การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด
การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด

การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด

การสู้รบ
แอลอัล เที่ยวบินที่ 426 · การโจมตีแอลอัล เที่ยวบินที่ 253 (การโจมตีตอบโต้) · การโจมตีแอลอัล เที่ยวบินที่ 432 · การจี้เครื่องบินทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 840 (ค.ศ. 1969) · การระเบิดรถบัสโรงเรียนอาวีวิม · การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด · ซาบีนา เที่ยวบินที่ 571 · การสังหารหมู่ที่เคียยัตชโมนา · การสังหารหมู่ที่มาอาลอท · การโจมตีนาฮาริยา ค.ศ. 1974 · การโจมตีโรงแรมซาวอย · วิกฤติตัวประกันที่คฟายูวัล · การสังหารหมู่ที่ถนนโคสตัล · สงครามเลบานอนใต้ ค.ศ. 1978 · การโจมตีนาฮาริยา ค.ศ. 1979 · วิกฤติตัวประกันที่มิสเกฟแอม · การทิ้งระเบิดที่ประเทศเลบานอน ค.ศ. 1981 · สงครามเลบานอน ค.ศ. 1982 (การล้อมกรุงเบรุต)เหตุการณ์ระหว่างประเทศ
การสังหารหมู่ที่มิวนิก · (ปฎิบัติการความพิโรธของพระเจ้า · การตีโฉบฉวย ค.ศ. 1972 · การตีโฉบฉวย ค.ศ. 1973) · การจี้เครื่องบินซาบีนา เที่ยวบินที่ 571 · การโจมตีสถานทูตซาอุดีอาระเบียในคาร์ทูม · แผนระเบิดนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1973 · ทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 841 (ค.ศ. 1974) · แพนแอม เที่ยวบินที่ 110 · ปฏิบัติการเอนเทบเบการสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด เป็นการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 เมื่อสมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่น 3 คนที่สนับสนุนโดยฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine – External Operations; ย่อ PFLP-EO)[1][2] โจมตีท่าอากาศยานลอด (ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียนในปัจจุบัน) ใกล้เมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บ 80 คน[3]วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 โกะโซะ โอะกะโมะโตะ, สึโยะชิ โอะกุไดระและยะสึยุกิ ยะสึดะ สมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่นที่ได้รับการฝึกจากกลุ่ม PFLP-EO เดินทางมาที่ท่าอากาศยานด้วยเที่ยวบินจากกรุงโรม[4][5] กลุ่ม PFLP-EO เลือกพวกเขาแทนชาวปาเลสไตน์เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับจากฝ่ายอิสราเอล[6] ทั้งสามคนแต่งกายทั่วไปและถือกล่องไวโอลิน เมื่อมาถึงพื้นที่พักคอย พวกเขาหยิบปืนเล็กยาวจู่โจม vz. 58 ที่ถอดพันท้ายออกจากกล่องไวโอลินแล้วกราดยิงไปที่ผู้คน ก่อนจะโยนระเบิดมือ ต่อมายะสึดะถูกผู้ก่อเหตุด้วยกันยิงเสียชีวิต ด้านโอะกุไดระย้ายไปยิงผู้โดยสารขาเข้าก่อนจะถูกระเบิดตัวเองเสียชีวิต ส่วนโอะกะโมะโตะถูกยิงก่อนถูกจับกุม[7][8] เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นชาวปวยร์โตรีโก 17 คน ชาวอิสราเอล 8 คนและชาวแคนาดา 1 คนและมีผู้บาดเจ็บ 80 คนหลังเกิดเหตุ ในขั้นต้นทางการญี่ปุ่นไม่เชื่อว่าผู้ก่อเหตุเป็นชาวญี่ปุ่น จนกระทั่งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นยืนยันว่าโอะกะโมะโตะเป็นชาวญี่ปุ่น โอะกะโมะโตะกล่าวว่าตนไม่มีความแค้นกับชาวอิสราเอล แต่ก่อเหตุเพราะ "เป็นหน้าที่ของทหารผู้ปฏิวัติ"[9] เขายอมรับสารภาพและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน[7] โอะกะโมะโตะถูกจำคุกนาน 13 ปีก่อนได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1985 ร่วมกับนักโทษคนอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนนักโทษกับทหารอิสราเอลที่ถูกจับ[10] ภายหลังโอะกะโมะโตะลี้ภัยอยู่ในเลบานอน[11]

การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด

ประเภท การสังหารหมู่
เจ็บ 79 คน
ผู้โจมตี สมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่น 3 คน
(สนับสนุนโดย PFLP-EO)
อาวุธ ปืนเล็กยาวจู่โจม วีซี. 58, ระเบิดมือ
ตาย 26 คน
พิกัด 31°59′42.4″N 34°53′38.65″E / 31.995111°N 34.8940694°E / 31.995111; 34.8940694
สถานที่ ท่าอากาศยานลอด นอกเมืองเทลอาวีฟ อิสราเอล
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972

ใกล้เคียง

การสังหารหมู่ที่หนานจิง การสังหารหมู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565 การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (ออสเตรเลีย) การสักยันต์ การสังเคราะห์ด้วยแสง การสัมพันธ์ การสังหารหมู่ที่วัดพรหมคุณาราม รัฐแอริโซนา การสังหารหมู่เชลยศึกที่ออแลนิวกา การสังหารหมู่ที่บูชา การสังหารหมู่ที่หมีลาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด http://www.jpost.com/Features/InThespotlight/Artic... //doi.org/10.1525%2Fas.1976.16.9.01p0218n //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.nytimes.com/2000/03/17/world/fate-of-5... https://www.archives.gov.il/NR/exeres/A1B1717E-45B... https://www.japantimes.co.jp/news/2016/12/25/natio... https://web.archive.org/web/20141227112810/http://... https://books.google.co.th/books/about/The_Encyclo... https://books.google.co.th/books/about/The_War_of_...