โรค ของ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

เพื่อคงสภาพการเห็นเป็น 3 มิติโดยเป็นภาพเดียว ตาจะต้องเล็งมองได้อย่างถูกต้องกล้ามเนื้อตา 6 มัดเป็นตัวควบคุมตำแหน่งของตาในเบ้าตาความยาวที่ต่างกัน จุดยึดที่ต่างกัน หรือกำลังที่ต่างกันของกล้ามเนื้อมัดเดียวกันในสองตาแม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้ตาข้างหนึ่งมักหมุนไปยังตำแหน่งในเบ้าตาที่ไม่สอดคล้องกับอีกข้างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเหนื่อยซึ่งเรียกว่า ตาเหล่แฝง (phoria)และอาจปรากฏถ้าทดสอบโดยปิดตาข้าหนึ่ง (cover-uncover test)

เมื่อตรวจโดยวิธีนี้ ให้ดูตาทั้งสองของคนที่จะตรวจให้ปิดตาข้างหนึ่งด้วยการ์ดแล้วให้บุคคลนั้นมองปลายนิ้วของคุณโดยให้เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วนี่เพื่อล้มรีเฟล็กซ์ที่ปกติจะปรับตาที่ปิดให้ไปในตำแหน่งที่ถูกต้องเมื่อหยุดขยับมือและนิ้ว ให้เปิดตาของบุคคลนั้นแล้วดูตา

คุณอาจจะเห็นมันเปลี่ยนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจากตาเหล่ออกหรือเข้า ไปสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องถ้าตาที่ปิดขยับเข้าจากการเบนออก บุคคลนี้มี exophoria (ตาเหล่ออกแฝง)ถ้าขยับออกจากการเบนเข้า บุคคลนี้มี esophoria (ตาเหล่เข้าแฝง)ถ้าตาไม่ขยับเลย บุคคลนี้มีตาปกติ (orthophoria)คนโดยมากจะมีตาเหล่แฝงไม่เข้าก็ออกบ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติ

ถ้าเปิดตาแล้วตาขยับลง บุคคลมีตาเหล่ขึ้นแฝง (hyperphoria) ถ้าตาขยับขึ้น บุคคลมีตาเหล่ลงแฝง (hypophoria)ตาเหล่แฝงในแนวตั้งเช่นนี้มีน้อยมากยังเป็นไปได้ด้วยที่ตาที่เปิดจะขยับโดยหมุนในเบ้าตาแต่ตาเหล่หมุนแฝง (cyclophoria) เช่นนี้ปกติจะไม่เห็นด้วยการทดสอบวิธีนี้[ต้องการอ้างอิง]และเป็นอะไรที่เกิดน้อยกว่ายิ่งกว่าตาเหล่ขึ้นลงแฝง

วิธีการทดสอบนี้ยังสามารถใช้ตรวจโรคมองด้วยสองตาที่เป็นปัญหายิ่งขึ้น คือ ตาเหล่แบบชัดแจ้งเบื้องต้น ผู้ตรวจจะดูตาแรกเมื่อปิดตาที่สองถ้าตาขยับจากเบนออกเป็นเบนเข้า บุคคลนั้นมีตาเหล่ออก (exotropia, wall-eyed)ถ้าตาขยับจากเบนเข้าเป็นเบนออก บุคคลนั้นมีตาเหล่เข้า (esotropia, cross-eyed)ทั้งสองเป็นตาเหล่ที่อาจเกิดร่วมกับตามัว

แม้อาการตามัวจะมีนิยามที่ต่าง ๆ กัน[16]แต่นิยามซึ่งสามัญที่สุดก็แสดงว่า ตามัวเป็นอาการของตาข้างเดียวซึ่งมองเห็นแย่กว่า 20/20 โดยไม่ปรากฏเหตุทางโครงสร้างร่างกายหรือโรคและจะเกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้ก่อนถึงอายุ 6 ขวบ คือamblyogenic anisometropia, ตาเหล่เข้าหรือออกข้างเดียวเป็นประจำ (constant unilateral esotropia or exotropia), amblyogenic bilateral isometropia, ตาเอียงสองข้างหรือข้างเดียวเหตุตามัว (amblyogenic unilateral or bilateral astigmatism), image degradation[16]ถ้าตาที่ปิดเป็นตาซึ่งไม่มัว ตาที่มัวก็จะเป็นตาเดียวที่บุคคลนั้นเห็นและอาการตาเหล่จะปรากฏเมื่อคนไข้ขยับตาเพื่อมองนิ้วของผู้ตรวจนอกจากนั้น ยังมีตาเหล่ขึ้น (hypertropia) ตาเหล่ลง (hypotropia) และตาเหล่หมุน (cyclotropia)

ความผิดปกติเนื่องกับการเห็นด้วยสองตารวมทั้ง

  • การเห็นภาพซ้อน (diplopia, double vision)
  • การเห็นสับสน (visual confusion) เป็นการเห็นภาพสองภาพตรงที่เดียวกัน
  • การระงับ (suppression) ที่สมองไม่สนใจลานสายตาทั้งหมดหรือบางส่วนจากตาข้างหนึ่ง
  • horror fusionis เป็นการเลี่ยงการเห็นเป็นภาพเดียวกันของสมองโดยขยับตาให้ไม่ตรง
  • anomalous retinal correspondence (ความไม่สอดคล้องของจอตา) ที่สมองสัมพันธ์ภาพจากรอยบุ๋มจอตาของตาข้างหนึ่ง ว่ามาจากส่วนรอบ ๆ รอยบุ๋มจอตาอีกข้างหนึ่ง

ความผิดปกติเนื่องกับการมองด้วยสองตาเป็นโรคตาที่สามัญที่สุดกลุ่มหนึ่งซึ่งปกติจะสัมพันธ์กับอาการต่าง ๆ เช่นปวดหัว ตาล้า/ตาเพลีย (asthenopia) ปวดตา เห็นไม่ชัด และการเห็นภาพซ้อนเป็นบางครั้งบางคราว[20]

คนไข้ที่มาหาจักษุแพทย์ประมาณ 20% จะมีความผิดปกติเนื่องกับมองด้วยสองตา[20]วิธีวินิจฉัยที่มีประสิทธิผลมากที่สุดก็คือ การตรวจการเบนของตาเมื่อมองใกล้ ๆ (near point of convergence test, NPC)[20]เมื่อตรวจด้วย NPC แพทย์จะขยับวัตถุที่ให้มอง เช่นนิ้ว เข้าไปใกล้ ๆ หน้าของคนไข้จนกระทั่งเห็นว่า ตาได้ได้เบนออกหรือคนไข้เริ่มเห็นภาพซ้อน[20]

จนกระทั่งถึงระดับหนึ่ง ระบบการเห็นจะสามารถชดเชยการเห็นที่ไม่เหมือนกันของตาทั้งสองข้างแต่ถ้าปัญหาการมองด้วยสองตามากเกิน เช่น ระบบต้องปรับตัวให้เข้ากับการเบี่ยงเบนของตาไม่ว่าจะเป็นแบบแนวนอน แนวตั้ง แบบหมุน หรือการเห็นขนาดวัตถุไม่เหมือนกันของตาทั้งสองข้าง (aniseikonic) มากเกินไปก็จะทำให้ไม่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา และโดยที่สุดจึงทำให้ตาเหล่หรือทำอาการตาเหล่ให้แย่ลง

ใกล้เคียง

การเหมารวม การเห็นเป็น 3 มิติ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา การเห็นภาพซ้อน การเห็นด้วยตาเดียว การเห็นแกว่ง การเหน็บแนม การเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็น การเหมือนมีก้อนในลำคอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา http://www.etymonline.com/index.php?term=binocular http://www.merriam-webster.com/dictionary/horopter http://www.VisionSimulations.com/ http://webeye.ophth.uiowa.edu/eyeforum/tutorials/B... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15371590 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18992271 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19152718 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2634283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2857785 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=...