คตินิยมเส้นกั้นสี
คตินิยมเส้นกั้นสี

คตินิยมเส้นกั้นสี

คตินิยมเส้นกั้นสี (อังกฤษ: cloisonnism) เป็นลักษณะการเขียนภาพของลัทธิประทับใจยุคหลังที่เด่น (bold) และราบ (flat) แยกจากสิ่งแวดล้อมด้วยขอบสีเข้ม ๆ เป็นคำที่นักวิจารณ์เอดัวร์ ดูว์ฌาร์แด็ง (Édouard Dujardin) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1888[1] ศิลปินเช่นเอมีล แบร์นาร์ (Émile Bernard), หลุยส์ อ็องเกอแต็ง (Louis Anquetin), ปอล โกแก็ง และคนอื่น ๆ ใช้วิธีการเขียนเช่นนี้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "กลัวซอเน" (cloisonné) หมายถึงเทคนิคในการใช้ลวดเชื่อมชิ้นต่าง ๆ ของฝุ่นแก้วเข้าด้วยกันก่อนที่จะเผา"พระเยซูเหลือง" (Le Christ jaune) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1889 ถือกันว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของงานเขียนแบบคตินิยมเส้นกั้นสี ปอล โกแก็ง ลดบริเวณต่างในภาพลงมาเหลือเพียงสีเหลืองโดยแยกพระเยซูออกมาด้วยขอบสีดำหนัก งานลักษณะนี้เกือบจะไม่ให้ความสนใจในทฤษฎีการเขียนภาพแบบทัศนียภาพที่เคยทำกันมาและลบการลดหลั่นของสีต่าง ๆ ในภาพจนแบนราบ ซึ่งเป็นสองลักษณะที่เด่นของการเขียนภาพอย่างสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายุคหลังการแยกสีของคตินิยมเส้นกั้นสีสะท้อนให้เห็นความขาดการต่อเนื่องซึ่งเป็นลักษณะของการเขียนภาพแบบศิลปะสมัยใหม่ (เอเวอร์เดลล์, ค.ศ. 1997)[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเปลี่ยนแนว