พฤติกรรมความเป็นผู้ประกอบการ ของ การเป็นผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการมักถูกมองว่าเป็นนวัตกร (innovator) — ผู้ออกแบบไอเดียใหม่ ๆ และกระบวนการทางธุรกิจใหม่[13] ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จม มักเป็นผู้ความเป็นผู้นำ (leadership) สูง มีทักษะการจัดการและการสร้างทีม[14] นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอเมริกัน โรเบิร์ต ไรช์ (Robert Reich) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะที่จำเป็น 3 อย่างของผู้ประกอบการ ประกอบกอบด้วย ความเป็นผู้นำ (leadership), ความสามารถในการจัดการ (management ability) และ ความสามารถในการสร้างทีม (team-building)[15][16]

มุมมองต่อความไม่แน่นอน และ การรับความเสี่ยง

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีชาวอเมริกัน แฟรงค์ ไนท์ (Frank Knight)[17] และ ปีเตอร์ ดรักเคอร์ (Peter Drucker) ได้ให้นิยามคำว่า "ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)" ว่าเป็นความสามารถในการรับความเสี่ยงสูงได้ (risk-taking) ผู้ประกอบการคือผู้ที่ยอมเอาหน้าที่การงานหรือความปลอดภัยทางการเงินของพวกเขาแขวนไว้บนเส้นได้ และยอมรับความเสี่ยงเพื่อการสร้างธุรกิจจากไอเดีย ใช้ทรัพยากรเงินทุนและทรัพยากรเวลาไปกับการลงทุนที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมักจะไม่เชื่อว่าตัวเองรับความเสียงที่สูง เนื่องจากผู้ประกอบการมักจะมองเห็นความไม่แน่นอนในระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป โดยแฟรงก์ ไนท์ ได้แยกความไม่แน่นอนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:

  • Risk (ความเสี่ยง) คือ ความไม่แน่นอนที่สามารถวัดได้ในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่หยิบจะได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และ สีฟ้า 5 ลูก)
  • Ambiguity (ความคลุมเครือ) คือ ความไม่แน่นอนที่วัดได้ยากในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และบอลสีฟ้าที่ไม่รู้จำนวนลูกที่แน่นอน) ball from a jar containing five red balls but an unknown number of white balls)
  • True uncertainty (ความไม่แน่นอนที่แท้จริง) หรือ ความไม่แน่นอนแบบไนท์ (Knightian uncertainty) คือ ความไม่แน่นอนที่เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดด้วยหลักสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่ไม่รู้จำนวนบอล และไม่รู้สีของบอล)

การเป็นผู้ประกอบการมักเกี่ยวโยงกับความไม่แน่นอนที่แท้จริง โดยเฉพาะเวลาสร้างสินค้าและบริการสำหรับตลาดผู้บริโภคที่ไม่เคยมีมาก่อน (Blur ocean) แทนที่จะลงทุนสร้างสินค้าหรือบริการที่มีมาก่อนแล้ว มีงานวิจัย ปี ค.ศ.2014 ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (ETH Zürich) ได้ทำการเปรียบเทียบผู้จัดการทั่วไปกับผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการจะมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่สูงกว่า และ มีกิจกรรมในสมองส่วน frontopolar cortex (FPC) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกับการสำรวจตัวเลือกต่าง ๆ (explorative choice)[18]

ความสามารถในการรับคำแนะนำ

ความสามารถในการทำงานร่วมและรับคำแนะนำ จากนักลงทุนรายเริ่มแรก (early investors) และหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุนคนอื่น ๆ (ความสามารถในการรับคำแนะนำ) คือปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับความสำเร็จของผู้ประกอบการ[19] ในอีกทางหนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ก็ได้โต้เถียงว่าผู้ประกอบการไม่ควรทำตามึคำแนะนำทุกอย่างที่ได้รับ แม้ว่าคำแนะนำนั้นจะมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก็ตาม เพราะผู้ประกอบการมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในธุรกิจที่ทำ มากกว่าบุคคลภายนอก ความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ (เช่น การวัดอัตราการรอดของกิจการ) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่ใหญ่และประกอบกิจการมายาวนาน (ซึ่งมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง) จะมีความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ที่ต่ำกว่าทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีขนาดเล็กและก่อตั้งมาไม่นาน

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการอาจใช้ มีดังนี้:

  • การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ (สินค้า บริการ หรือ กระบวนการผลิต)[20]
  • การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous process improvement (CPI))[20]
  • การสำรวจโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
  • การใช้เทคโนโลยี[20]
  • การใช้การวิเคราะห์ธุรกิจอัจฉริยะ (business intelligence)
  • การใช้กลยุทธ์ทางเศรษฐศาสตร์
  • การพัฒนาสินค้าและบริการแห่งอนาคต[20]
  • การพัฒนาและบริหารจัดการความสามารถของทีม[20]
  • กลยุทธ์การตลาดสำหรับเครือข่ายเชิงนวัตกรรม[21]

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์