ขอบเขตการเห็นและการขยับตา ของ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ขอบเขตการเห็นของนกพิราบ (ซ้าย) เทียบกับของนกเค้า (ขวา)

สัตว์บางชนิด ซึ่งปกติจะเป็นสัตว์ถูกล่าแต่ไม่เสมอไป จะมีตาอยู่ทางข้างทั้งสองของศีรษะเพื่อให้มีขอบเขตการเห็นกว้างที่สุดสัตว์ตัวอย่างรวมทั้งกระต่าย ควาย และแอนทิโลปเป็นต้นในสัตว์เหล่านี้ ตาบ่อยครั้งจะสามารถขยับได้อย่างเป็นอิสระเพื่อเพิ่มขอบเขตการเห็นนกบางชนิดสามารถมองเห็นได้รอบตัวถึง 360 องศาแม้จะไม่ขยับตาเลย

สัตว์บางชนิด ซึ่งปกติจะเป็นสัตว์ล่าเหยื่อแต่ไม่เสมอไป จะมีตาอยู่ด้านหน้าของศีรษะ ทำให้สามารถมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา ซึ่งลดขอบเขตการเห็นโดยแลกกับการเห็นเป็น 3 มิติถึงกระนั้น ตาที่อยู่ด้านหน้าก็เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ได้วิวัฒนาการมาอย่างพิเศษ ดังนั้น จึงมีกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังเพียง 3 กลุ่มที่ยังมีชีวิตอยู่และมีตาที่จัดว่าส่องไปข้างหน้าจริง ๆ รวมทั้งไพรเมต (รวมมนุษย์) สัตว์กินเนื้อ และนกล่าเหยื่อ (รวมทั้งนกอินทรีและเหยี่ยว)

มีสัตว์ล่าเหยื่อบางชนิด โดยเฉพาะที่ตัวใหญ่ เช่นวาฬสเปิร์มและวาฬเพชฌฆาต ซึ่งมีตาอยู่ที่ข้างทั้งสองของศีรษะ แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่า พวกมันก็มีเขตลานสายตาที่เห็นด้วยตาทั้งสองเช่นกัน[15]นอกจากนั้น สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ล่าเหยื่อ รวมทั้งค้างคาวผลไม้และไพรเมตจำนวนหนึ่ง ก็มีตาส่องไปทางด้านหน้าด้วยสัตว์เหล่านี้มักจำเป็นต้องรู้ใกล้ไกลเป็นอย่างดียกตัวอย่างเช่น การมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจะทำให้สามารถจับผลไม้ที่ต้องการ หรือมองหาและจับกิ่งไม้ได้ดีขึ้น

ทิศทางหรือมุมมองของจุด ๆ หนึ่งในปริภูมิเทียบกับแนวมองตรงไปข้างหน้าจากตรงกลางศีรษะ เรียกตามภาษาอังกฤษว่า visual direction หรือ versionส่วนมุมของแนวมองของตาทั้งสองซึ่งบรรจบอยู่ที่จุดตรึงตาข้างหน้าเรียกว่า absolute disparity, binocular parallax, vergence demand หรือแค่ vergenceความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 อย่างคือตำแหน่งของตาทั้งสอง version และ vergence จะกำหนดโดยกฎ Hering's law of visual direction

นกกระเรียนมงกุฎเทาเป็นสัตว์ที่มีตาอยู่ด้านข้างแต่ก็สามารถมองไปทางด้านหน้าได้ด้วย

ในสัตว์ที่มีตามองไปข้างหน้า ตาทั้งสองมักจะขยับคู่กันการขยับตาอาจเป็นทางเดียวกัน (conjunctive) ที่เรียกว่า version eye movement โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ รวมทั้งsaccade, smooth pursuit, nystagmus, และ vestibulo-ocular reflexหรืออาจไปในทางตรงกันข้าม (disjunctive) ที่เรียกว่า vergence eye movementความสัมพันธ์ระหว่างการขยับตาไปในทางเดียวกันหรือทางตรงกันข้ามกันในมนุษย์ (และในสัตว์ส่วนมาก) อธิบายได้โดยกฎ Hering's law of equal innervation

สัตว์บางชนิดสามารถใช้ตาได้ทั้งสองแบบยกตัวอย่างเช่น นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงมีตาทางด้านข้างซึ่งทำให้มีขอบเขตการเห็นกว้าง แต่ก็สามารถขยับตาทั้งสองด้วยกันไปทางด้านหน้าเพื่อมีส่วนที่เห็นร่วมกัน และทำให้เห็นภาพ 3 มิติอีกตัวอย่างที่หน้าทึ่งก็คือกิ่งก่าคาเมเลียนที่มีตาบนแป้นหมุน โดยแต่ละตาจะขยับขึ้นหรือลง ซ้ายหรือขวาได้อย่างเป็นอิสระ แต่ก็ยังเล็งตาไปทางวัตถุเดียวกันเมื่อกำลังล่าเหยื่อได้ด้วย

ใกล้เคียง

การเหมารวม การเห็นเป็น 3 มิติ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา การเห็นภาพซ้อน การเห็นด้วยตาเดียว การเห็นแกว่ง การเหน็บแนม การเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็น การเหมือนมีก้อนในลำคอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา http://www.etymonline.com/index.php?term=binocular http://www.merriam-webster.com/dictionary/horopter http://www.VisionSimulations.com/ http://webeye.ophth.uiowa.edu/eyeforum/tutorials/B... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15371590 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18992271 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19152718 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2634283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2857785 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=...