บูรพาจารย์ผู้สืบทอดมหายานในประเทศไทย ของ คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย

นอกจากเจ้าคณะใหญ่ที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีคณาจารย์รูปอื่น ๆ ที่มีการบันทึกประวัติ และผลงานไว้ดังนี้

  • พระอาจารย์กวยหลง เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์สกเห็ง เจ้าคณะใหญ่ ลำดับที่ 1 มีความรู้แตกฉานทางด้านมหายาน ได้ช่วยเหลือในการสร้างวัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้
  • พระอาจารย์ตั๊กฮี้ บรรพชา ณ สำนักวัดมังกรกมลาวาส โดยมีพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร (กวยหงอ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาธรรม ณ วัดมังกรกมาลาวาส ต่อมาได้ธุดงค์วัตร มาที่ ฉะเทริงเทรา และได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างวัดจีนประชาสโมสร ต่อมาได้รับแต่ตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสรรูปต่อมา ได้เคยแสดงธรรมแก่ประชาชนชาวจีน ณ สำนักสงฆ์เต๊กฮ่วยตึ้ง จังหวัดเพชรบุรี เป็นประจำ ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทศิษย์ จำนวน 30 กว่ารูป ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอาจารย์จีนที่มีชื่อหลายรูปด้วยกัน ต่อมาท่านได้จาริกแสดงธรรมมาถึงจังหวัดชลบุรี และได้สร้างวัดเทพพุทธาราม ขึ้น ชาวจีนเรียกว่า วัดเซียนฮุดยี่ เนื่องจากท่านเคยถือคติลัทธิเต๋ามาก่อน เพื่อมาบวชในพุทธศาสนาแล้วจึงให้ชื่อวัดดังกล่าวเพื่อเป็นอนุสรณ์

พระอาจารย์ตั๊กฮี้ ก่อนท่านดับขันธ์ท่านได้เข้าฌานสมาบัติดับขันธ์ปัจจุบันสรีระธาตุท่าน ประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์วัดเทพพุทธาราม

  • พระอาจารย์เซี่ยงหงี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในฝ่ายเถรวาท ที่วัดต้นไทร จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรในนิกายจีน เป็นศิษย์พระอาจารย์ตั๊กฮี และต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในสำนักพระอาจารย์กวยหงอ แล้วเดินทางไปบูชาปูชนียสถานในประเทศจีน เมื่ออายุได้ 35 ปี ได้เดินทางมาประเทศไทยอีก และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส และได้เป็นพระอุปัชฌาย์จีนนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2492

พระอาจารย์เซี่ยงหงี ก่อนดับขันธ์ท่านได้เข้าฌานสมาบัติดับขันธ์ ปัจจุบันสรีระธาตุท่านประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดจีนประชาสโมสร

  • พระอาจารย์เซี่ยงซิว เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ได้เป็นกำลังช่วยพระอาจารย์ตั๊กฮี ในการสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีสะพานและถนน เป็นต้น เป็นผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติด้านกัมมัฏฐาน และได้ออกจาริกเทศนาสั่งสอนประชาชนด้วยความเมตตากรุณา
  • พระอาจารย์เซี่ยงกี่ เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ได้ออกบวชในสำนักพระอาจารย์ตั๊กฮีที่วัดจีนประชาสโมสร ได้ออกธุดงควัตรไปที่เขาพระพุทธบาท สระบุรี เข้าไปปฏิบัติโยคะธรรมที่ถ้ำประทุน และได้นำประชาชน สร้างวัดเซ็งจุ้ยยี่ขึ้น มีศิษย์หลายรูปที่มีชื่อเสียง เช่น พระอาจารย์โพธิแจ้ง เป็นต้น
  • พระอาจารย์ฮ่งเล้ง เดิมชื่อฮ่งเล้ง แซ่เตีย เป็นชาวจังหวัด เยี่ยวเพ้ง มณฑลมณฑลกวางตุ้ง เมื่อเดินทางมาประเทศไทยได้บวชที่วัดเช็งจุ้ยยี่ สมาทานธุดงควัตรตลอดเวลากว่า 10 ปี แล้วกลับไปสักการะปูชนียสถานที่มาตุภูมิกับพระมาหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมาหาเถระ) ในระหว่างการเดินทางได้แวะสักการะพระเจดีย์ เซี้ยงฮู้ (เซี่ยงฮู้ถะ) ตั้งอยู่บนยอดเขา กูซัว ที่ตำบล ฮับซัว อำเภอ เตี้ยเอี้ย มณฑล กวางตุ้ง ขณะที่ท่านได้สักการระพระเจดีย์อยู่นั้นท่านทัศนาเห็นปวงทิพย์ชนแห่ลอยลงมาต้อนรับท่าน ตัวท่านเองในขณะนั้นได้เข้าสมาธิเกิดปิติตัวลอยขึ้นไปอยู่บนเจดีย์นั้น ท่ามกลางสายตาของประชาชนเป็นจำนวนมาก ท่านได้ทำการสวดมนต์ต์ต์ต์สรรเสริญคุณพระพุทธคุณแห่งพระศาสดาศากยะมุนีพุทธเจ้า และสักการะและทักษิณาวัตรพระธาตุบนเจดีย์แล้ว ก็กระเหาะลงมาจากยอดพระเจดีย์ลงมาเบื้องล่าง ร่างของท่านเมื่อเหยียบถึงพื้นดินบริเวณพื้นดินที่ท่านได้เหยียบลงไปนั้นกลายเป็นวงกลมมีเม็ดทรายสีทองขึ้นมาและท่านยืนแน่นิ่งไม่เอนเอียง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกถึงแก่กาลดับขันธ์ลง สรีระของท่านตั้งมั่นอยู่เช่นนั้น 7 วัน 7 คืน ประชาชนจึงถวายนามท่านว่าพระลิบผู่สัก ซึ่งหมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จธรรมในท่ายืน ปัจจุบันสรีระธาตุของท่านไม่เน่าเปื่อย และยังคงประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์เซี้ยงฮู้ มลฑลกวางตุ้ง
  • พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิแจ้งมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 6 เป็นพระราชาคณะสัญญาบัตร (เทียบชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา พระอาจารย์โพธิ์แจ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ได้เดินทางมาประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2470 เพื่อศึกษาหลักธรรม และสักการะปูชนียสถานต่าง ๆ และได้ขอบรรพชา ณ สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน เมื่อปี พ.ศ. 2471 มีฉายาว่า โพธิแจ้ง ได้ออกบำเพ็ญเพียรศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ 6 พรรษา จนแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาพุทธบริษัทมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ได้เดินทางไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท แล้วอยู่ศึกษาธรรมเพิ่มเติมอีก 2 ปี จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2484 ได้เดินทางไปประเทศจีนอีกครั้งหนึ่ง และได้จาริกไปถึงแคว้นคามธิเบตตะวันออก เพื่อศึกษาลัทธิมนตรยาน ณ อารามรินโวเช่ และท่านได้ศึกษาพระคัมภีร์จนแตกฉาน และได้รับเกียตริสูงสุดในการถ่ายทอดตำแหน่งเป็นสังฆนายก องค์ที่ 18 แห่งนิกายมนตรายาน จนถึงปี พ.ศ. 2490 ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย และในปีต่อมาได้เดินทางไปประเทศจีนเป็นครั้งที่สาม ได้รับแต่งตั้งเป็น พระปรมัตตาจารย์ จากประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆนายกนิกายวินัย องค์ที่ 19 เมื่อปี พ.ศ. 2493 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็น หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ตำแหน่งปลัดซ้าย เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกาย

พระมาหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ ก่อนถึงกาลดับขันธ์ท่านรู้ด้วยฌานสมาบัติ และได้เข้าฌานสมาบัตินั่งสมาธิดับขันธ์ ปัจจุบันสรีระธาตุท่านประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม

ใกล้เคียง

คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย คณะสงฆ์ชินกัก คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย คณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ คณะองคมนตรีไทย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์