Allelotropia ของ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ภาพดั้งเดิมที่แสดง "กฏทิศทางการเห็นของเฮอริง" (Hering's law of visual direction) ตาซ้ายมองเห็นต่างจากตาขวาเพราะมีทิศทางการเห็น (visual direction) ที่ต่างกัน แต่ภาพที่เห็นกลับรวมเป็นภาพเดียว และมีทิศทางการเห็นทิศทางเดียว เหมือนกับมีตาไซคลอปส์อยู่ในระหว่างตา

เพราะตาทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันของศีรษะ วัตถุที่มองซึ่งไม่ได้อยู่ที่จุดตรึงตราหรืออยู่บนผิว horopter จะมีทิศทางการเห็น (visual direction) ที่ต่างกันในตาแต่ละข้างแต่เมื่อภาพสองภาพที่มองเห็นด้วยตาเดี่ยว ๆ รวมเข้าด้วยกันเป็นภาพเดียว เป็นภาพที่เรียกว่าภาพไซคลอปส์ (Cyclopean image, ตามยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาเดียว) วัตถุที่ว่าก็จะมีทิศทางการเห็นอันใหม่ โดยทั่วไปจะเป็นค่าเฉลี่ยของทิศทางการเห็นจากแต่ละตาปรากฏการณ์นี้เรียกว่า allelotropia[9]ส่วนจุดเริ่มต้นของทิศทางการเห็นใหม่ (ที่มีจุดปลายที่วัตถุ) จะอยู่ประมาณระหว่างตาทั้งสอง ซึ่งเรียกว่า ตาไซคลอปส์ (cyclopean eye)ตำแหน่งของตาไซคลอปส์ปกติจะไม่ได้อยู่ระหว่างตาทั้งสองพอดี แต่มักจะอยู่ใกล้ตาที่ถนัดมากกว่า

ใกล้เคียง

การเหมารวม การเห็นเป็น 3 มิติ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา การเห็นภาพซ้อน การเห็นด้วยตาเดียว การเห็นแกว่ง การเหน็บแนม การเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็น การเหมือนมีก้อนในลำคอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา http://www.etymonline.com/index.php?term=binocular http://www.merriam-webster.com/dictionary/horopter http://www.VisionSimulations.com/ http://webeye.ophth.uiowa.edu/eyeforum/tutorials/B... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15371590 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18992271 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19152718 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2634283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2857785 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=...