทามิเวียร์ (ชื่อการค้าเช่น Tamiflu) และ Zanamivir (ชื่อการค้า Relenza) และ 2) อะดาแมนเทน (adamantane) เช่น อะแมนตาดีนและ rimantadineแต่เพราะมีผลข้างเคียงในอัตราสูงและเพราะโอกาสดื้อยา การใช้ยากลุ่มอะดาแมนเทนเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่จึงจำกัด[105]

ประเทศหลายประเทศรวมทั้งองค์การอนามัยโลก กำลังเตรียมสะสมยาต้านไวรัสเพื่อเตรียมรับมือกับโรคระบาดทั่วที่อาจเกิดโอเซลทามิเวียร์เป็นยานิยมมากที่สุด เพราะมีขายเป็นเม็ดZanamivir ก็พิจารณาเหมือนกันแต่เป็นยาใช้สูดยาต้านไวรัสอื่น ๆ มีโอกาสมีผลรักษาไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดทั่วน้อย

ทั้งโอเซลทามิเวียร์และ Zanamivir ค่อนข้างขาดตลาด และสมรรถภาพการผลิตในระยะปานกลางก็จำกัดแพทย์บางส่วนกล่าวว่าการให้ยาโอเซลทามิเวียร์บวกกับ probenecid อาจช่วยเพิ่มยาที่มีเป็นทวีคูณ[106]

มีโอกาสที่ไวรัสจะวิวัฒนาการจนเกิดดื้อยาคือปรากฏว่า คนไข้ที่ติดเชื้อ H5N1 แล้วรักษาด้วยโอเซลทามิเวียร์ได้เกิดสายพันธุ์ไวรัสที่ดื้อยา

วัคซีน

วัคซีนไม่น่าจะมีเมื่อเกิดโรคระบาดในระยะต้น ๆ[107][ลิงก์เสีย]เพราะไม่สามารถพัฒนาวัคซีนกันไวรัสที่ยังไม่มีจริง ๆแม้ไวรัสไข้หวัดใหญ่นกสายพันธุ์ H5N1 มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่ก่อโรคระบาดทั่ว แต่ไวรัสชนิดอื่น ๆ ก็เช่นกันหลังจากได้ระบุไวรัสและอนุมัติให้ใช้วัคซีนแล้ว ปกติจะใช้เวลา 5-6 เดือนก่อนจะมีขายในตลาด[108]

สมรรถภาพในการผลิตวัคซีนต่างกันในประเทศต่าง ๆ ตามองค์การอนามัยโลก มีประเทศที่ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ 19 ประเทศเท่านั้น[109]ประเมินว่า สามารถผลิตวัคซีนอย่างมากที่สุด 750 ล้านชุดต่อปี และแต่ละคนน่าจะต้องได้ 2 ชุดเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานไวรัสการจำหน่ายทั้งในประเทศและนอกประเทศน่าจะเป็นปัญหา[110]มีประเทศหลายประเทศที่มีแผนการดีในการผลิตวัคซีนจำนวนมากยกตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแคนาดากล่าวว่า กำลังสร้างสมรรถภาพการผลิตให้ได้ 32 ล้านชุดภายใน 4 เดือน ซึ่งเกือบพอให้ประชาชนแคนาดาทุกคน (ประมาณ 35 ล้านคนในปี 2016)[111]

ปัญหาอีกอย่างก็คือประเทศที่ไม่ได้ผลิตวัคซีนเอง รวมทั้งที่น่าจะเป็นแหล่งเกิดโรค จะสามารถซื้อวัคซีนป้องกันประชากรของตนหรือไม่นอกจากราคาวัคซีนแล้ว ยังกลัวว่า ประเทศที่ผลิตวัคซีนได้เองจะกักวัคซีนที่ผลิตเพื่อป้องกันประชากรของตนเองโดยไม่ขายให้ประเทศอื่น ๆ จนกระทั่งสามารถป้องกันตนเองแล้วเช่น ประเทศอินโดนีเซียได้ปฏิเสธไม่แชร์ตัวอย่างสายพันธุ์ไวรัส H5N1 ที่ได้ทำให้คนในประเทศติดแล้วเสียชีวิตจนกว่าจะได้การประกันว่า จะได้วัคซีนที่ผลิตอาศัยตัวอย่างนั้น ๆ แต่ก็ไม่เคยได้คำรับประกัน[112]ในเดือนกันยายน 2009 สหรัฐและฝรั่งเศสได้ตกลงยอมจำหน่ายวัคซีนต้าน H1N1 ในอัตราร้อยละ 10 ของที่มีให้ประเทศอื่น ๆ ผ่านองค์การอนามัยโลก[113][114]

มีปัญหาทางเทคนิคในการพัฒานาวัคซีนต้านเชื้อ H5N1ปัญหาแรกก็คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลเป็นการฉีด haemagluttinin ขนาด 15 ไมโครกรัมให้เข็มหนึ่งแต่เชื้อกลุ่ม H5 ดูเหมือนจะทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองแบบอ่อน ๆ เท่านั้น และงานทดลองขนาดใหญ่ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ก็พบว่าการฉีดวัคซีน 2 ครั้งแต่ละครั้งขนาด 90 ไมโครกรัมโดยห่างกัน 28 วันสำหรับเชื้อ H5 ให้ภูมิคุ้มกันแก่คนแค่ร้อยละ 54[115]แม้ถ้าจัดว่าร้อยละ 54 ก็พอป้องกันโรคแล้ว แต่ตอนนี้โลกผลิตวัคซีนเพียงแค่ 900 ล้านชุดแต่ละชุดขนาด 15 ไมโครกรัมถ้าเปลี่ยนโรงงานผลิตวัคซีนทั้งหมดให้ผลิตวัคซีน H5 โดยต้องฉีด 2 ครั้งครั้งละ 90 ไมโครกรัม สมรรถภาพการผลิตก็เหลือเพียงแค่ 70 ล้านชุด[116]การทดลองใช้ยาเสริมฤทธิ์ (adjuvant) เช่น alum, AS03, AS04 หรือ MF59 เพื่อลดขนาดวัคซีนที่ใช้เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก

ปัญหาที่สองก็คือ มีเคลดไวรัสที่แพร่ระบาดอยู่ 2 กลุ่ม เคลด 1 เป็นไวรัสที่ดั้งเดิมแยกได้ในเวียดนาม ส่วนเคลด 2 เป็นไวรัสที่แยกได้ในอินโดนีเซียงานวิจัยวัคซีนโดยมากมุ่งไปที่ไวรัสเคลด 1 แต่ไวรัสเคลด 2 ก็มีแอนติเจนที่ต่างกัน และวัคซีนสำหรับไวรัสเคลด 1 ก็ไม่น่าจะป้องกันโรคระบาดทั่วที่เกิดจากไวรัสเคลด 2

ตั้งแต่ปี 2009 การพัฒนาวัคซีดโดยมากมุ่งไปที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วคือ H1N1จนถึงเดือนกรกฎาคม 2009 มีการทดลองวัคซีนทางคลินิก 70 งานที่ได้ทำเสร็จแล้วหรือกำลังทำอยู่[117]ในเดือนกันยายน 2009 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้ให้อนุมัติวัคซีนต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 2009 รวม 4 ชนิด และคาดว่า วัคซีนล็อตแรกจะผลิตได้ในเดือนต่อมา[118]

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบังกลาเทศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ http://www.eletrica.ufsj.edu.br/~nepomuceno/refere... http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.france24.com/en/20090917-france-donate-... http://www.horizonpress.com/avir http://www.influenzareport.com/ir/ai.htm http://archive.jsonline.com/news/usandworld/437051... http://www.merck.com/mmhe/sec17/ch198/ch198c.html http://www.themalaysianinsider.com/index.php/world... http://www.timberlanebooks.com/cruel_wind_desc.sht... http://www.nap.edu/books/0309095042/html/115.html