การเมืองใหม่

การเมืองใหม่ เป็นแนวความคิดและเป็นคำนิยามที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งสื่อในเครือผู้จัดการใช้นิยามเปรียบเทียบระหว่างการเมืองไทยในยุคปัจจุบันว่าเป็น การเมืองเก่า เพราะประชาชนไม่มีสิทธิมีเสียงในการตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจรัฐ มีสิทธิก็เพียงแค่ 4 วินาทีตอนเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระบบเลือกตั้งโดยการเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของประชาชนในสภา เป็นเพียงการเมืองผ่านตัวแทน[1]ในช่วงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เรื่องของการเมืองใหม่ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯได้เคยเสนอว่า การเมืองใหม่จะมีสัดส่วนของสมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง 70 % และเลือกตั้ง 30 %[2] ดังต่อไปนี้ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกคัดค้านและวิจารณ์จากสังคมหลายภาคส่วนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[4] โดยนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นเอาไว้ตอนหนึ่งว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งยกระดับมาเป็นการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนความคิดและโครงสร้างอำนาจการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาวมาก จึงควรปรับวิธีการต่อสู้ของตน คือมีทั้งการเคลื่อนไหวทางความคิด สลับกับการเคลื่อนไหวมวลชน ทั้งผ่อนสลับกับรุก และเนื่องจากพันธมิตรเริ่มต้นจากการเรียกร้องลงโทษนักการเมืองโกงกินบ้านเมือง เป็นพลังทางคุณธรรมและพลังต่อต้านการใช้อำนาจบาตรใหญ่ให้สังคม จึงยิ่งต้องจำแนกวิธีการต่อสู้ให้ชัดเจนว่าเป็นแนวสันติวิธี หลีกเลี่ยงการดึงดันที่อาจดูคล้ายแนวอำนาจนิยม ไม่ควรเป็นการรุกไปข้างหน้าตลอด จนดูคล้ายการตะลุมบอนกับฝ่ายโกงกินบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้คนแยกแยะและเลือกฝ่ายสนับสนุนได้ลำบากที่สำคัญในการเสนอความคิดใหม่ทางการเมือง ไม่ควรสวนทางประชาธิปไตย ควรเคารพประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ต่อสู้กันมานาน ควรหาวิธีเปิดกว้างขวางสร้างเวทีความคิดสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งต้องมีเวลา ขั้นตอน จังหวะก้าวที่เหมาะสม— ธีรยุทธ บุญมี[5]ต่อมา ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ได้เปลี่ยนแนวคิดใหม่เป็นสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 100 % [6]ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวถึงแนวคิดเรื่องการเมืองใหม่ ที่ห้องผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล พล.ต.จำลอง ศรีเมืองกล่าวว่า การเลือกตั้งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์จะให้มีการเลือกตั้งได้ 2 ทาง คือ ผู้แทนพื้นที่เขต และผู้สมัครนามกลุ่มอาชีพ หากคนหนึ่งมีหลายอาชีพ จะให้ลงสมัครได้เพียงอาชีพเดียว เรื่องดังกล่าวทำไม่ยาก เมื่อแบ่งคนทั้งประเทศออก 2 กลุ่มดังที่กล่าวไปแล้ว จึงไม่ยากอย่างที่คิดจะทำ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนในทางปฏิบัตินั้นคงเป็นไปได้ยากจริงยอมรับ แต่หากทำเรื่องยากดีกว่าการเมืองเก่าก็ต้องทำ มันเป็นไปได้ แม้อาจจะไม่ได้เลิศเลอทุกอย่างก็ตามส่วนนายสมศักดิ์ โกศัยสุข กล่าวเสริมอีกว่า[7]เพราะทุกคนในประเทศไทยต่างมีอาชีพทั้งนั้น อาจต้องเพิ่มเติมหรือเอาตามนั้น คนที่มีอาชีพอะไรก็ไปลงทะเบียนในอาชีพนั้น แล้วเวลาเลือกก็เลือกคนกลุ่มนั้น จะได้มีผู้แทนที่หลากหลาย ทุกวันนี้ไม่ใช้ผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนกลุ่มทุนรวมตัวเป็นกระจุกๆ จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนกลุ่มนี้จะไปทำงานเพื่อคนทุกกลุ่ม เมื่อพันธมิตรฯ ออกแบบมาเช่นนี้จะมีตัวแทนจากหลายหลาย อาชีพ ทั้งหมอ ทั้งสื่อมวลชน ทำให้เกิดความงดงามในสภาขึ้น— สมศักดิ์ โกศัยสุขอย่างไรก็ดี ต่อมาเมื่อการชุมนุมได้จบลง และทางกลุ่มพันธมิตรฯได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ก็ได้ใช้ชื่อพรรคของกลุ่มตนว่า พรรคการเมืองใหม่

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว