การอยู่เป็นโสด

การอยู่เป็นโสด หรือ เซลิเบซี (จากภาษาละติน, cælibatus) เป็นสถานะของความสมัครใจที่จะไม่แต่งงานหรือสมรส ละเว้นการร่วมเพศ หรือทั้งสองอย่าง มักจะมาจากเหตุผลทางศาสนา[1][2][3][4] บ่อยครั้งที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของเจ้าหน้าทีทางศาสนาหรือผู้อุทิศตน ในแง่ที่คับแคบ, คำว่า เซลิเบซี จะใช้ได้เฉพาะกับผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงานเป็นผลมาจากคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ การอุทิศตนในการเสียสละ และความเชื่อมั่นทางศาสนา[5][6] ในความหมายที่กว้างขวางเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปอาจหมายถึงการงดเว้นจากกิจกรรมทางเพศเท่านั้น[7][8]เซลิเบซีได้มีอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในแทบทุก ๆ ศาสนาหลักของโลก และมุมมองที่หลากหลาย เช่นเดียวกับชาวโรมันได้มองว่าเป็นความผิดปกติและกฏหมายได้มีการลงโทษด้วยการปรับเป็นเงิน โดยมีข้อยกเว้นเพียงประการเดียวที่อนุญาตให้แก่กลุ่มนักบวชหญิงที่ชื่อว่า เวสทัล เวอร์จิ้นส์ ทัศนคติของศาสนาอิสลามที่มีต่อการอยู่เป็นโสดนั้นมีความซับซ้อนเช่นเดียวกัน ฮะดีษบางคำได้กล่าวว่า มูฮัมหมัดได้ประณามติเตียน แต่บางคำสั่งของนิกายศูฟีได้ถูกนำมาใช้ วัฒนธรรมคลาสสิคของชาวฮินดูได้สนับสนุนในการบำเพ็ญตบะและการถือพรหมจรรย์ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ภายหลังจากที่ได้พบกับภาระผูกพันทางสังคมของเขา ศาสนาเชน, ในทางตรงกันข้าม คำสั่งสอนในการถือพรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ แม้สำหรับนักพรตหนุ่มแล้วและได้ถือว่า การถือพรหมจรรย์เป็นพฤติกรรมที่สำคัญในการบรรลุโมกษะ ศาสนาพุทธได้รับอิทธิพลจากศาสนาเชน อย่างไรก็ตาม, ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ที่ศาสนาพุทธได้เผยแพร่กระจายออกไปซึ่งส่งผลต่อทัศนคติของคนในท้องถิ่นต่อการถือพรหมจรรย์ มันไม่ได้รับการตอบรับที่ดีในประเทศจีน จากตัวอย่างเช่น ขบวนการทางศาสนาอื่น ๆ เช่น ลัทธิเต๋าได้ออกมาคัดค้าน สถานการณ์ที่ค่อนข้างคล้ายกันที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ที่ประเพณีชินโตยังคงต่อต้านการถือพรหมจรรย์ ในประเพณีทางศาสนาพื้นเมืองของชาวแอฟริกันและชาวอเมริกาอินเดียส่วนใหญ่ การถือพหจรรย์ได้ถูกมองในแง่ลบเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีข้อยกเว้น เช่น การถือครองโสดเป็นระยะ ๆ ซึ่งฝึกฝนโดยนักรบชาวเมโสอเมริกัน[9]

ใกล้เคียง

การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส การอยู่เป็นโสด การอยู่กินด้วยกัน การอยู่ไฟ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การยกกำลัง การออกกำลังกาย การยอมจำนนของญี่ปุ่น การยึดกรุงไซ่ง่อน การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์