ระดับชั้น ของ การศึกษาในประเทศไทย

การจัดการศึกษาในประเทศไทยในระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาและในระดับอาชีวศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาโดยภาคการศึกษาแรกจะจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ภาคการศึกษาปลายจะเริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนถึงวันที่ 1 เมษายน[19] อย่างไรก็ตามมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กระทรวงศึกษาธิการยังคงยืนยันที่จะกำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนตามเดิม[19] สำหรับในระดับอุดมศึกษานั้นมีการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทวิภาค ยกเว้นหลักสูตรนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนแบบไตรภาค โดยมีภาคฤดูร้อนให้นิสิต/นักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาได้ สำหรับประเทศไทยได้แบ่งระดับชั้นการศึกษาไว้ดังตารางด้านล่างนี้[20]

ระดับชั้นอายุ
สายสามัญสายอาชีพ
การศึกษาปฐมวัย
เตรียมอนุบาล2-3
อนุบาล3-5
ประถมศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ 16 - 7
ประถมศึกษาปีที่ 27 - 8
ประถมศึกษาปีที่ 38 - 9
ประถมศึกษาปีที่ 49 - 10
ประถมศึกษาปีที่ 510 - 11
ประถมศึกษาปีที่ 611 - 12
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาปีที่ 112 - 13
มัธยมศึกษาปีที่ 213 - 14
มัธยมศึกษาปีที่ 314 - 15
มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา
มัธยมศึกษาปีที่ 4ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 115 - 16
มัธยมศึกษาปีที่ 5ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 216 - 17
มัธยมศึกษาปีที่ 6ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 317 - 18
อุดมศึกษาและเทียบเท่า
สายตรงทั่วไปสายอนุปริญญาสายอาชีวศึกษา
บัณฑิตปี 1อนุปริญญาปี 1ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 1
บัณฑิตปี 2อนุปริญญาปี 2ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี 2
บัณฑิตปี 3ต่อเนื่องปี 1
บัณฑิตปี 4 - 6ต่อเนื่องปี 2 - 4
บัณฑิต (ปริญญาตรี)
มหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)

*หมายเหตุ : การเรียนในระดับอุดมศึกษาระดับบัณฑิต (ป.ตรี) แบ่งสายทางการศึกษาได้ 3 ประเภทดังตารางข้างต้น และเมื่อหลักสูตรใดกำหนดให้ต้องศึกษาระยะเวลาเท่าใดอยู่ที่กำหนดการของหลักสูตรนั้น และสถาบันอุดมศึกษานั้นที่เปิดสอน ผู้เรียนต้องศึกษารายละเอียดของหลักสูตรนั้นให้เข้าใจ สมมุติผู้เรียนต้องการศึกษาหลักสูตรบัณฑิต 4 ปี

1.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่อบัณฑิต 4 ปีในสถานศึกษานั้นจนครบหลักสูตร ก็จะเป็นไปตามตารางสายตรงทั่วไป

2.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออนุปริญญา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแล้ว ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตในสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอนุปริญญา หลักสูตรอนุปริญญานี้เปิดสอนที่ สถาบันวิทยาลัยชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ให้อนุปริญญาได้

3.ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาต่ออาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็สามารถเทียบโอนผลการศึกษาเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัณฑิตใสถานศึกษาอื่น ๆ อีก 2 ปี ก็จะเป็นไปตามตารางสายอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนี้เปิดสอนที่ สถาบันด้านอาชีวศึกษาหรือเรียกกันว่า "สายอาชีพ" ทั้งรัฐและเอกชน

ระดับการศึกษาในมัธยมศึกษา [21]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดการเรียนการสอน 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษ แล้วโดยจัดการเรียนการสอน 3 ปี โดยการเรียนการสอนมี 2 ประเภท แบ่งออกดังนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน[22]
กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกเรียนทางด้านสายอาชีพอาชีวศึกษาได้[23]

หลักสูตรในสายอาชีวศึกษา

1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  1. สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
  2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
  3. สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
  4. สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
  5. สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
  6. สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
  7. สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
  8. สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
  9. สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยาง
2. ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
  1. สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
  2. สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
3.ประเภทวิชาศิลปกรรม
  1. สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
4. ประเภทวิชาคหกรรม
  1. สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
  2. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
  3. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
  4. สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
  1. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
6. ประเภทวิชาประมง
  1. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  2. สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
  3. สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  1. สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
  2. สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
  3. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) 2551
  1. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาเอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  2. สาขาวิชาเครื่องกล วิชาเอก เทคนิคช่างยนต์
  3. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอก เชื่อมและประสาน
  4. สาขาวิชาโยธา วิชาเอก เทคนิคโยธา
  5. สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้ากำลัง
  6. สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาในประเทศไทย http://thailand.angloinfo.com/family/schooling-edu... http://www.edthai.com/ http://blog.eduzones.com/socialdome/115735 http://education.kapook.com/view24597.html http://law.longdo.com/law/224/sub15271 http://teen.mthai.com/variety/57269.html http://www.nationmultimedia.com/2011/07/08/nationa... http://www.nytimes.com/2014/09/16/world/asia/loved... http://www.posttoday.com/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%... http://prachatai.com/journal/2013/09/48705