การให้เหตุผลแบบหรณนัย

การให้เหตุผลแบบหรณนัย[1] (อังกฤษ: Abductive reasoning หรือบ้างก็ว่า abduction[2] abductive inference[2] หรือ retroduction[3]) เป็นรูปแบบหนึ่งของการอนุมานเชิงตรรกะที่กำหนดรูปแบบและเดินหน้าโดยนักปรัชญาชาวอเมริกัน ชารลส์ แซนเดอรส์ เพิร์ซ (Charles Sanders Peirce) เริ่มต้นในช่วงหนึ่งในสามส่วนสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 การให้เหตุผลนี้ขึ้นต้นด้วยเซตของการสังเกตการณ์หรือการสังเกตการณ์เดี่ยวแล้วพยายามหาข้อสรุปที่ง่ายและน่าเป็นไปได้มากที่สุดจากการสังเกตการณ์นั้น ๆ กระบวนการนี้ผลิตข้อสรุปที่เป็นไปได้แต่ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นจริงซึ่งต่างจากการให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลแบบหรณนัยนั้นจึงมีความไม่แน่นอนหรือความแคลงใจหลงเหลืออยู่ ซึ่งสามารถแสดงออกมาด้วยคำหลีกเช่น หาง่ายที่สุด หรือ เป็นไปได้มากที่สุด เรายังสามารถเข้าใจการให้เหตุผลแบบหรณนัยเป็นได้ว่า การอนุมานสู่คำอธิบายที่ดีที่สุด (IBE) [4] ถึงแม้การใช้งานของคำว่า การหรณนัย และ การอนุมานสู่คำอธิบายที่ดีที่สุด อาจไม่สมมูลกันทุกครั้งเสมอไป[5][6]ในขณะที่พลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นช่วงคริสตทศวรรษ 1990 งานวิจัยในสาขาเช่นกฎหมาย[7] วิทยาการคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์[8]ได้กระตุ้นความสนใจในเรื่องการหรณนัยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง[9] ระบบผู้เชี่ยวชาญวินัจฉัยก็นำการหรณนัยมาใช้บ่อยครั้ง[10]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบหรณนัย //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.cs.umd.edu/~nau/papers/reggia1985answer... http://www.commens.org/dictionary/term/retroductio... //doi.org/10.1007%2Fs11229-009-9709-3 //doi.org/10.1017%2FCBO9780511530128 //doi.org/10.22329%2Fil.v21i2.2241 //www.worldcat.org/oclc/28149683 //www.worldcat.org/oclc/799024771 http://www.visual-memory.co.uk/b_resources/abducti... https://books.google.com/?id=uu6zXrogwWAC&pg=PA1&d...