แนวเทียบเท็จ ของ การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ

ข้อมูลเพิ่มเติม: ความสมมูลเท็จ

แนวเทียบเท็จ (false analogy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) หรือเป็นแนวเทียบที่ผิดๆ การใช้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบจะอ่อนกำลังลงถ้าปัจจัยต่างๆ ที่ระบุไว้ไม่ดีพอ คำว่า "false analogy" มาจากนักปรัชญาชาวอังกฤษจอห์น สจวรต์ มิลล์ ผู้น่าจะเป็นคนแรกๆ ที่ตรวจสอบการให้เหตุผลโดยแนวเทียบอย่างละเอียด[3]

ตัวอย่าง

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ

นี่เป็นแนวเทียบเท็จเพราะไม่ได้ใส่ใจความแตกต่างที่สำคัญระหว่างระบบสุริยะจักรวาลกับอะตอม ความต่างก็คือ

  1. อิเล็กตรอนมีระดับพลังงานที่แน่นอน แต่ดาวเคราะห์ไม่มี
  2. อิเล็กตรอนสามารถได้พลังงานเพิ่ม แต่ดาวเคราะห์ไม่สามารถ
  3. อิเล็กตรอนมีแรงดึงดูดกับนิวเคลียสของอะตอมเป็นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ดาวเคราะห์มีแรงดึงดูดกับดาวฤกษ์เป็นแรงโน้มถ่วง
  4. อิเล็กตรอนจะหมุนเป็นเกลียวเข้าไปยังนิวเคลียสเมื่อเร่งความเร็วหรือเปลี่ยนเส้นทาง แต่ดาวเคราะห์ไม่เป็นเช่นนั้น
  5. โมเดลการโคจรของอิเล็กตรอนดั้งเดิมที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ได้เลิกใช้ไปแล้วเพราะไม่ตรงกับความจริง โดยปัจจุบันใช้เป็นเพียงโมเดลของอะตอมแบบให้อธิบายได้ง่ายๆ

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา