อาการ ของ คราวซึมเศร้า

หญิงที่มีความซึมเศร้าและความวิตกกังวล

เกณฑ์วินิจฉัยต่อไปนี้มากจาก DSM-IV สำหรับคราวซึมเศร้า (major depressive episode)การวินิจฉัยว่าเป็นคราวซึมเศร้า บังคับว่าคนไข้ต้องประสบอาการอย่างน้อย 5 อย่างที่จะกล่าวต่อไปเป็นระยะเวลา 2 อาทิตย์ ซึ่งเป็นอาการนอกเหนือไปจากพฤติกรรมปกติของคนไข้ความเศร้า (depressed mood) หรือความสนใจ/ความสุขเพลิดเพลินที่ลดลง ต้องเป็นอาการ 1 ใน 5 (แม้ว่าทั้งสองบ่อยครั้งจะเกิดด้วยกัน)

อารมณ์ ความไม่เป็นสุข และความไม่สนใจ

คนที่ประสบกับภาวะซึมเศร้าอาจรายงานอารมณ์เศร้า (depressed mood) หรืออาจปรากฏว่าซึมต่อคนอื่น[8]บ่อยครั้ง ความสนใจและความสุขเพลิดเพลินในกิจกรรมชีวิตประจำวันจะลดลง ซึ่งเรียกว่าภาวะสิ้นยินดี (anhedonia) ความรู้สึกเช่นนี้ต้องมีทุกวันเป็นเวลา 2 อาทิตย์หรือนานกว่านั้นที่จะผ่านเกณฑ์ของ DSM-IV ว่ามีภาวะซึมเศร้า[8]นอกจากนั้นแล้ว บุคคลอาจจะประสบกับอารมณ์ดังต่อไปนี้ คือ ความเศร้าโศก ความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย ความหมดหวัง ความรู้สึกผิด ความไม่แยแส ความวิตกกังวล การร้องไห้ การมองในแง่ร้าย หรือความฉุนเฉียวง่าย[2]เด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะอาจจะฉุนเฉียวง่าย[2]อาจจะเสียความสนใจหรือความต้องการในเพศสัมพันธ์เพื่อน ๆ และครอบครัวของคนไข้อาจสังเกตว่าเขาออกห่างจากเพื่อน หรือว่าละเลยหรือเลิกทำกิจกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสิ่งที่ชอบ[9]

คนซึมเศร้าอาจมีความรู้สึกผิดเกินปกติ จนกระทั่งถึงกับหลงผิด[8]อาจจะคิดถึงตัวเองในเชิงลบที่ไม่สมกับความจริง เช่นหมกมุ่นกับความล้มเหลวในอดีต การยึดมั่นกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเชื่อว่าความผิดพลาดเล็กน้อยเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าตนเป็นคนล้มเหลวและอาจจะรู้สึกต้องรับผิดชอบอย่างไม่สมจริง และเห็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ว่าเป็นความผิดของตนนอกจากนั้นแล้ว การรังเกียจตัวเอง (self-loathing) ก็ยังเป็นอาการสามัญอีกด้วย ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ เมื่อเกิดขึ้นรวมกับอาการอื่น ๆ[9]

ความเปลี่ยนแปลงในการรับประทาน ความอยากอาหาร หรือน้ำหนัก

คนที่มีภาวะซึมเศร้าอาจมีน้ำหนักลดหรือขึ้นอย่างสำคัญ (เช่น 5% ของน้ำหนักปกติของตนภายในเดือนหนึ่ง) หรือความอยากอาหารอาจจะเปลี่ยนไป[8]ซึ่งเป็นได้ทั้งสองอย่าง คือ น้อยหรือมากเกินไปในกรณีแรก บางคนอาจจะไม่รู้สึกหิวเลย คืออยู่ได้โดยไม่ต้องทาน หรืออาจจะลืม และถ้าทาน อาหารเพียงแค่เล็กน้อยก็พอแล้ว ในเด็ก การไม่เพิ่มน้ำหนักตามเกณฑ์อาจจะเรียกได้ว่าอยู่ในกรณีนี้[2]การทานน้อยเกินไปบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความซึมเศร้าแบบ melancholicในกรณีหลัง บางคนอาจอยากอาหารมากขึ้นและน้ำหนักอาจจะขึ้นอย่างสำคัญและอาจจะต้องการทานอาหารบางประเภท เช่น ของหวานหรือแป้งบุคคลที่ซึมเศร้าแบบ seasonal affective disorder (ตัวย่อ SAD คือความผิดปกติทางอารมณ์ที่เป็นไปตามฤดู) อาจจะอยากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงการทานอาหารเกินบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความซึมเศร้าที่เรียกว่า atypical depression[9]

การนอนหลับ

ทุก ๆ วัน คนซึมเศร้าอาจจะนอนมากเกินไป ซึ่งเรียกว่า hypersomnia หรือนอนน้อยเกินไป ซึ่งเรียกว่า insomnia (การนอนไม่หลับ)[8]การนอนไม่หลับเป็นปัญหาการนอนที่สามัญที่สุดสำหรับคนซึมเศร้าและบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความซึมเศร้าแบบ melancholic

อาการนอนไม่หลับรวมทั้งปัญหาในการหลับ ปัญหาตื่นง่าย และ/หรือตื่นเช้าเกินไปส่วนการนอนมากเกินไปสามัญน้อยกว่าซึ่งอาจจะเป็นการนอนยาวตอนกลางคืน หรือนอนมากขึ้นตอนกลางวันการนอนอาจจะไม่ทำให้รู้สึกว่าได้พักผ่อน คือบุคคลอาจจะรู้สึกเพลียแม้ว่าจะได้นอนหลายชั่วโมงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมชีวิตประจำวันและสมาธิในที่ทำงานหรือที่บ้านตามห้องสมุดการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (United States National Library of Medicine) คนซึมเศร้าแบบ SAD อาจจะนอนนานกว่าในช่วงหน้าหนาวการนอนมากเกินไปบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความซึมเศร้าแบบ atypical depression[9]และไม่สามัญเท่ากับนอนไม่หลับ และคนไข้ประมาณ 40% จะนอนมากเกินไปเป็นบางครั้งบางคราว[10]

การเคลื่อนไหว/กิจกรรม

เกือบทุกวัน บุคคลอื่นจะเห็นว่ากิจกรรมของบุคคลนั้นอยู่ในระดับไม่ปกติ[8]คือ อาจจะกระวนกระวาย (เรียกว่า psychomotor agitation) หรือว่า เฉื่อยชาเกินไป (เรียกว่า psychomotor retardation)ถ้ากระวนกระวาย คนไข้อาจจะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ต้องเดินไปเดินมา บีบรัดมือ หรือเล่นกับเสื้อผ้ากับวัตถุอื่น ๆถ้าเฉื่อยชา คนไข้มักจะเคลื่อนไหวช้าลง อาจจะเดินในห้องช้า ๆ ไม่มองใคร นั่งซบเซาบนเก้าอี้และพูดช้า ๆ ถ้าพูดอะไรเลยคนไข้อาจจะกล่าวว่าแขนขาหนัก

เพื่อที่จะผ่านเกณฑ์วินิจฉัย การเคลื่อนไหวต้องเปลี่ยนไปอย่างผิดปกติจนผู้อื่นเห็นได้[9]ถ้าคนไข้กล่าวเองว่า รู้สึกอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ หรือรู้สึกเชื่องช้า ยังไม่นับเข้ากับเกณฑ์นี้[2]

ความล้าและสมาธิ

เกือบทุกวัน บุคคลจะประสบความรู้สึกล้ามาก เหนื่อยมาก หรือหมดแรง[2][8]อาจจะรู้สึกเหนื่อยโดยที่ไม่ได้ทำอะไร จนกิจกรรมประจำวันกลายเป็นเรื่องยากงานอาชีพและที่บ้านจะทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก และก็จะเริ่มมีปัญหากับงาน[9]คนไข้อาจจะตัดสินใจอะไรไม่ได้ หรือมีปัญหาในการคิดหรือในเรื่องสมาธิ[8]ปัญหากับความจำและความวอกแวกเป็นเรื่องสามัญอาการเหล่านี้จะเป็นปัญหามากขึ้นในกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เช่น การเรียนหนังสือหรืองาน โดยเฉพาะในเรื่อง/สาขาวิชาที่ยาก[9]

ความคิดเกี่ยวกับความตายและการฆ่าตัวตาย

บุคคลอาจจะคิดซ้ำ ๆ เรื่องความตาย (นอกเหนือจากกลัวตาย) หรือการฆ่าตัวตาย (ไม่ว่าจะมีแผนหรือไม่) หรืออาจพยายามฆ่าตัวตาย[8]ความถี่และความหมกมุ่นในความคิดเกี่ยวกับความตายอาจจะเริ่มตั้งแต่การเชื่อว่าเพื่อน ๆ และครอบครัวจะดีกว่าถ้าตนตาย, การคิดบ่อย ๆ ถึงการฆ่าตัวตาย (ทั่วไปโดยหวังจะยุติความเจ็บปวดทางใจ), จนกระทั่งถึงการวางแผนอย่างละเอียดว่าจะทำอย่างไรคนที่อยากฆ่าตัวตายมากอาจมีแผนโดยเฉพาะและได้ตัดสินใจถึงวันและสถานที่ที่จะฆ่าตัวตายแล้ว[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คราวซึมเศร้า http://www.allaboutdepression.com/dia_12.html http://www.geocities.com/morrison94/mood.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=296.... http://www.medscape.com/viewarticle/467185_2 http://search.proquest.com/psycinfo/docview/621115... http://www.webmd.com/depression/guide/optimizing-d... http://faculty.winthrop.edu/DaughertyT/dep.htm http://health.nih.gov/topic/Depression //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20949886 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22335214