คำอธิบาย ของ ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ

โหลด (ชิ้นส่วนพาสซีฟ)
แหล่งพลังงาน (ชิ้นส่วนแอคทีฟ)

ชิ้นส่วนแอคทีฟและพาสซีฟ

ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า หมายถึงอัตราของพลังงานไฟฟ้าที่ไหลเข้าหรือออกจากชิ้นส่วนใด ๆ กำลังไฟฟ้าเป็นปริมาณที่มีเครื่องหมาย โดยที่กำลังไฟฟ้าที่เป็นลบหมายถึงเพียงว่าเป็นกำลังไฟฟ้าที่ไหลไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับกำลังที่เป็นบวก จากมุมมองของการไหลของกำลังไฟฟ้า ชิ้นส่วนไฟฟ้า ในวงจรจึงสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท[2] ดังนี้

  • ชิ้นส่วนที่เป็น โหลด หรือแบบ พาสซีฟ เช่น หลอดไฟ, ตัวต้านทาน, หรือ มอเตอร์ไฟฟ้า. กระแสไฟฟ้า (การไหลของประจุบวก) จะเคลื่อนผ่านชิ้นส่วนภายใต้อิทธิพลของแรงดันไฟฟ้าไปในทิศทางของศักย์ไฟฟ้าที่ต่ำกว่า จากขั้วบวกไปยังขั้วไฟฟ้าลบ ดังนั้นงานจะถูกกระทำ โดย ประจุไฟฟ้า บน ชิ้นส่วนนั้น พลังงานศักย์จะไหลออกจากประจุเหล่านั้น; และกำลังไฟฟ้าก็จะไหลจากวงจรเข้าสู่ชิ้นส่วน ซึ่งจะถูกแปลงเป็นรูปแบบอื่น ๆ ของพลังงานในชิ้นส่วนนั้น เช่นความร้อนหรืองานด้านกลไก
  • ชิ้นส่วนที่เป็น แหล่งพลังงาน หรือแบบ แอคทีฟ เช่น แบตเตอรี่ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสจะถูกบังคับให้เคลื่อนที่ผ่านชิ้นส่วนไปในทิศทางของ พลังงานศักย์ ไฟฟ้าที่สูงกว่า จากขั้วไฟฟ้าแรงดันลบไปยังขั้วไฟฟ้าแรงดันบวก การไหลของกระแสไฟฟ้าในทิศทางนี้จะเพิ่มพลังงานศักย์ให้กับชิ้นส่วนดังกล่าว ทำให้กำลังไฟฟ้าไหลออกจากชิ้นส่วนเข้าสู่วงจร. งาน จะต้องถูกทำ บน ประจุที่กำลังเคลื่อนที่โดยแหล่งที่มาของพลังงานบางอย่างในชิ้นส่วนนั้น ที่จะทำให้พวกมันเคลื่อนที่ไปในทิศทางนี้ต้านกับแรงฝ่ายตรงข้ามกับ สนามไฟฟ้า E

บางชิ้นส่วนอาจเป็นได้ทั้งแหล่งพลังงานหรือโหลด ขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสที่ผ่านตัวพวกมัน ตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่ที่ชาร์จใหม่ได้จะทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานเมื่อมันถูกนำมาใช้ในการผลิตกำลังไฟฟ้า แต่จะเป็นโหลดเมื่อมันกำลังถูกชาร์จใหม่

เนื่องจากกระแสสามารถไหลได้ทั้งสองทิศทาง มันจึงมีสองวิธีที่เป็นไปได้ในการกำหนดกำลังไฟฟ้า; หรือสอง ทิศทางอ้างอิง ที่เป็นไปได้: คือกำลังไฟฟ้าไหลเข้ามาในวงจร หรือกำลังไฟฟ้าไหลออกมาจากวงจร อันใดอันหนึ่งนี้สามารถกำหนดให้เป็นบวก[2] ไม่ว่าทิศทางไหนจะถูกกำหนดให้เป็นบวก อีกทิศทางหนึ่งจะเป็นลบ ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟจะกำหนดกำลังไฟฟ้าที่ไหล ออก จากวงจร (เข้า ชิ้นส่วน) ให้เป็นบวก[2] ดังนั้นชิ้นส่วนพาสซีฟจึงมีกำลังไฟไหลผ่านเป็น "บวก"

ใกล้เคียง

ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อตกลงพลาซา ข้อตกลงเขตแดนทางทะเลของสหภาพโซเวียต–สหรัฐ ข้อตกลงฏออิฟ ข้อตกลงกระทำอัตวินิบาตกรรม ข้อตกลงรวมบาหลี ข้อตกลงมิวนิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ http://books.google.com/books?id=7nNjaH9B0_0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=E7hiqdNg0dsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=EPb1COh2AQUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=ZzeXM-IQnIUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=_wlZ5LHTyBIC&pg=S... http://www.powershow.com/view/1fa3eb-NzNkY/ECE_110... http://web.engr.oregonstate.edu/~traylor/ece112/le... http://web.cecs.pdx.edu/~prasads/BasicConcepts.pdf http://www.egr.uh.edu/ http://opencourseware.kfupm.edu.sa/colleges/ces/ee...