ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนแบบต่างๆ ของ การเลือกตั้งระบบสัดส่วน

ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ

ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการลงคะแนนที่จำนวนที่นั่งในสภาจะได้รับการจัดสรรปันส่วนให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ และจึงค่อยเลือกผู้แทนจากลำดับในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นๆ ระบบนี้ใช้กันในหลายประเทศ รวมถึง ฟินแลนด์ (บัญชีเปิด) ลัตเวีย (บัญชีเปิด) สวีเดน (บัญชีเปิด) อิสราเอล (บัญชีปิด) บราซิล (บัญชีเปิด) เนปาล (บัญชีปิด) เริ่มในปีค.ศ. 2008 เนเธอร์แลนด์ (บัญชีเปิด) รัสเซีย (บัญชีปิด) แอฟริกาใต้ (บัญชีปิด) และยูเครน (บัญชีเปิด) สำหรับการเลือกตั้งสภายุโรป ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ใช้ระบบบัญชีเปิด แต่ประเทศขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรปล้วนใช้ระบบบัญชีปิด เพื่อให้คะแนนเสียงข้างมากในสภานั้นแบ่งตามนั้น[42] ส่วนบัญชีท้องถิ่นนั้นเคยใช้ในการเลือกตั้งวุฒิสภาอิตาลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ประเภทของบัญชีรายชื่อแบ่งได้ดังนี้

  • ระบบบัญชีปิด ซึ่งบัญชีรายชื่อมีรายชื่อผู้สมัครที่เลือกตามขั้นตอนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้กำหนดลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อเองซึ่งหมายถึงความเป็นไปได้มากน้อยที่จะได้รับเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละราย โดยรายชื่ออันดับแรกจะได้ที่นั่งพรรคที่นั่งแรกไป ในการลงคะแนนนั้นผู้ลงคะแนนจะเลือกทั้งบัญชีรายชื่อเลย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเลือกเป็นรายบุคคลตามความชอบส่วนบุคคลได้[43][44] โดยพรรคการเมืองจะได้รับจัดสรรปันส่วนที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ[45]
  • ระบบบัญชีเปิด ซึ่งผู้ลงคะแนนสามารถเลือกลงคะแนนได้ตั้งแต่หนึ่งคน หรือสองคน หรือแม้แต่ลงลำดับความชอบในรายชื่อที่ปรากฏในบัตรลงคะแนนได้ โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายเลือกตั้งในประเทศนั้นๆ ซึ่งการลงคะแนนจะเป็นตัวกำหนดลำดับในบัญชีรายชื่อก่อนหลังโดยเรียงจากคะแนนของผู้สมัครแต่ละรายในบัญชีรายชื่อ
  • ระบบบัญชีท้องถิ่น เป็นระบบที่พรรคการเมืองแบ่งบัญชีรายชื่อแตกต่างกันตามแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยวิธีนี้ผู้ลงคะแนนจะสามารถเลือกตัวผู้แทนที่ชอบได้คล้ายกับในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
  • ระบบบัญชีรายชื่อสองชั้น เช่นในเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ในเดนมาร์กนั้นมีการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด 10 เขต โดยแต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งในสามภูมิภาคเพื่อเลือกผู้แทน 135 คน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนอีก 40 คนมาจากการชดเชยที่นั่ง ผู้ลงคะแนนจะมีเพียงคะแนนเดียวซึ่งจะใช้เลือกตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง หรือใช้เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้น โดยในการนับคะแนนผู้ชนะในเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรที่นั่งจากคะแนนเสียงรวมของพรรครวมกับคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละคน โดยจะมีที่นั่งชดเชยให้ในแต่ละเขตเลือกตั้งเพื่อปรับสัดส่วนให้พอดีระหว่างภูมิภาคกับคะแนนเสียงรวมในระดับประเทศ ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดนมาร์ก ค.ศ. 2007 นั้นขนาดเลือกตั้งซึ่งเมื่อรวมกับที่นั่งชดเชยแล้วมีขนาดระหว่าง 14 ถึง 28 คนต่อเขต โดยพื้นฐานการลงคะแนนของเดนมาร์กไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยเริ่มใช้ในปีค.ศ. 1920[46][47][48]

แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

ระบบลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: single transferable vote, ย่อ STV) หรือเรียกอีกอย่างว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ" (อังกฤษ: ranked-choice voting)[49][50] เป็นระบบการลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกผู้สมัครตามลำดับความชอบ ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมักมีผู้แทนตั้งแต่สามถึงเจ็ดคน โดยการนับคะแนนนั้นเกิดขึ้นเป็นรอบๆ โดยเลือกและกำจัดผู้สมัครแต่ละคนในแต่ละรอบ และโอนคะแนนเสียงไปให้ผู้สมัครคนอื่นตามลำดับจนกว่าจะได้ผู้ชนะครบจำนวนที่นั่งในเขตนั้นๆ ผู้สมัครแต่ละรายในรอบๆ หนึ่งที่ได้รับคะแนนเสียงถึงจำนวนโควตาซึ่งเป็นจำนวนคะแนนขั้นต่ำเพื่อชนะการเลือกตั้ง คะแนนเสียงส่วนที่เกินจากโควตาจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามลำดับที่ผู้ลงคะแนนระบุไว้ หากในรอบถัดไปไม่มีผู้สมัครรายได้รวมคะแนนถึงโควตา ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดจะถูกกำจัด โดยคะแนนทั้งหมดของผู้สมัครรายที่ตกรอบนั้นจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง และเริ่มนับใหม่รอบถัดไป การคำนวนคะแนนสำหรับการถ่ายโอนคะแนนนั้นมีหลายวิธี บางวิธีใช้การคำนวนอย่างง่าย บางวิธีใช้การถ่ายโอนคะแนนส่วนเกิน หรือถ่ายโอนแค่เป็นเศษส่วนหนึ่งของคะแนนเสียง (นำคะแนนส่วนเกินหารด้วยคะแนนรวมของผู้สมัคร) ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยนับคะแนน ในแต่ละวิธีอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันในการนับคะแนนใหม่ในแต่ละรอบ และยังมีวิธีที่แตกต่างกันในการจัดการคะแนนเสียงของผู้สมัครที่ชนะไปแล้วหรือตกรอบไปแล้วซึ่งก็ต้องการคอมพิวเตอร์เช่นกัน[51][52]

วิธีการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงทำให้เกิดผู้ลงคะแนนเป็นกลุ่มๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางการเมืองในเขตตามความหลากหลายของผู้แทน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ของผู้ลงคะแนนได้ผู้แทนที่มาจากตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยผู้ลงคะแนนเสียงแต่ละคนสามารถออกเสียงเลือกได้ตามความชอบของตนและผลลัพธ์ที่ได้ก็มีความเป็นสัดส่วน[23] จึงทำให้ในระบบนี้พรรคการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ในแนวคิดของระบบสัดส่วนอนุมานว่าพรรคการเมืองนั้นย่อมเกิดมาได้จากการความพึงพอใจของผู้ลงคะแนน และจึงเป็นผู้ให้อำนาจแก่พรรคการเมือง[51] ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงเป็นไปตามเกณฑ์ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนในความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง (proportionality for solid coalitions) โดยการมีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งโดยกลุ่มผู้สมัครนั้นหมายถึงกลุ่มของผู้ลงคะแนนที่เป็นผู้จัดลำดับผู้สมัครเหล่านี้เหนือเหตุผลอื่นใด[51] จึงถือเป็นระบบการมีผู้แทนแบบเป็นสัดส่วนอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามขนาดของเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็กได้ถูกวิจารณ์ว่าทำให้ลดความเป็นสัดส่วนลง โดยเฉพาะเมื่อมีพรรคการเมืองจำนวนมากกว่าที่นั่งที่มี[20]:50 จึงทำให้ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้บางครั้งถูกตีตราว่าเป็น "ระบบเสมือนสัดส่วน"[53]:83 โดยคำกล่าวนี้อาจจะเป็นจริงในเขตที่อยู่ห่างไกลแต่ผลลัพธ์โดยรวมจะเป็นสัดส่วน ในไอร์แลนด์ซึ่งมีเขตเลือกตั้งขนาดเล็กจำนวนมากได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนมาก[3]:73[6] ในปีค.ศ. 1997 ค่าเฉลี่ยของขนาดเขตเลือกตั้งอยู่ที่ 4.0 ในขณะที่มีพรรคการเมืองทั้งหมดแปดพรรคที่ได้ที่นั่ง โดยมีสี่พรรคมีผู้ชนะในลำดับแรกได้คะแนนรวมระดับชาติน้อยกว่าร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังพบผู้สมัครอิสระหกคนที่ได้รับเลือกตั้ง[36] ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้ได้รับคำชมว่าเป็นระบบที่เป็นสัดส่วนมากที่สุด[53]:83 และยังช่วยกลั่นกรองผู้สมัครสายสุดโต่งออกไปจากระบบเนื่องจากในการลงคะแนนนั้นผู้สมัครแต่ละรายจะต้องแย่งกันอยู่ในลำดับต้นๆ ตามความชอบของผู้ลงคะแนนโดยจะต้องมีนโยบายที่ผ่อนปรน และนโยบายที่เข้าถึงกลุ่มผู้ลงคะแนนทุกกลุ่มได้โดยง่าย[54][55]

ระบบผสมแบบมีการชดเชย

ระบบการลงคะแนนแบบผสม (อังกฤษ: mixed electoral system) เป็นระบบการลงคะแนนที่รวมเอาวิธีการลงคะแนนแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากกับการคำนวนแบบสัดส่วน[56] และยังใช้ระบบการชดเชยที่นั่งเพื่อปรับให้เป็นสัดส่วนที่สุด อันเป็นผลจากระบบคำแนนนำ/เสียงข้างมาก[57][58]

ระบบการลงคะแนนแบบผสมที่ใช้กันมากที่สุดคือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (อังกฤษ: mixed-member proportional representation; ย่อ: MMP) หรือ "ระบบสัดส่วนผสม" ซึ่งประกอบด้วยการลงคะแนนแบบแบ่งเขตแบบมีผู้แทนเขตละคนโดยผ่านระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) โดยมีระบบการชดเชยที่นั่งจากบัญชีรายชื่อในระดับชาติหรือภูมิภาค ตัวอย่างเช่น สมมติว่าพรรคการเมืองชนะ 10 ที่นั่งจากระบบคะแนนนำ แต่จำเป็นต้องมีทั้งหมดถึง 15 ที่นั่งเพื่อจะให้เท่ากับสัดส่วนคะแนนเสียงรวมในระดับชาติ (ที่นั่งพึงมี) ในกรณีนี้หากใช้ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนผสมที่มีการชดเชยเต็มรูปแบบนั้นจะมีการเพิ่มที่นั่งชดเชยให้แก่พรรคการเมืองจำนวน 5 ที่นั่งเพื่อให้พรรคการเมืองได้ที่นั่งรวมเป็น 15 ที่นั่งตามจำนวนร้อยละของคะแนนเสียงที่ได้รับจริง ในระบบสัดส่วนผสมนั้นสามารถทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนได้ตั้งแต่ปานกลางจนถึงสูงโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกตั้ง อาทิเช่น สัดส่วนของที่นั่งที่มาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดต่อที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อ การใช้ระบบชดเชยที่นั่งเพิ่มผ่านที่นั่งส่วนขยาย และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ[59][60][61] เป็นต้น ระบบการลงคะแนนนี้คิดขึ้นเพื่อใช้กับสภาบุนเดิสทาคของเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาได้รับไปใช้ในอีกหลายประเทศ เช่น เลโซโท โบลิเวีย นิวซีแลนด์ และในประเทศไทย (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) เป็นต้น ในสหราชอาณาจักรมีการใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเวลส์และสกอตแลนด์ โดยเรียกอีกชื่อว่า ระบบสมาชิกเพิ่มเติม (อังกฤษ: additional member system)[4][2]

ในระบบนี้ โดยปกติผู้ลงคะแนนจะมีสองคะแนนเสียง โดยหนึ่งคะแนนสำหรับเลือกผู้แทนแบบแบ่งเขต และอีกหนึ่งสำหรับบัญชีรายชื่อพรรค คะแนนเสียงบัญชีรายชื่อนั้นปกติจะเป็นตัวกำหนดจำนวนที่นั่งในสภา โดยหลังจากที่ได้ตัวผู้ชนะในแบบแบ่งเขตทั้งหมดแล้ว ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกเพื่อเป็นการเติมจำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคเพื่อให้ครบกับจำนวนผู้แทนที่พึงมีจากการคำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดของพรรค ก่อนการจัดสรรปันส่วนที่นั่งในบัญชีรายชื่อนั้น คะแนนทั้งหมดของบัญชีรายชื่อที่ไม่ถึงเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ถูกนำมาคิด หากพรรคการเมืองต่างๆ ที่ถูกกำจัดจากเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ได้ที่นั่งและจึงทำให้จำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองที่ผ่านเกณฑ์ได้ที่นั่งจำนวนมากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ผู้ชนะการเลือกตั้งนามอิสระ (ไม่สังกัดพรรคการเมือง) จะไม่ถูกนำไปคำนวนในการจัดสรรปันส่วนของบัญชีรายชื่อทั้งหมด

ความเป็นสัดส่วนของระบบสัดส่วนผสมอาจมีปัญหาได้หากอัตราส่วนที่นั่งในแบบบัญชีรายชื่อต่อแบบแบ่งเขตนั้นต่ำเกินไป ซึ่งอาจทำให้จำนวนที่นั่งชดเชยไม่พอกับผลการเลือกตั้งจากแบบแบ่งเขตและส่งผลให้ไม่เป็นสัดส่วนขึ้นได้ อีกตัวแปรหนึ่งคือการจัดการเรื่องที่นั่งส่วนขยาย (overhang seats) ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่พรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมากกว่าจำนวนคะแนนเสียงรวมของพรรคในแบบบัญชีรายชื่อ (สูงกว่าจำนวนผู้แทนพึงมี) โดยเพื่อที่จะทำให้เป็นสัดส่วนนั้น พรรคการเมืองอื่นๆ จำเป็นจะต้องได้รับที่นั่งเพิ่ม ซึ่งจะขยายขนาดของสภาเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่นั่งส่วนขยาย แต่ระบบการเพิ่มที่นั่งโดยขยายขนาดสภาเป็นการชั่วคราวนั้นไม่ได้ถูกรับไปใช้ในทุกประเทศ เช่นในประเทศเยอรมนี ที่เพิ่งเริ่มใช้การขยายขนาดสภาโดยชั่วคราวด้วยการเพิ่มจำนวนที่นั่ง[62] ส่วนในเวลส์ สกอตแลนด์ และเลโซโทไม่พบการขยายขนาดของสภาเลย และในค.ศ. 2012 คณะกรรมาธิการรัฐสภาของนิวซีแลนด์ได้เสนอให้มีการยกเลิกการชดเชยที่นั่งส่วนขยาย และดังนั้นจึงปรับขนาดของสภาไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกันก็จะยกเลิกเกณฑ์ขั้นต่ำที่พรรคการเมืองจะต้องชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างน้อยหนึ่งเขตจึงจะได้ที่นั่งในบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะเป็นเหตุหลักที่ทำให้เกิดที่นั่งส่วนขยายและทำให้สภามีขนาดใหญ่ขึ้น และยังเสนอให้มีการปรับลดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 4 ซึ่งจะทำให้ได้สัดส่วนมากขึ้น[3][63]

ระบบการลงคะแนนแบบผสมอีกระบบหนึ่งคือ ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (อังกฤษ: dual-member proportional representation; ย่อ: DMP) ซึ่งเป็นระบบการลงคะแนนแบบเสียงเดียวเลือกผู้แทนพร้อมกันเขตละสองคน โดยที่นั่งแรกของแต่ละเขตจะให้ผู้สมัครรายที่ชนะคะแนนนำ คล้ายกับการลงคะแนนในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด ที่นั่งที่เหลือจะจัดสรรให้โดยการชดเชยเพื่อให้ได้ผลรวมในระดับภูมิภาคมีความเป็นสัดส่วน ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ใช้สูตรคำนวนคล้ายกับระบบสัดส่วนผสมแบบหนึ่งที่ใช้หา "ผู้เกือบชนะที่ดีที่สุด" (best near-winner) ซึ่งใช้ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค[64]ของเยอรมนี โดยมีการชดเชยที่นั่งให้แก่ผู้สมัครที่ได้เสียงสนับสนุนจำนวนมากในระดับเขตโดยเปรียบเทียบกับผู้สมัครรายอื่นจากพรรคการเมืองเดียวกัน ความแตกต่างของระบบสัดส่วนคู่ คือแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีผู้แทนอย่างมากหนึ่งคนได้รับการชดเชยที่นั่ง หากในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายรายแข่งขันกันแย่งที่นั่งชดเชยนี้ ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับเลือกและทำให้รายอื่นตกรอบ ระบบสัดส่วนคู่มีความคล้ายคลึงกับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงตรงที่ผู้แทนทั้งหมดรวมถึงประเภทที่มาจากการชดเชยที่นั่งนั้นจะมาจากแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด ระบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 2013 สำหรับรัฐแอลเบอร์ตาในแคนาดา และยังได้รับความสนใจจากรัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ในการลงประชามติเมื่อปีค.ศ. 2016 เพื่อหาระบบการลงคะแนนมาแทนที่ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด[65] แต่ถูกตีตกไปในรอบที่สาม อีกทั้งระบบนี้ยังเคยอยู่ในระบบสัดส่วนทั้งสามระบบที่ถูกเสนอชื่อในการลงประชามติปีค.ศ. 2018 สำหรับรัฐบริติชโคลัมเบีย[66][67][68]

การแบ่งสรรปันส่วนแบบสัดส่วนคู่

ระบบสัดส่วนอื่นๆ

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งระบบสัดส่วน http://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/pr-... http://www.cbc.ca/news/canada/prince-edward-island... http://publications.gc.ca/collections/Collection/J... http://esm.ubc.ca/CA93/results.html http://www.ekathimerini.com/248820/article/ekathim... http://www.community.netidea.com/ccbc/Gallagher.pd... http://www.wahlrecht.de/ausland/europa.htm http://www.zeit.de/politik/deutschland/2013-02/bun... http://www.thedanishparliament.dk/Publications/The... http://www.hks.harvard.edu/fs/pnorris/Acrobat/Choo...