การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ

การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ[1] (อังกฤษ: argument from analogy, false analogy)เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัยอย่างหนึ่งที่ลักษณะอะไรที่คล้ายๆ กันจะใช้เป็นเหตุในการอนุมานหรือเป็นแนวเทียบว่า มีอะไรอย่างอื่นอีกที่คล้ายๆ กันแต่ยังไม่เห็น การหาเหตุผลโดยแนวเทียบเป็นวิธีการที่สามัญที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ใช้เพื่อให้เข้าใจโลกและเพื่อตัดสินใจ[2]เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง แล้วตัดสินใจว่าจะไม่ซื้ออะไรจากผู้ผลิตนั้นอีก นี่มักจะเป็นเพราะเหตุผลโดยแนวเทียบ คือเพราะผลิตภัณฑ์ทั้งสองเทียบกันได้ว่ามีผู้ผลิตเดียวกัน ดังนั้น จึงมองว่าแย่นี่ยังเป็นหลักอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์อีกด้วย เช่น การทดลองโดยใช้หนูทดลองอาศัยเหตุผลว่า ลักษณะทางสรีรวิทยาที่คล้ายๆ กันระหว่างหนูกับมนุษย์ แสดงนัยว่ายังมีอะไรที่คล้ายกันอย่างอื่นอีก เช่น จะมีปฏิกิริยาต่อยาที่คล้ายกัน[3]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา