ปฏิสัมพันธ์ของตาทั้งสอง ของ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

นอกจากการวมข้อมูลจากตาทั้งสองแล้ว ตาแต่ละข้างยังอาจมีผลต่อกันและกันด้วยกลไกอย่างน้อยอีก 3 อย่าง

  • ขนาดรูม่านตา - แสงที่เข้าไปยังตาข้างหนึ่งจะมีผลต่อรูม่านตาของตาทั้งสอง ซึ่งสามารถเห็นได้โดยดูตาของเพื่อนเมื่อเขาปิดตาข้างหนึ่ง คือเมื่อตาเปิดทั้งสองข้าง รูม่านตาของตาที่เห็นจะเล็ก แต่เมื่อปิดตาอีกข้างหนึ่ง รูม่านตาของตาที่ดูจะใหญ่
  • การปรับตาดูใกล้ไกลและการเบนตาไปในทิศตรงกันข้าม (vergence) - การปรับตาดูใกล้ไกลเป็นภาวะเกี่ยวกับการโฟกัสเลนส์ตา ถ้าตาข้างหนึ่งเปิดและอีกข้างปิด แล้วโฟกัสที่วัตถุซึ่งอยู่ใกล้ ๆ การปรับเลนส์ตาจะเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากนั้น ตาที่ปิดมักจะเบนไปเล็งที่วัตถุ กระบวนการสองอย่างนี้เชื่อมกันโดยรีเฟล็กซ์ ดังนั้น กระบวนการหนึ่งจะทำให้กระบวนการอีกอย่างหนึ่งเกิด
  • Interocular transfer - การปรับตัวให้เข้ากับแสงของตาข้างหนึ่ง สามารถมีผลเล็กน้อยต่อการปรับตัวต่อแสงของตาอีกข้างหนึ่ง
  • ผลหลังจากเห็นการเคลื่อนไหว (motion aftereffect) ที่เกิดขึ้นที่ตาหนึ่ง ก็จะเกิดขึ้นที่ตาอีกข้างหนึ่งด้วย

ใกล้เคียง

การเหมารวม การเห็นเป็น 3 มิติ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา การเห็นภาพซ้อน การเห็นด้วยตาเดียว การเห็นแกว่ง การเหน็บแนม การเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็น การเหมือนมีก้อนในลำคอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา http://www.etymonline.com/index.php?term=binocular http://www.merriam-webster.com/dictionary/horopter http://www.VisionSimulations.com/ http://webeye.ophth.uiowa.edu/eyeforum/tutorials/B... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15371590 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18992271 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19152718 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2634283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2857785 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=...