คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ
คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ

คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ

คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ (อังกฤษ: Racism in the United States) มีมาแต่สมัยอาณานิคม เมื่ออเมริกันผิวขาวได้รับเอกสิทธิ์และสิทธิ์ทางกฎหมายหรือสังคม แต่ปฏิเสธให้สิทธิเดียวกันนั้นแก่เชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยอื่น ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสเตียนโปรเตสแตนต์แองโกล-แซ็กซอนผิวขาวที่มั่งมี ได้รับเอกสิทธิ์สิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวในด้านการศึกษา การเข้าเมือง สิทธิเลือกตั้ง ความเป็นพลเมือง การซื้อที่ดิน และวิธีดำเนินการทางอาญาตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐ ผู้เข้าเมืองที่มิใช่โปรเตสแตนต์จากทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไอริช โปแลนด์และอิตาลี มักถูกกีดกันด้ยวยความเกลียดกลัวต่างชาติและการเลือกปฏิบัติที่ยึดชาติพันธุ์รูปแบบอื่นในสังคมสหรัฐจนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ กลุ่มอย่างยิวและอาหรับเผชิญกับการเลือกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในสหรัฐ ผลทำให้บางคนในกลุ่มนี้ไม่ถูกระบุว่าเป็นผิวขาว ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาถูกจำกัดเสรีภาพทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐส่วนใหญ่ ในอดีต ฮิสแอฟนิกก็เผชิญคตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ นอกจากนี้ ชาวเอเชียตะวันออก ใต้และตะวันออกเฉียงใต้ก็รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติด้วยเช่นกันสถาบันและที่มีการจัดโครงสร้างแบบเชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่สำคัญและการแสดงคตินิยมเชื้อชาติ ได้แก่ พันธูฆาต การจับเป็นทาส การแบ่งแยก เขตสงวนอเมริกันพื้นเมือง โรงเรียนกินนอนอเมริกันพื้นเมือง กฎหมายเข้าเมืองและการแปลงสัญชาติ และค่ายกักกัน การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่ถูกห้ามในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เพราะประชาชนรับรู้ว่ายอมรับไม่ได้ทางสังคมและศีลธรรม การเมืองเรื่องเชื้อชาติยังเป็นปรากฏการณ์สำคัญ และคตินิยมเชื้อชาติยังสะท้อนออกมาในรูปความไม่เสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่[1] การจัดช่วงชั้นด้วยเชื้อชาติยังเกิดในการจ้างงาน การเคหะ การศึกษา การให้กู้และการปกครองในทัศนะของสหประชาชาติและเครือข่ายสิทธิมนุษยชนสหรัฐ "การเลือกปฏิบัติในสหรัฐแทรกซึมอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิตและขยายรวมถึงชุมชนผิวสีทั้งหมด"[2] แม้สภาพของทัศนะซึ่งชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยยึดถือได้เปลี่ยนแปลงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลสำรวจที่องค์การอย่างเอบีซีนิวส์รวบรวมพบว่าแม้ในอเมริกาสมัยใหม่ อเมริกันจำนวนมากยังยอมรับว่ามีมุมมองที่เลือกปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น บทความปี 2550 โดยเอบีซีระบุว่า อเมริกันหนึ่งในสิบยอมรับว่ามีความเดียดฉันท์ต่ออเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิกและละติน และประมาณหนึ่งในสี่ยอมรับว่ามีความเดียดฉันท์ต่ออเมริกันเชื้อสายอาหรับ[3] การสำรวจของยูกอฟ/อีโคโนมิสต์ปี 2561 พบว่าอมเริกัน 17% ค้านการสมรสระหว่างเชื้อชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ "อื่น" 19% คัดค้าน รวมทั้งผิวดำ 18% ผิวขาว 17% และฮิสแปนิก 15%[4]อเมริกันบางส่วนมองว่าการเลือกตั้งบารัก โอบามาเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของสหรัฐ (ดำรงตำแหน่ง 2552 ถึง 2560) เป็นสัญญาณว่าประเทศได้เข้าสู่ยุคหลังเชื้อชาติแล้ว[5][6] อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ในปี 2559 มีนักวิจารณ์บางคนมองว่าเป็นปฏิกิริยาสะท้อนแบบคตินิยมเชื้อชาติต่อการเลือกตั้งโอบามา[7] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 2010 สังคมอเมริกันยังเผชิญกับคตินิยมเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติระดับสูง ปรากฏการณ์ใหม่อย่างหนึ่งได้แก่การเติบโตของบวนการ "ขวาทางเลือก" (alt-right) ซึ่งเป็นแนวร่วมชาตินิยมผิวขาวที่มุ่งขับชนกลุ่มน้อยทางเพศและเชื้อชาติออกจากสหรัฐ[8] หลังจากกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา กระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิและสำนักงานสอบสวนกลางถือว่าความรุนแรงจากพวกความสูงสุดของคนขาวเป็นภัยคุกคามการก่อการร้ายในประเทศอันดับต้น ๆ ในสหรัฐ[9][10]

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเปลี่ยนแนว

แหล่งที่มา

WikiPedia: คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ //doi.org/10.1017%2FS1742058X09990282 https://foreignpolicy.com/2017/08/14/fbi-and-dhs-w... https://www.theatlantic.com/magazine/archive/2017/... https://www.washingtonpost.com/amphtml/news/book-p... https://dash.harvard.edu/handle/1/10347165 https://d25d2506sfb94s.cloudfront.net/cumulus_uplo... https://www.documentcloud.org/documents/3924852-Wh... https://www.npr.org/templates/story/story.php?stor...