ทั่วโลก ของ การแสดงความรักในที่สาธารณะ

ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนา

ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติกในแต่ละประเทศ[19] รายงานจากผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าระดับความเลื่อมใสที่มากขึ้นไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจำนวนคู่ครอง อย่างไรก็ตามผู้ตอบที่มีความเลื่อมใสในศาสนารายงานความใกล้ชิดต่อคู่ครองในระดับต่ำกว่า เห็นได้ว่าความเลื่อมใสในศาสนามีผลต่อการแสดงความรักโดยทั่วไป นอกจากนี้ศาสนายังเชื่อมโยงกับค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยมที่อาจมีผลต่อการแสดงความรักในที่สาธารณะของผู้เยาว์

ความเลื่อมใสอาจส่งผลในสองทาง ชุมชนที่มีความเลื่อมใสในศาสนามักแบ่งแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ ทั่วโลก และคนที่มีความเชื่ออันแรงกล้าในศาสนามักไม่ร่วมเพศหรือดูใจกับคนอื่นเพราะศีลธรรมทางศาสนา ในหลายศาสนาทั่วโลก ศาสนาเป็นตัวนำมุมมองทางวัฒนธรรมของการแสดงความรักในที่สาธารณะ และอาจทำให้เกิดการประณามบนฐานของกฎหมายศาสนา เช่น กฎชะรีอะฮ์ ชุดความคิดอิสลามแบบอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะที่อยู่บนฐานของ Salafism ห้ามไม่ให้แสดงความรักในที่สาธารณะ[20]

ยุโรปและอเมริกาเหนือ

ในโลกตะวันตกส่วนใหญ่ เช่น ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นปกติที่จะเห็นผู้คนจับมือ กอด และบางครั้งจูบกันในที่สาธารณะ ทว่ามักไม่เป็นที่ยอมรับในการแสดงที่มากเกินไป เช่น การร่วมเพศ การจูบพบมักพบได้ทั่วไปในสถานที่เที่ยวกลางคืนของผู้ใหญ่ เช่น ไนท์คลับ[21]

จีน

ในขนบธรรมเนียมแบบจีน ย่าหรือยาย แม่ และพี่สาวอมอวัยวะเพศเพื่อทำให้ทารกชายสงบลง[22][23] นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าแม่ชาวจีนสมัยใหม่อมอวัยวะเพศของลูกชายที่กำลังใกล้ตายเพื่อเป็นการแสดงความรักและเป็นการพยายามช่วยชีวิต เพราะพวกเขาเชื่อว่าคนเหล่านั้นจะตายเมื่อองคชาตแตะกับลำตัว[24][25][26]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มารดาจากชนเผ่าชาวแมนจูเหนือแถบแม่น้ำอามูร์เคยแสดงความรักต่อลูกชายด้วยการอมอวัยวะเพศของทารกชาย ขณะคิดว่าการจูบกันในที่สาธารณะเป็นสิ่งน่าขยะแขยง[27]

อินเดีย

การแสดงความรักในที่สาธารณะไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศอินเดีย การจูบและการกอดเป็นสิ่งต้องห้าม อย่างไรก็ตามการสัมผัสทางกายโดยเพศเดียวกันนั้นไม่เป็นไร ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาอินเดียหมวดที่ 294 (section 294 of the Indian Penal Code) การทำให้ผู้อื่นรำคาญโดย "การกระทำอนาจาร" นับเป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน เสียค่าปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ[28] ด้วยความที่กฎข้อนี้ไม่ได้ให้ความหมายของ "การกระทำอนาจาร" อย่างละเอียด ทำให้ตำรวจและศาลขั้นต้นมักใช้เพื่อคุกคามคู่รัก เช่น ใน พ.ศ. 2550 เมื่อนักแสดง ริชาร์ด เกียร์ จูบ ศิลปา เศฏฏี ในกิจกรรมเพิ่มความตระหนักโรคเอดส์ที่เมืองนิวเดลี เขาได้โดนแจ้งจับโดยศาลอินเดีย ผู้คนเผาหุ่นจำลองของเกียร์และเศฏฏีเพราะพวกเขาโอบกอดกันในลักษณะ "ยั่วยุทางเพศ" ในที่สาธารณะ[29] กรณีการคุกคามคู่รักเหล่านี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักโดยวัยรุ่นอินเดียที่รู้สึกว่าควรเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการคบหาและแสดงความรักในที่สาธารณะ ในอดีตกลุ่มที่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยอาจเป็นอันตรายต่อคู่รักที่ฉลองวันวาเลนไทน์ อย่างไรก็ตาม จำนวนคู่รักที่ฉลองวันวาเลนไทน์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้การโจมตีเหล่านี้ไม่ได้ผลในการกีดกันคู่รักอีกต่อไป[30] ความผ่อนผันในบรรทัดฐานทางสังคมของคนยุคก่อนทำให้การแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ในรัฐเกรละมีการรณรงค์การกอดและจูบในที่สาธารณะ (ภายใต้ชื่อ Kiss Of Love) เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เพื่อประท้วงต่อต้านตำรวจทางศีลธรรม (moral police)[31]

อินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศซึ่งมีพลเมืองมุสลิมหนาแน่นที่สุดในโลก ข้อปฏิบัติของมุสลิมและประเพณีอิสลามขยายตัวขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้การแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นดั่งข้อห้าม การจูบอย่างลึกซึ้งหรือรุนแรงอาจเป็นผลให้จำคุกถึงห้าปีหรือปรับสูงสุด 250 ล้านรูเปีย (29,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[32]

ญี่ปุ่น

โดยทั่วไป การแสดงความรักในที่สาธารณะพบได้ไม่บ่อยนักในประเทศญี่ปุ่น นับเป็นปกติสำหรับครอบครัวญี่ปุ่นที่จะก้มหัวให้กันและกันเป็นการทักทายหรือบอกลา วัฒนธรรมญี่ปุ่นมักมีความอับอายเป็นส่วนประกอบหลักที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และคนมักพยายามไม่ให้เสียหน้า ด้วยเหตุนี้ทำให้คนญี่ปุ่นสนใจอย่างลึกซึ้งว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับตน รวมถึงเพื่อน เพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว หรือแม้กระทั้งคนแปลกหน้า วัฒนธรรมมีผลกระทบโดยตรงต่อการแสดงความรักในที่สาธารณะ ทำให้ไม่บ่อยนักที่จะมีการแสดงความรักมากกว่าการจับมือในที่สาธารณะ[ต้องการอ้างอิง]

ตะวันออกกลาง

ประเทศตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน อิรัก ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน จอร์แดน และอียิปต์ มีวัฒนธรรมมุสลิมเป็นหลัก แม้การแสดงความรักในที่สาธารณะจะถือว่าไม่เหมาะสมในวัฒนธรรมและประเพณีพื้นเมือง แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ กฏความเหมาะสมไม่ยอมรับการแสดงความรักในที่สาธารณะ บทลงโทษอาจสาหัสขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ นักท่องเที่ยวไปยังดูไบเคยถูกจำคุกเป็นเวลานานจากการจูบในที่สาธารณะ ใน พ.ศ. 2552 คู่รักชาวอังกฤษถูกจำคุกเป็นเวลาสามเดือนและส่งกลับประเทศหลังจูบในที่สาธารณะ คู่รักที่ยังไม่แต่งงานชาวอินเดียถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปีหลังกอดและจูบในรถแท็กซี่[33] คนขับรถแท็กซี่ขับพาคู่รักตรงไปยังสถานีตำรวจ การจูบถือเป็น "การกระทำผิดต่อความหมาะสมในที่สาธารณะ"

ในประเทศอิหร่าน การจับมือพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และในหมู่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่[34]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแสดงความรักในที่สาธารณะ http://www.expatguideasia.com/public-displays-affe... http://www.indianlawcases.com/Act-Indian.Penal.Cod... http://timesofindia.indiatimes.com/india/Kiss-of-l... http://www.letsgoiran.com/iran-safety-for-tourists http://www.statisticbrain.com/twitter-statistics/ http://thriftytraveling.com/going-to-dubai-better-... //doi.org/10.1016%2Fj.chb.2014.02.044 //doi.org/10.1023%2FA:1007028930658 //doi.org/10.1080%2F00224498809551426 //doi.org/10.1080%2F00918369.2013.819221