กลัสนอสต์และเปเรสตรอยคา ของ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

มีฮาอิล กอร์บาชอฟเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังคอนสตันติน เชียร์เนนโคถึงแก่อสัญกรรม กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลัสนอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการตรวจพิจารณา การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง) ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษนิยม

อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการควบคุมสื่อและความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ

ใกล้เคียง

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต การล่มสลายของมาเนอปลอว์ การล่าหมูป่า การล่าวาฬในญี่ปุ่น การล่าแม่มด การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก การล่มของดัลนีวอสตอก การล่มสลายของยูโกสลาเวีย การล่าสัตว์ในเพชรพระอุมา การล่องเรือในแม่น้ำ