การวิเคราะห์การให้เหตุผลโดยแนวเทียบ ของ การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ

กำลังของแนวเทียบ

ปัจจัยหลายอย่างมีผลเพิ่มหรือลดกำลังของการให้เหตุผลโดยแนวเทียบ

  • ความสัมพันธ์กันหรือความเข้าประเด็นกัน (ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ) ระหว่างความคล้ายกันที่ปรากฏ กับความคล้ายกันที่ข้อสรุปได้อนุมาน[3][4]
  • ระดับความคล้ายคลึงกัน (หรือความต่าง) ที่สำคัญระหว่างสิ่งทั้งสอง[3]
  • จำนวนและความหลากหลายของตัวอย่างต่างๆ ที่เป็นรากฐานของแนวเทียบ[3]

เหตุผลต่อต้าน

เหตุผลโดยแนวเทียบสามารถค้านเพราะเทียบกันไม่ได้ (disanalogy) เพราะมีแนวเทียบตอบโต้ (counteranalogy) และเพราะมีผลที่ไม่ได้ตั้งใจของแนวเทียบ[2]เพื่อให้เข้าใจว่าจะวิเคราะห์เหตุผลโดยแนวเทียบได้อย่างไร ให้พิจารณาแนวเทียบเรื่องช่างทำนาฬิกาซึ่งใช้ให้เหตุผลว่าพระเป็นเจ้ามีจริง โดยอาศัยข้อวิจารณ์ของนักปรัชญาชาวสกอตแลนด์ เดวิด ฮูม

เหตุผลโดยแนวเทียบเรื่องช่างทำนาฬิกาก็คือ สำหรับสิ่งของที่ซับซ้อนและแม่นยำเช่นกับนาฬิกา กระบวนการสุ่มจะสร้างสิ่งของเช่นนี้ไม่ได้ ดังนั้น จึงอนุมานได้ว่าต้องมีผู้สร้างที่ชาญฉลาดผู้มีแผนจะใช้มัน และดังนั้น ก็พึงเทียบสรุปได้ด้วยว่า สิ่งของที่ซับซ้อนอีกอย่าง คือ เอกภพ ก็มีผู้สร้างที่ชาญฉลาดเช่นกัน[2]ฮูมให้เหตุผลว่าเอกภพและนาฬิกานั้นต่างกันอย่างสำคัญ

ยกตัวอย่างเช่น เอกภพมักจะไม่มีระเบียบและเป็นไปโดยสุ่ม แต่นาฬิกาไม่เป็นอย่างนั้น การให้เหตุผลเช่นนี้เรียกในภาษาปรัชญาอังกฤษว่า disanalogy (ไม่ใช่แนวเทียบ/เทียบกันไม่ได้)ถ้าจำนวนและความหลากหลายของความเหมือนกันอันสำคัญระหว่างสิ่งของสองสิ่ง ทำให้ข้อสรุปด้วยแนวเทียบมีกำลังขึ้น จำนวนและความหลากหลายของความต่างกันที่สำคัญ ก็ควรจะลดกำลังของข้อสรุปด้วยเช่นกัน[2]

เมื่อให้เหตุผลแบบ "counteranalogy" (แนวเทียบตอบโต้) ฮูมกล่าวว่า แม้วัตถุธรรมชาติบางอย่างเช่น เกล็ดหิมะ ดูเหมือนจะมีระเบียบและมีความซับซ้อน แต่จริงๆ ก็ไม่ใช่ผลของการกระทำที่ชาญฉลาด[2]อีกฝ่ายก็อาจเถียงได้ว่า แม้ระเบียบและความซับซ้อนของเกล็ดหิมะอาจไม่ใช่การกระทำที่ชาญฉลาด แต่เหตุของมันก็อาจจะเป็นเช่นนั้น แม้นี้อาจปฏิเสธเหตุผลของฮูม แต่จริงๆ ก็ยังเป็นเหตุผลวิบัติแบบ begging the question คือข้อสรุปที่ได้เท่ากับอ้างอิงเหตุผล/ข้ออ้าง แต่ตัวข้ออ้างเองก็ไม่ได้สนับสนุนข้อสรุป

ท้ายสุด ฮูมได้ให้เหตุผลจำนวนหนึ่งโดยระบุผลที่ไม่ได้ตั้งใจของแนวเทียบ (unintended consequences)เช่น สิ่งของต่างๆ เช่นนาฬิกา มักจะมาจากแรงงานของกลุ่มบุคคล ดังนั้น ถ้าเหตุผลโดยแนวเทียบใช้ได้ พระเป็นเจ้าก็ควรจะมีหลายพระองค์ (พหุเทวนิยม)[2]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา