อำนาจและหน้าที่ ของ ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

ขุนนางนอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ บังคับบัญชากรมกองต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมาแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อย่าง การควบคุมดูแลไพร่พลในกรมกองที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชา และควบคุมดูแลไพร่ในหัวเมืองชั้นในซึ่งถูกแบ่งให้สังกัดกรมกองในเมืองหลวง ไพร่พลเหล่านี้ถือเป็นไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์มิได้ปกครองด้วยพระองค์เอง จำนวนไพร่พลในสังกัดมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและศักดินาของขุนนางผู้นั้น

ในเวลาปกติขุนนางต้องควบคุมดูแลไพร่หลวงให้สามารถทำมาหากินโดยสงบสุข ถ้าเกิดกรณีพิพาทขึ้นในสังกัด ขุนนางผู้นั้นมีอำนาจหน้าที่ในการพิพากษาคดี และเมื่อถึงกำหนดเกณฑ์แรงงานไพร่หลวงเข้าขุนนางต้องควบคุมไพร่ หากไพร่ขาดจำนวนเมื่อมีรายการเรียกใช้ ขุนนางผู้นั้นจะมีความผิด

หน้าที่การเก็บภาษีอาการ เช่นการเก็บภาษีที่เก็บจากไพร่พลของตนและภาษีอากรที่อยู่ในบังคับบัญชาของกรมที่ตนสังกัด ถ้าเป็นเจ้าเมืองหัวเมืองชั้นนอกมีอำนาจหน้าที่เก็บภาษีอาการทั้งหมดในบริเวณอาณาเขตที่เจ้าเมืองนั้นมีอำนาจ

ขุนนางมีหน้าที่ต้องรายงานพระมหากษัตริย์ทันทีที่ได้รู้เห็นว่าที่จะเป็นผลร้ายต่อพระมหากษัตริย์เช่น ข่าวกบฏ ยักยอกพระราชทรัพย์ ลักลอบติดต่อนางสนมกำนัลเป็นต้น ถ้ารู้แล้วไม่กราบทูลมีโทษถึงกบฏ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ขุนนางระแวงกันเอง หรืออาจมีการกลั่นแกล้งกัน โดยแจ้งเรื่องเท็จ หรือทำบัตรสนเท่ห์ ทำให้ขุนนางระมัดระวังอยู่เสมอ และขุนนางทุกคนจะต้องเข้าร่วมพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ใครขาดถือมีโทษถึงกบฏ

การควบคุมพฤติกรรม เพื่อกำหนดขอบเขตการเคลื่อนไหวของขุนนางหรือเจ้านายรวมตัวกัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ เช่น เจ้าเมืองไปมาหาสู่กันไม่ได้ ขุนนางศักดินา 800-10,000 ไปมาหาสู่กันถึงเรือน หรือในที่สงัดหรือลอบเจรจากันในศาลาลูกขุนสองต่อสอง ล้วนแล้วมีความผิดโทษถึงตาย หรือแม้แต่ห้ามมิให้ขุนนางที่จะถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสวมแหวนนาก แหวนทอง กินข้าวกินปลาก่อนถือน้ำ ก็มีโทษระวางกบฏ

ใกล้เคียง

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา ขุนนางอังกฤษ ขุนนางฝ่ายอาณาจักร ขุนนางฝรั่งเศส ขุนนางฝ่ายศาสนจักร ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก ขุนนาง ขุนนางญี่ปุ่น ขุนนางโกฮาอิน ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)