ความสมเหตุสมผลและความน่าเชื่อถือ ของ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

ศัพทวิทยาของการอ้างเหตุผล

การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยวัดได้โดย ความสมเหตุสมผล และ ความน่าเชื่อถือ.

การอ้างเหตุผลจะ “สมเหตุสมผล” (อังกฤษ: validity) ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่ข้อตั้งจะเป็นจริงแต่ข้อสรุปเป็นเท็จ หรือพูดอีกแบบคือ ข้อสรุปต้องเป็นจริงถ้าข้อตั้งเป็นจริง การอ้างเหตุผลก็สามารถ "สมเหตุสมผล" ได้แม้ข้อตั้งบางข้อจะเป็นเท็จก็ตาม

การอ้างเหตุผลจะ “น่าเชื่อถือ” (อังกฤษ: soundness) หรือสมบูรณ์ถ้ามัน สมเหตุสมผล และข้อตั้งทั้งหมดเป็นจริง

การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยที่ สมเหตุสมผล แต่ไม่ น่าเชื่อถือ เป็นไปได้ การอ้างเหตุผลวิบัติมักจะอยู่ในรูปแบบนั้น

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการอ้างเหตุผลที่ สมเหตุสมผล แต่ไม่ น่าเชื่อถือ:

  1. ทุกคนที่กินแคร์รอตเป็นกองหลัง
  2. จอห์นกินแคร์รอต
  3. เพราะฉะนั้น จอห์นเป็นกองหลัง

ข้อตั้งแรกของตัวอย่างเป็นเท็จ อาจจะมีคนที่กินแคร์รอตที่ไม่ได้เป็นกองหลัง แต่ข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงเมื่อข้อตั้งเป็นจริงและข้อสรุปไม่มีวันเป็นเท็จเมื่อข้อตั้งเป็นจริง ก็คือการอ้างเหตุผลนี้ "สมเหตุสมผล" แต่ไม่ "น่าเชื่อถือ" การวางนัยทั่วไปเท็จ เช่น "ทุกคนที่กินแคร์รอตเป็นกองหลัง" มักจะถูกใช้ในการอ้างเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่สมบูรณ์ ความจริงที่ว่าคนบางคนกินแคร์รอตแต่ไม่ได้เป็นกองหลังพิสูจน์ข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผลนี้

การให้เหตุผลแบบนิรนัยสามารถเปรียบต่างกับการให้เหตุผลแบบอุปนัยในเรื่องของความสมเหตุสมผลและความน่าเชื่อถือ ในกรณีของการให้เหตุผลแบบอุปนัยถึงแม้ข้อตั้งจะเป็นจริงและการอ้างเหตุผล "สมเหตุสมผล" ข้อสรุปก็ยังเป็นไปได้ที่จะเป็นเท็จ (ตัดสินว่าเป็นเท็จได้ด้วยตัวอย่างค้านหรือวิธีอื่น)

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบนิรนัย http://www.iep.utm.edu/ded-ind http://www.aub.edu.lb/fas/cvsp/Documents/Descartes... http://philpapers.org/browse/deductive-reasoning https://www.amazon.com/dp/B081PT2CPR https://books.google.com/books?id=iFMhZ4dl1KcC https://www.academia.edu/4154895/Some_Remarks_on_t... https://inpho.cogs.indiana.edu/idea/636 https://archive.org/details/cognitivepsychol00ster... https://archive.org/details/cognitivepsychol00ster... https://www.scimath.org/article-mathematics/item/4...