จิตวิทยาผู้ประกอบการ ของ การเป็นผู้ประกอบการ

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล และ ผู้บริหารบริษัทแอปเปิลในอดีต สตีฟ จ็อบส์ Steve Jobs (รูปถ่าย ปี 2010) คือผู้ที่เปิดตัวนวัตกรรมหลายอย่างปฏิวัติวงการธุรกิจคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ ธุรกิจเพลงดิจิทัล

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เอ็ดเวิร์ด ลาซีร์ (Edward Lazear) อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยในปี ค.ศ.2005 เพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงในการแยกคนที่มีความเป็นผู้ประกอบการและคนที่ไม่มีความเป็นผู้ประกอบการ พบว่าการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน คือสองคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดในการจำแนกผู้คนที่มีความเป็นผู้ประกอบการ[22] ในปี ค.ศ.2013 มีการวิจัยโดยอาจารย์อูชิ บาเคส-เกลเนอร์ (Uschi Backes-Gellner) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ เปตรา มูก อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซีเกน ประเทศเยอรมนี ได้ค้นพบว่าการมีเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวางนั้น ก็เป็นหนึ่งในอีกปัจจัยที่ทำให้บุคคล (นักศึกษา) คนหนึ่งนั้นกลายเป็นผู้ประกอบการ[23][24]

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ประกอบการเพศชายและเพศหญิงนั้น มีความคล้างคลึงกันด้านพฤติกรรมที่ค่อนข้างสูง โดยจากการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ พบว่าผู้ประกอบการเพศหญิงจะมีทักษะด้านการต่อรองและทักษะการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่สูง[25] นักวิจัยชาวสวีเดน โอซ่า แฮนสัน (Åsa Hansson) ที่ได้ทำวิจัยเรื่องความแตกต่างของผู้ประกอบการเพศหญิงและเพศชาย ได้ให้ข้อสรุปว่า ยิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการก็ยิ่งน้อยลง ในทางกลับกัน ผู้ชายยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการสูงขึ้นตาม[26]

อาจารย์จิตวิทยาชาวเดนมาร์ก เยสปา โชแอนเซิน (Jesper Sørensen) ได้เขียนถึงเรื่องของอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ไว้ในปี ค.ศ.2010 ซึ่งได้รวมไปถึงปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงานและปัจจัยด้านสภาพสังคม โดยเขาได้พบว่าการที่ทำงานกับคนที่เป็นผู้ประกอบการที่สำเร็จนั้น มีอิทธิพลให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นผู้ประกอบการในอนาคต เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำงานกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ[27] เนื่องจากทำให้บุคคลดังกล่าวมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ กล่าวคือ "ถ้าเขาทำได้ ทำไมฉันถึงจะทำไม่ได้?" อาจารย์โชแอนเซินได้กล่าวว่า "เมื่อคุณเจอคนที่ได้ประสบความสำเร็จแล้ว คุณก็จะรู้ว่าการประสบความสำเร็จนั้น มันเป็นไปได้"[28]

ผู้ประกอบการอาจได้แรงบันดาลใจให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้จากประสบการณ์ที่ตนเองได้ประสบในอดีต โดยเฉพาะคนที่ถูกเลิกจ้าง มักจะมีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการที่สูง[26] จากแบบทศสอบบุคลิกภาพของเรย์มอน์ แคทเทลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ แคทเทลได้กล่าวว่าการเป็นผู้ประกอบการนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งบุคลิกภาพประจำตัวบุคคลและทัศนคติของบุคคล ทั้งสองอย่างคือปัจจัยทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของบุคคล[29]

ผู้ประกอบการนวัตกรรม มักจะมีประสบการณ์ทางจิตวิทยาแบบหนึ่ง ที่นักจิตวิทยาชาวฮังการี มิฮาย ชีคแซ็นต์มิฮายิ (Mihaly Csikszentmihalyi) เรียกว่า "โฟลว์ (flow)". "โฟลว์" คือ พฤติกรรมทางจิตวิทยาเวลาที่คนคนหนึ่งลืมสิ่งรอบตัวภายนอกเวลาทำงาน หรือ ทำกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง มิฮายได้กล่าวว่านวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการต่าง ๆ นั้น มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาทางจิตวิทยาดังกล่าว[30]

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์