ทิศทางอ้างอิง ของ ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ

การไหลของกำลังไฟฟ้า p และ ความต้านทาน r ของชิ้นส่วนไฟฟ้าหนึ่ง จะเกี่ยวข้องกับตัวแปรแรงดันไฟฟ้า v และกระแส i โดยกำหนดเป็นสมการสำหรับกำลังไฟฟ้าและ [[กฎของโอห์ม] ดังต่อไปนี้:

p = v i ( 1 ) {\displaystyle p=vi\qquad \qquad \qquad \,\,\,(1)\,} r = v / i ( 2 ) {\displaystyle r=v/i\qquad \qquad \qquad (2)\,}

เช่นเดียวกับกำลังไฟฟ้า แรงดันและกระแสก็มีปริมาณเป็นเครื่องหมาย การไหลของกระแสในเส้นลวดจะมีสองทิศทางที่เป็นไปได้ ดังนั้นเมื่อจะกำหนดตัวแปรกระแส i ทิศทางซึ่งแทนความหมายของการไหลของกระแสในเชิงบวกจะต้องชี้ให้เห็น โดยมักจะเป็นลูกศรในแผนภาพวงจร[8][9] เครื่องหมายนี้เรียกว่าทิศทางอ้างอิงสำหรับกระแส i[8][9] ถ้ากระแสที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ตัวแปร i ก็จะมีค่าเป็นลบ ในทำนองเดียวกันในการกำหนดตัวแปรแรงดันไฟฟ้า v ขั้วไฟฟ้าที่แสดงความหมายว่าเป็นด้านบวกจะต้องมีการระบุ ซึ่งมักใช้ลูกศรหรือเครื่องหมายบวก[9] เครื่องหมายนี้เรียกว่า ทิศทางอ้างอิงสำหรับแรงดันไฟฟ้า v[8][9]

เพื่อให้เข้าใจถึง 'ข้อตกลงสำหรับสัญลักษณ์พาสซีฟ' มากยิ่งขึ้น มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแยกแยะทิศทางอ้างอิงของตัวแปร v และ i ซึ่งสามารถกำหนดได้ด้วยสามัญสำนึก จากทิศทางของแรงดันไฟฟ้าและกระแสที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะถูกกำหนดโดยวงจร[9] แนวคิดของข้อตกลงนี้ก็คือว่าโดยการกำหนดทิศทางอ้างอิงของตัวแปร v และ i ในชิ้นส่วนหนึ่งด้วยความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง, การไหลเวียนของกำลังไฟฟ้าในชิ้นส่วนแบบพาสซีฟที่คำนวณได้จากสมการ (1) จะมีผลออกมาเป็นบวก ในขณะที่การไหลของกำลังไฟฟ้าในชิ้นส่วนแบบแอคทีฟจะมีผลออกมาเป็นลบ มันไม่จำเป็นที่จะต้องทราบว่าชิ้นส่วนนั้นจะผลิตหรือจะบริโภคพลังงานเมื่อทำการวิเคราะห์วงจร; ทิศทางอ้างอิงสามารถกำหนดได้เองสำหรับเส้นทางไปยังกระแสและขั้วไฟฟ้าไปยังแรงดัน จากนั้นข้อตกลงฯ มีใว้ใช้ในการคำนวณการใช้กำลังไฟฟ้าในชิ้นส่วนทั้งหลาย[2] ถ้ากำลังไฟฟ้าออกมาในเป็นบวก ชิ้นส่วนนั้นจะเป็นโหลดซึ่งแปลงกำลังไฟฟ้าให้เป็นกำลังงานรูปอื่น ถ้ากำลังไฟฟ้าออกมาเป็นลบ ชิ้นส่วนนั้นจะเป็นแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งจะแปลงกำลังงานรูปแบบอื่นให้เป็นกำลังไฟฟ้า

ใกล้เคียง

ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อตกลงพลาซา ข้อตกลงเขตแดนทางทะเลของสหภาพโซเวียต–สหรัฐ ข้อตกลงฏออิฟ ข้อตกลงกระทำอัตวินิบาตกรรม ข้อตกลงรวมบาหลี ข้อตกลงมิวนิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ http://books.google.com/books?id=7nNjaH9B0_0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=E7hiqdNg0dsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=EPb1COh2AQUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=ZzeXM-IQnIUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=_wlZ5LHTyBIC&pg=S... http://www.powershow.com/view/1fa3eb-NzNkY/ECE_110... http://web.engr.oregonstate.edu/~traylor/ece112/le... http://web.cecs.pdx.edu/~prasads/BasicConcepts.pdf http://www.egr.uh.edu/ http://opencourseware.kfupm.edu.sa/colleges/ces/ee...