การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ

การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (อังกฤษ: economic liberalization/liberalisation) เป็นการลดข้อบังคับและข้อจำกัดในเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อแลกกับการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในทางการเมือง ลัทธินี้สัมพันธ์กับเสรีนิยมคลาสสิกและเสรีนิยมใหม่ประเทศรายได้สูงส่วนใหญ่ยึดแนวทางการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในหลายทศวรรษหลังโดยมีเป้าหมายตามแถลงเพื่อธำรงและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ นโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมีทั้งการโอนกิจการของรัฐทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นของเอกชน มีความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานสูงขึ้น อัตราภาษีธุรกิจต่ำลง จำกัดทุนในประเทศและต่างประเทศลเลง เปิดตลาด เป็นต้น สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจหมายความถึงการเปิดเศรษฐกิจรับทุนและการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น ประเทศที่เศรษฐกิจโตเร็วที่สุดสามประเทศ บราซิล จีนและอินเดีย มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเปิดเสรีเศรษฐกิจของตนเพื่อรับทุนต่างประเทศ[1]ปัจจุบันมีการให้เหตุผลว่าหลายประเทศโดยเฉพาะในโลกที่สามไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเปิดเสรีเศรษฐกิจของตนเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในการดึงดูดและเก็บรักษาการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียในปี 2534[2] และประเทศฟิลิปปินส์มีข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2530 เพื่อตัดบทบัญญัติที่จำกัดทางเศรษฐกิจ[3]ในทางกลับกัน แนวคิดตรงข้ามกับเศรษฐกิจเสรี คือ เศรษฐกิจเกาหลีเหนือที่ใช้ระบบการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ (autarky) ซึ่งปิดรับการค้าและการลงทุนต่างประเทศ แต่ยังมีการค้าขายกับประเทศจีนและรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อแลกกับสันติภาพและการจำกัดโครงการอาวุธนิวเคลียร์[4][5] อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ประเทศที่อุดมด้วยน้ำมันซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพราะมีรายได้จากการส่งออกสูงอยู่แล้วอย่างไรก็ดี บางส่วนให้เหตุผลว่าบริษัทต่างประเทศอาจเก็บเอากำไรไว้เองและนำเงินออกนอกประเทศได้[6] นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เช่น

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์