ข้อวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาไทยในปัจจุบัน ของ การศึกษาในประเทศไทย

การศึกษาไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น จากการจัดอันดับตามรายงานของ World Economic Forum ในปี พ.ศ. 2555 - 2556 ระบุว่าประเทศไทยมีอันดับคุณภาพทางการศึกษาลำดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ[34] โดยคนไทยกว่าร้อยละ 87 เชื่อว่าการศึกษาไทยอยู่อันดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนจริง[35] ซึ่งมูลเหตุที่สำคัญมาจากปัญหาที่สะสมมานานหลายประการอันเกิดมาจากระบบการเรียนการสอน หลักสูตร ครูผู้สอน โอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมไปถึงคุณภาพของนักเรียนไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางการศึกษาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[36] แต่การบริหารจัดการยังไม่ดีมากนักโดยพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทไปที่การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีการใช้งบประมาณแบบตำน้ำพริกละลายในแม่น้ำเป็นส่วนมาก(นำไปใช้ไม่ตรงจุดสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนา หรือนำไปจัดการแต่ละเรื่องมากเกินกว่าผลผลิตคุณภาพที่ได้ไม่คุ้มค่า และถ้าหากได้รับงบน้อยก็จะส่งผลต่อนักเรียนที่ได้รับโอกาสไม่เท่ากันมากขึ้น) อีกทั้งเป็นไปในสัดส่วนที่มากกว่าอาชีวศึกษาค่อนข้างมาก ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพสูงมากนักและไม่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบันยุคสังคมเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่างๆมากขึ้น[36] นอกจากนี้แม้จะจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนมาก แต่ยังพบปัญหาโอกาสการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีฐานะและผู้ไม่มีฐานะ ยิ่งมองให้ลึกไปถึงผู้บริหารระดับสูงไม่มีความรู้ด้านวิชาการอย่างลึกซึ้งจึงพึ่งพิงบุคลากรระดับการจัดการงบประมาณหรือนักจัดการเงิน/จัดจ้างเป็นสำคัญ (ผู้ใช้งบประมาณไม่เข้าใจเชิงวิชาการการจัดการศึกษาเชิงรุกอย่างลึกซึ้ง นักวิชาการไม่มีโอกาสลงลึกถึงงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา) และหรือผู้ที่เข้าใจระบบการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ(นักวิชาการทุกระดับความคิด ปัจจุบันยังใช้ความคิดของนักการศึกษาในยุคเก่าและหรือดำเนินการพัฒนาคุณภาพแบบโยนหินถามทาง และไม่กล้าสู้ปัญหาแบบกล้าคิดกล้าทำที่สมควรบุกเบิกการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง) ผู้รู้หรือนักวิชาการอิสระที่มีความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาไม่มีโอกาสเข้าร่วมให้ข้อคิดหรือข้อเสนอแนะแบบประชาพิจารณ์ร่วม รวมไปถึงปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรและการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน[37] โดยหลักสูตรของไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพที่ตรงตามความสามารถของผู้เรียน เมื่อรวมเข้ากับค่านิยมของสังคมทำให้การจัดหลักสูตรของไทยไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน[38]

การศึกษาหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ วินัย รอดจ่าย เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง แบบเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ "ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น "ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก"[39]

ภายใต้หลักสูตรใหม่ นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ์นิยมของธงไตรรงค์ และจะเปิดเพลงอย่างสรรเสริญพระบารมีในโรงเรียน เด็กนักเรียนจะถูกฝึกให้เป็นทูตจิตวิญญาณรักชาติ โดยยกตัวอย่างนักเรียนตักเตือนผู้ใหญ่ที่ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ จะมีการติดป้ายขนาดใหญ่ซึ่งมีค่านิยม 12 ข้อของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังริเริ่ม "พาสปอร์ตความดี" ซึ่งนักเรียนต้องบันทึกพฤติกรรมและเจตคติ[39] และ การสอบยูเน็ตในระดับอุดมศึกษาด้วย

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 บริษัท เอสไอบีไอ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นบริษัทแรก ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา โดยเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน ประเภท โรงเรียนนานาชาติ[40]

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาในประเทศไทย http://thailand.angloinfo.com/family/schooling-edu... http://www.edthai.com/ http://blog.eduzones.com/socialdome/115735 http://education.kapook.com/view24597.html http://law.longdo.com/law/224/sub15271 http://teen.mthai.com/variety/57269.html http://www.nationmultimedia.com/2011/07/08/nationa... http://www.nytimes.com/2014/09/16/world/asia/loved... http://www.posttoday.com/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%... http://prachatai.com/journal/2013/09/48705