หลักฐานสำคัญ ของ การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ

นักจิตวิทยาและผู้รักษาพยาบาลเร็ว ๆ นี้ได้เริ่มให้เวลาและความสนใจต่อการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือ และผลที่มีต่อคนไข้ในวรรณกรรมในเรื่องดนตรีและความเครียด หลักฐานเชิงประสบการณ์ที่พบมักจัดกลุ่มเข้าด้วยกันตามวิธีที่ได้ข้อมูลซึ่งมีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆคือ ได้ข้อมูลจากคำตอบของคนไข้ หรือว่าได้โดยวิธีวัดทางสรีรภาพแม้ว่าจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน งานศึกษาโดยมากแสดงว่า ดนตรีแบบต่าง ๆ สัมพันธ์กับผลต่าง ๆ ต่ออารมณ์ของคนที่ซึมเศร้าหรือเครียด

หลักฐานจากคำตอบคนไข้

วิธีการเก็บข้อมูลที่นิยมอย่างหนึ่งก็คือเก็บคำตอบจากคนไข้ ซึ่งไม่ต้องใช้ข้อมูลทางกายภาพที่อาจไม่สะดวกเก็บในบางกรณีซึ่งเป็นข้อมูลทางใจที่เป็นอัตวิสัย เพราะว่าไม่ต้องวัดอะไรที่ร่างกายแต่เป็นการถามคำถามประเภทว่า "คุณรู้สึกอย่างไร" เพื่อได้คำตอบ[7]หลังจากได้ข้อมูล ก็จะมีการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกลไกการรับมือและผลของมันต่อการตอบสนองต่อความเครียดเป็นวิธีที่นิยมสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ผลเปลี่ยนเพราะเหตุความตื่นกลัวของคนไข้ผู้สนับสนุนวิธีนี้อ้างว่า ถ้าถามเด็กด้วยคำถามทั่วไปที่ไม่น่ากลัว เด็กจะรู้สึกสบายใจบอกระดับความเครียดของตนเองตามที่รู้สึกงานศึกษาด้วยวิธีเช่นนี้แสดงหลักฐานว่า ดนตรีมีประสิทธิผลลดระดับความเครียดที่คนไข้รู้สึก

ผลต่อความบาดเจ็บทางใจ

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) เป็นความผิดปกติทางความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงเนื่องจากเหตุการณ์เครียดสะเทือนใจในอดีตPTSD เกือบทั้งหมดเกิดจากประสบการณ์สะเทือนใจในอดีตอาจจะมีตัวจุดชนวนเช่น ภาพ เสียง หรือรายละเอียดทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ ซึ่งอาจสร้างความเครียด ความตื่นตระหนก หรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรงPTSD เป็นเรื่องสามัญในกลุ่มทหารผ่านศึก และสามารถวินิจฉัยบ่อยครั้งได้ในผู้ที่ถูกข่มขืนหรือถูกทำร้ายอย่างทารุณอย่างอื่น ๆ[8]

ถ้าคนไข้ PTSD สัมพันธ์เพลง ๆ หนึ่งกับความจำสะเทือนใจ เพลงจะจุดชนวนการตอบสนองเป็นความเครียด/ความวิตกกังวลมากกว่าปกติ[9]แม้ว่าจะฟันธงไม่ได้ว่าเพลงเป็นปัจจัยเดียวที่จุดชนวนความเครียดและความตื่นตระหนก แต่ว่าเพลงเป็นสิ่งที่จำได้ง่ายเพราะมีจังหวะ มีเสียงทำนอง หรือเนื้อเพลงที่จำได้ง่ายแต่ว่า การสัมพันธ์เพลงกับการตอบสนองทางใจไม่ใช่เป็นเรื่องแน่นอนว่าจะทำให้คิดถึงความจำที่ไม่ดี เพราะว่า เพลงบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความจำที่สุขใจยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานที่แสดงว่าการให้ไอพอดที่มีเพลงเก่า ๆ ต่อคนที่อยู่ในสถานพยาบาล เป็นวิธีการลดความเครียดสำหรับผู้สูงวัยได้อย่างหนึ่ง[10]

มีการใช้ดนตรีบำบัดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้วิธีคล้ายกับการบริหาร PTSDแต่ว่า จะเน้นการหาดนตรีที่จุดชนวนความจำหรือความรู้สึกที่ดี ๆ แทนที่จะจุดชนวนอารมณ์เชิงลบ[9]หลังจากที่คนไข้ฟังดนตรี จะเห็นอารมณ์และลักษณะที่ปิดใจและเหินห่าง เปลี่ยนเป็นดีใจ เปิดใจ และมีความสุขมีหลักฐานแบบบอกเล่า (anecdotal) มากมายที่แสดงประสิทธิผลของดนตรีในเรื่องนี้

ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็น PTSD หรือภาวะสมองเสื่อม ถ้าคนไข้มีคนรักที่เสียชีวิตไป เขาก็อาจจะสัมพันธ์เพลงบางเพลงกับคน ๆ นั้น และการได้ยินเสียงเพลงก็อาจทำให้ระลึกถึงความสุขหรือความเศร้าที่ลึกซึ้งนอกจากนั้นแล้ว ถ้ามีความสัมพันธ์บางอย่าง เช่นกับคู่สมรส เมื่อเปิดเพลงที่ใช้ในงานสมรส ก็อาจให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงซึ่งสามารถจุดชนวนความทรงจำและความเครียดที่ทำให้ทุกข์แต่เพลงใดเพลงหนึ่งจากความทรงจำนั้นอาจจะจุดชนวนอะไรก็ได้

ผลของดนตรีต่อคนไข้สมองเสื่อมพบว่าช่วยให้คนไข้ออกจากลักษณะเหมือนสงวนท่าที และทำให้ร้องเพลงและเกิดความสุข เทียบกับบุคลิกที่ปิดใจและเหินห่างโดยทั่วไป[11]คนไข้อาจจะถึงกับตะโกนเพราะความสุขที่ได้ในการฟังเพลงที่เคยได้ยินในวัยเด็กในงานทดลอง หลังจากที่คนไข้ฟังเพลงที่ตนชอบ ก็จะมีการสัมภาษณ์ซึ่งคนไข้จะแสดงความกระตือรือร้น เพราะว่ามีความสุขที่ได้ฟังเพลงและก็จะพูดว่าตนชอบเพลงนี้แค่ไหนและพูดถึงความทรงจำที่เพลงทำให้นึกถึง[9]

ความเครียดและดนตรีในวงการแพทย์

การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือสามารถประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ได้อีกด้วยยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ฟังเพลงในช่วงการผ่าตัดหรือในช่วงฟื้นตัวพบว่าระดับความดันกลับไปสู่ปกติได้เร็วกว่าคนไข้ที่ไม่ฟัง นอกเหนือไปจากการรู้สึกว่าสถานการณ์ควบคุมได้และความเป็นอยู่ที่ดี[12]งานศึกษายังแสดงอีกด้วยว่า สมาชิกครอบครัวหรือพ่อแม่ของคนไข้จะเครียดน้อยลงเมื่อฟังเพลงขณะที่รอ และวิตกกังวลน้อยลงเรื่องผลการผ่าตัด[13]

การฟังเพลงก็มีประโยชน์ด้วยในการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก[14]คือ โดยใช้ในเค้สเหล่านี้โดยเป็นเทคนิคล่อความสนใจเช่นที่ทำในการบำบัดโดยเล่น (play therapy) ซึ่งมุ่งล่อคนไข้ให้สนใจเรื่องอื่นนอกจากความรู้สึกเจ็บหรือเครียดเมื่อกำลังรักษาให้ไปในกิจกรรมที่เพลิดเพลิน โดยเปลี่ยนความสนใจทำให้เจ็บน้อยลงซึ่งสามารถใช้ได้ด้วยกับผู้สูงอายุในสถานรักษาพยาบาลหรือสถานที่ดูแลคือ การบำบัดด้วยดนตรีในสถานที่เหล่านี้ลดความก้าวร้าวและความกระวนกระวายของผู้สูงอายุ[13]แต่เพราะว่า ผลการศึกษาเหล่านี้หลายงานอาศัยคำตอบจากคนไข้โดยมาก จึงมีปัญหาว่า ดนตรีมีผลลดระดับความเครียดจริง ๆ เท่าไร[15]

การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือได้ลองใช้กับคนไข้มะเร็งหลายครั้ง และดูมีอนาคตที่ดีเช่น งานศึกษาหนึ่งทดลองกับคนไข้ 113 คนที่กำลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant) โดยแยกคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มหนึ่งประพันธ์เนื้อเพลงเกี่ยวกับชีวิตขของตนแล้วสร้างมิวสิกวิดีโอของตัวเอง และให้กลุ่มอื่นฟังการอ่านหนังสือผลแสดงว่า กลุ่มมิวสิกวิดีโอมีทักษะการรับมือและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ โดยเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บและความเครียดที่มากับการรักษา และให้โอกาสแสดงความรู้สึกของตน[16]

งานวิจัยอีกงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาแสดงการปรับปรุงอย่างน่าแปลกใจในการรักษาเด็กหญิงคนหนึ่งที่เกิดมาพูดไม่ได้นักบำบัดจะมาหาเธอเพื่อร้องเพลงกับเธอ เพราะว่านั่นเป็นสิ่งเดียวที่เธอทำได้และการร้องเพลงทำให้เธอพูดได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะการร้องเพลงและการพูดคล้ายกันโดยธรรมชาติ และช่วยสร้างการเชื่อมต่อทางวงจรประสาทในสมอง[17]ในโรงพยาบาลเดียวกัน นักบำบัดจะไปเยี่ยมเด็ก ๆ ทุกวันและเล่นดนตรีกับเด็ก โดยทั้งร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีดนตรีทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเครียดที่มากับการรักษา และให้เด็กสนใจสิ่งอื่นนอกจากสภาพแวดล้อมของเขา

นอกจากนั้นแล้ว กลยุทธ์การรับมือของครอบครัวและผู้ดูแลก็สำคัญมากสำหรับผู้ที่มีโรคหนักหรือร้ายแรงเพราะว่า บุคคลเหล่านี้ต้องดูแลคนที่ตนรักโดยหลัก นอกจากจะเครียดเพราะเห็นคนที่รักเป็นทุกข์แล้วนักบำบัดได้ช่วยสมาชิกครอบครัวเหล่านี้ โดยร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรี เพื่อให้สนใจสิ่งอื่นนอกจากเรื่องเครียดเมื่อช่วยคนที่รักในการบำบัดรักษาและเหมือนกับที่ปรากฏในคนไข้เอง การบำบัดด้วยดนตรีช่วยให้คนดูแลสามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการณ์เครียดในชีวิตประจำวันได้[18]

หลักฐานทางสรีรภาพ

งานศึกษาอื่น ซึ่งตรวจสอบการตอบสนองของบุคคลต่อความเครียดในรูปแบบที่เข้มข้นกว่า แสดงว่า การใช้ดนตรีสามารถบรรเทาผลทางสรีรภาพที่บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความเครียด เช่น ลดความดันโลหิตหรืออัตราหัวใจ[12][1]วรรณกรรมโดยมากตรวจสอบการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือโดยใช้เครื่องมือวัดเช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือเครื่องวัดหัวใจ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับผลทางสรีรภาพที่ชัดเจนกว่า[12]ในงานศึกษาเหล่านี้ ผู้ร่วมการทดลองมักจะประสบกับตัวก่อความเครียดแล้วให้ฟังดนตรี ในขณะที่นักวิจัยวัดความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและบางงานแสดงว่า การใช้ดนตรีที่เย็น ๆ หรือที่ชอบ สามารถลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลในผู้ใหญ่[19]ซึ่งเกิดบ่อยกว่าและเห็นชัดกว่าในช่วงกลับคืนสู่ภาวะธำรงดุล แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่าเมื่อกำลังเผชิญกับความเครียด[12]

ส่วนงานศึกษาอื่นก่อให้เกิดสถานการณ์เครียด เช่นให้วิ่งบนสายพาน ในขณะที่ให้ฟังดนตรีประเภทต่าง ๆงานศึกษาเช่นนี้แสดงว่า อัตราการหายใจของผู้ร่วมการทดลองสูงกว่าเมื่อฟังเพลงที่เร็วกว่า ถ้าเทียบกับไม่ฟังหรือฟังเพลงกล่อมประสาท[20]นอกจากจะเพิ่มอัตราการหายใจแล้ว การฟังเพลงยังมีผลทางสรีรภาพอื่น ๆ อีกด้วยโดยรวม ๆ แล้ว งานศึกษาแสดงว่า ดนตรีมีประสิทธิผลในการลดผลของความเครียดต่อร่างกายมนุษย์ซึ่งอาจเปลี่ยนอัตราหัวใจเต้น อัตราการหายใจ หรือแม้แต่ลดความรู้สึกอ่อนเปลี้ยนี่อาจจะเห็นในเพลงที่มีจังหวะและเสียงสูงต่ำที่ไม่เท่ากัน เช่น เสียงต่ำมีผลสงบระงับต่อร่างกาย ในขณะที่เสียงสูงมักจะเป็นตัวก่อความเครียดต่อร่างกาย[13]นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเสนอด้วยว่า ถ้าคนไข้สามารถเลือกเพลงฟังในช่วงฟื้นสภาพ การกลับเป็นปกติจะเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพดีกว่า เทียบกับถ้ามีการกำหนดประเภทดนตรีที่ตนไม่ชอบ[1]

ดังนั้น ถ้าใช้วิธีการเก็บหลักฐานแบบปรวิสัย เช่น EKG นักวิจัยก็จะสามารถกำจัดค่าบิดเบือนบางอย่างที่สัมพันธ์กับวิธีการตรวจสอบที่ถามคนไข้ และให้ค่าสหสัมพันธ์ที่ชัดเจนกว่าระหว่างการใช้ดนตรีกับผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด[12]

ใกล้เคียง

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ การใช้เวทมนตร์คาถาในยุโรป การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายของตัวเอง การใช้ความรุนแรงกับแฟน การให้วัคซีน การใช้ยาเกินขนาด การใช้ความเย็นกระตุ้นให้ออกดอก การใช้เหตุผลโดยเข้าข้าง การใช้และการตั้งราคาแก๊สโซลีนและน้ำมันดีเซล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ http://trauma.blog.yorku.ca/2011/12/families-copin... http://www.cancercenter.com/discussions/blog/music... http://jpo.sagepub.com/content/12/1/3.full.pdf+htm... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://digitalcommons.liberty.edu/cgi/viewcontent.... http://www.med.unc.edu/www/newsarchive/2011/june/m... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11382277 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19572784 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7963281