ฝั่งธนบุรี ของ คลองบางเชือกหนัง

คลองบางกอกน้อยคลองพระยาราชมนตรี หรือคลองราชมนตรีคลองลัดมะยมคลองภาษีเจริญ
  1. คลองบางกอกน้อย จากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่าน ถนนอรุณอัมรินทร์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนบรมราชชนนี ถึงสุดเขตเทศบาล
  2. คลองบางขุนศรี ตั้งแต่สี่แยกคลองมอญ ถึงคลองบางกอกน้อย
  3. คลองลัดบางขุนศรี จากคลองบางขุนศรี ถึงคลองบางกอกน้อย
  4. คลองชักพระ ไหลแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกับบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่
  5. คลองบางขุนนนท์ จากคลองบางกอกน้อย ถึงคลองลัดบางขันสี เป็นคลองน้ำเสียที่แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ไหลผ่านถนนบางขุนนนท์ ถนนเลียบทางรถไฟ ถนนจรัญสนิทวงศ์ และไปบรรจบท้ายคลองวัดยางสุทธาราม ลำคลองกว้างประมาณ7-9 เมตร
  6. คลองวัดมะ จากคลองบางขุนสี ถึงคลองบางขุนนนท์
  7. คลองมอญ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกบางกอกใหญ่
  8. คลองบ้านขมิ้น จากคลองมอญถึงทางรถไฟสายบางกอกน้อย
  9. คลองวัดอรุณ จากคลองอมญ ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
  10. คลองวัดราชสิทธิ จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองวัดอรุณ
  11. คลองวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม ปัจจุบัน) จากคลองบางใหญ่ ถึงคลองมอญ
  12. คลองบางกอกใหญ่ จากแมน้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกปากคลองมอญ
  13. คลองวัดบุปผาราม จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองสาน
  14. คลองกุดีจีน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองวัดบุปผาราม
  15. คลองสาน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
  16. คลองสมเด็จเจ้าพระยา เป็นคลองที่แยกออกจากฝั่งซ้ายของคลองสานในเขตคลองสาน เป็นคลองที่ขุดผ่านบริเวณบ้านของสมเด็จเจ้าพระยาทั้ง 3 ท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เดิมทีเรียกว่า "คลองสามพระยา" เพื่อใช้ในการสัญจรทางน้ำ ลำคลองเลียบไปกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน ผ่านหน้าวัดพิชยญาติการาม ลอดผ่านถนนประชาธิปกเข้าพื้นที่เขตธนบุรี ผ่านข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไปบรรจบคลองบางไส้ไก่ซึ่งจะไปทะลุออกคลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง) ในบริเวณใกล้ ๆ กัน คลองสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบันมีความกว้างประมาณ 4-13 เมตร สภาพน้ำในคลองมีสีขุ่น
  17. คลองบางไส้ไก่ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางกอกใหญ่ ในอดีตถือเป็นคลองสำคัญสายหนึ่งในเขตธนบุรีและคลองสาน เป็นคลองขุดในสมัยโบราณ ก่อนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ ตัดกับคลองสมเด็จเจ้าพระยา ไหลลงมาตามแนวเฉียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยก่อนคลองนี้เคยมีชื่อเรียกกันว่า"คลองบางสักกาย" โดยตั้งชื่อคลองตามถิ่นฐานของชาวมอญในบริเวณปากคลองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งชาวมอญกลุ่มนี้มีชื่อกลุ่มว่า"มอญสักกาย" ต่อมาชื่อคลองมีการเรียกเพี้ยนตามยุคสมัย โดยเพียนมาเป็น บางสาวกลาย, บางสาวไก่, บางสายไก่ และบางไส้ไก่ตามลำดับ ส่งผลให้ชาวมอญที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณปากคลองในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อชุมชนเป็น"มอญบางไส้ไก่" คลองบางไส้ไก่ได้รับการประกาศให้เป็นคลองสายสำคัญซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ในอดีตเคยมีปลาอาศัยอยู่ในคลองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังเคยใช้สำหรับสัญจรทางน้ำ และยังเคยมีบริการล่องเรือท่องเที่ยวในคลองด้วย จึงทำให้คลองบางไส้ไก่เป็นคลองที่มีชื่อเสียงอีกคลองหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครได้ตรวจพบปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองบางไส้ไก่ จึงประกาศให้เรือทุกชนิดยุติการสัญจรทางน้ำในคลองบางไส้ไก่ทั้งหมด เพื่อดำเนินการย้ายปลาที่ยังอาศัยอยู่ในคลองออกไปปล่อยที่คลองบางกอกใหญ่และแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และได้ดำเนินการสร้างตลิ่งคอนกรีตรวมทั้งสร้างเขื่อนดาดท้องคลองเพื่อป้องกันตลิ่งคอนกรีตพังทลาย และทำให้คลองบางไส้ไก่ไม่เหลือสภาพเก่าให้เห็นอีกหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ ปัจจุบันคลองบางไส้ไก่มีความกว้างประมาณ 4-8 เมตร แม้ในปัจจุบันสภาพน้ำในคลองบางไส้ไก่โดยรวมจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และมีปลาบางส่วนหลงเข้ามาอาศัยอยู่ในคลอง แต่ยังต้องอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิดเรื่องปัญหาน้ำเน่าเสีย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียซ้ำซากอีก โดยมีการระบายน้ำออกจากคลองลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และสูบน้ำจากคลองบางกอกใหญ่เข้ามาในคลองบางไส้ไก่เป็นประจำทุกเดือน
  18. คลองบางลำภูล่าง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
  19. คลองต้นไทร จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่ เป็นคลองเล็กๆที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีบริเวณใกล้ๆกับสะพานตากสิน เป็นที่มาของชื่อแขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน คลองมีความกว้างประมาณ 6-10 เมตร ยาวประมาณ 400-600 เมตร ในอดีตคลองนี้สามารถไหลไปทะลุคลองบางไส้ไก้ได้ และยังเคยเป็นเกาะกลางของถนนกรุงธนบุรี แต่ในเวลาต่อมาได้มีการสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงเกาะกลางของถนนกรุงธนบุรี จึงเป็นผลทำให้คลองต้นไทรในส่วนที่อยู่ตรงเกาะกลางถนนถูกถมทิ้ง จนทำให้คลองต้นไทรมีระยะทางสั้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน สภาพน้ำในคลองช่วงต้นคลองสะอาด และมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยอยู่
  20. คลองบางน้ำชล ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางกอกใหญ่
  21. คลองบางสะแก จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองบางค้อ
  22. คลองบางค้อ จากคลองดาวคะนอง ถึงคลองด่าน
  23. คลองด่าน จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
  24. คลองสำเหร่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้ายไหลลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นหักไปทางทิศตะวันออก และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา คลองสำเหร่กว้างประมาณ 6-15 เมตร ในอดีตใช้สำหรับสัญจรทางน้ำ แต่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้สัญจรแล้ว
  25. คลองดาวคะนอง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ลอดผ่าน ถนนเจริญนคร และ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน บรรจบกับคลองบางขุนเทียน
  26. คลองบางหว้า จากคลองด่าน ถึงสุดเขตเทศบาล เป็นคลองที่แยกจากคลองบางจากฝั่งซ้าย บริเวณใกล้ ๆ กับวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ ไหลผ่านถนนเพชรเกษม ตัดกับคลองภาษีเจริญ ไหลผ่านถนนกัลปพฤกษ์เข้าสู่เขตจอมทองจากนั้นไหลผ่านวัดศาลาครืน วัดหนังราชวรวิหาร และวัดราชโอรสาราม ก่อนไปบรรจบกับคลองบางหลวงน้อย คลองบางหว้าในปัจจุบันมีความกว้างประมาณ 7-13 เมตร สภาพของน้ำในคลองสะอาด คลองนี้ในอดีตใช้สำหรับสัญจรทางน้ำ โดยสามารถสัญจรไปออกคลองสนามชัยและคลองดาวคะนองได้ เนื่องจากในละแวกนี้มีคลองสาขาที่แยกจากคลองใหญ่ๆหลายคลอง แต่ในปัจจุบันไม่มีการสัญจรทางน้ำแล้ว
  27. คลองภาษีเจริญ จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
  28. คลองบางจาก จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล โดยแยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้ายที่เขตภาษีเจริญ ไหลผ่านถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับคลองพระยาราชมนตรี เข้าสู่พื้นที่เขตบางแค จากนั้นไหลผ่านถนนกาญจนาภิเษก และถนนพุทธมณฑลสาย 2 ก่อนไปบรรจบคลองทวีวัฒนาที่เขตหนองแขม คลองบางจากมีความกว้างประมาณ 9-13 เมตร (ช่วงพื้นที่เขตภาษีเจริญ) และ 5-10 เมตร (ตั้งแต่ช่วงพื้นที่เขตบางแคเป็นต้นไป) สภาพน้ำในคลองช่วงที่ไหลผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญสะอาด แต่เมื่อผ่านตั้งแต่เขตบางแคเป็นต้นไปจึงเริ่มมีสภาพเน่าเสีย ปัจจุบันคลองบางจากยังสามารถใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำได้
  29. คลองวัดประดู่ จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองบางจาก เป็นคลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองบางจากกับคลองภาษีเจริญ แนวคลองขนานไปกับแนวถนนราชพฤกษ์ ลอดใต้ถนนเพชรเกษมบริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม จากนั้นไหลผ่านสถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้าบีทีเอส และสถานีสถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ก่อนไปออกคลองภาษีเจริญที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน คลองวัดประดู่เป็นคลองที่ชาวบ้านขุดขึ้นเพื่อใช้สัญจรทางน้ำ ไม่ใช่คลองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยสามารถสัญจรจากคลองบางจากไปออกคลองภาษีเจริญได้โดยตรง โดยไม่ต้องสัญจรไปทางคลองบางหว้าซึ่งต้องอ้อมและใช้เวลานาน คลองนี้ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าขุดเมื่อปีใด แต่คาดว่าน่าจะขุดขึ้นหลังจากคลองภาษีเจริญขุดแล้วเสร็จประมาณช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันสภาพน้ำในคลองเน่าเสียและไม่มีการสัญจรทางน้ำแล้ว เนื่องจากมีการสร้างทางเดินลอยฟ้า (Ska Walk) เหนือแนวคลองวัดประดู่ โดยสร้างเชื่อมระหว่างท่าน้ำเพชรเกษมที่คลองภาษีเจริญกับสถานีบางหว้าของรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
  30. คลองวัดปรก จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองด่าน
  31. คลองรางบัว จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองบางหว้า
  32. คลองวัดเพลง จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองวัดปรก
  33. คลองตาแผลง จากคลองด่าน ถึงคลองรางบัว
  34. คลองคูบัว หรือ คลองบัว เป็นคลองสายหนึ่งในละแวกเขตตลิ่งชัน โดยเริ่มแยกมาจากคลองบ้านไทรฝั่งเหนือ ไหลผ่านสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนสวนผัก ไปบรรจบกับคลองมหาสวัสดิ์
  35. คลองทวีวัฒนา เริ่มต้นจากคลองภาษีเจริญในรอยต่อเขตบางแคและเขตหนองแขม ขุดเป็นเส้นตรงไปในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเขตทวีวัฒนา ออกจากกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อยของจังหวัดนนทบุรี กับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐม ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำท่าจีนในเขตอำเภอบางเลน
  36. คลองบางแค เป็นคลองที่แยกออกจากคลองพระยาราชมนตรีบริเวณแขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร และไปสิ้นสุดที่บริเวณคลองทวีวัฒนาที่แขวงหนองแขม เขตหนองแขม คลองบางแคถือเป็นคลองที่เก่าแก่ที่ขุดขึ้นตั้งแต่อดีต ในอดีตคลองแห่งนี้ยังเคยใช้ในการค้าขาย แต่ปัจจุบันไม่มีการค้าขายแล้ว
  37. คลองบางคูเวียง เป็นคลองในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร และเป็นคลองที่แยกมาจากคลองบางกอกน้อยในท้องที่ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อผ่านท้องที่ตำบลปลายบางและตำบลศาลากลางมีชื่อเรียกว่า "คลองปลายบาง" จากนั้นตัดกับคลองมหาสวัสดิ์เข้าสู่ท้องที่แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา จากนั้นไหลไปในแนวตรง และไปสิ้นสุดที่คลองทวีวัฒนา คลองบางคูเวียงมีความกว้างตลอดสายประมาณ 5-13 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด ระบบนิเวศในคลองยังอยู่ในระดับดี ปัจจุบันมีการสัญจรทางน้ำเฉพาะในเขตจังหวัดนนทบุรีเท่านั้น
  38. คลองบางเชือกหนัง เป็นคลองสายสำคัญในพื้นที่เขตตลิ่งชัน เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา ไหลแยกจากคลองบางน้อยฝั่งซ้าย ไหลผ่านถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย 2 และถนนพุทธมณฑลสาย 3 ก่อนไปบรรจบกับคลองทวีวัฒนา คลองบางเชือกหนังมีความกว้างประมาณ 10-14 เมตร น้ำในคลองสะอาด ปัจจุบันใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำและการท่องเที่ยว
  39. คลองลัดวัดฉิม เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองบางเชือกหนังและคลองบางแวก โดยแยกมาจากคลองบางเชือกหนังฝั่งซ้าย ไหลลงมาทางทิศใต้ ผ่านคลองขี้หมูไหล และไหลลงมาเรื่อยๆ และไปออกคลองบางแวก คลองลัดวัดฉิมมีความกว้างประมาณ 8-12 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด ปัจจุบันยังคงมีการสัญจรทางน้ำในคลองอยู่บ้างประราย
  40. คลองบางด้วน เป็นคลองในละแวกแขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ โดยแยกจากคลองบางจาก บริเวณวัดจันทร์ประดิษฐาราม ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนไปบรรจบคลองพระยาราชมนตรี ปัจจุบันคลองบางด้วนมีกว้างประมาณ 6-13 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด ปัจจุบันยังมีชาวบ้านบางคนใช้เรือสัญจรไปมาในคลองอยู่บ้าง และยังมีการทอดแหจับปลาในคลองอยู่
  41. คลองบางบำหรุ เป็นคลองสายหนึ่งในเขตบางกอกน้อยและเขตบางพลัด แยกออกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา ไหลผ่านเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินธร ก่อนไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ คลองบางบำหรุมีความกว้างประมาณ 4-7 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย
  42. คลองบางพระครู เป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีในเขตบางพลัด ลำคลองไหลผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ แนวคลองขนานไปกับสำนักงานเขตบางพลัดจากนั้นลำคลองได้ไหลเข้าไปในชุมชนต่างๆ ไปจนสุดคลอง คลองบางพระครูมีความกว้างประมาณ 5 - 8 เมตร
  43. คลองบางยี่ขัน เป็นคลองสายหนึ่งที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านวัดอมรคีรี ถนนอรุณอมรินทร์ วัดน้อยนางหงส์ วัดบางยี่ขัน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ผ่านหลังเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า ก่อนบรรจบกับคลองบางบำหรุ คลองบางยี่ขันมีความกว้างประมาณ 5-9 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย ยกเว้นช่วงที่ไหลผ่านวัดน้อยนางหงษ์มีสภาพน้ำในคลองที่สะอาด และจุดนี้มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนมีบางคนเรียกว่า วังมัจฉา วัดน้อยนางหงษ์
  44. คลองผักหนาม หรือที่ในอดีตเรียกว่า คลองบางผักหนาม เป็นคลองที่แยกมาจากคลองบางกอกน้อย ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย จากนั้นไหลผ่านถนนบรมราชชนนี เข้าสู่เขตบางพลัด และไปบรรจบกับคลองบางยี่ขัน คลองผักหนามมีความกว้างประมาณ 5-7 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย
  45. คลองพระยาราชมนตรี หรือที่เรียกกันสั้น ๆ คือ คลองราชมนตรี เป็นคลองใช้สำหรับการระบายน้ำ การสัญจรทางน้ำ และการท่องเที่ยว โดยคลองนี้เป็นคลองที่ขุดโดยพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยขุดแยกจากคลองบางเชือกหนัง เชื่อมกับคลองสนามชัย ในเวลาต่อมาได้มีการขุดคลองภาษีเจริญตัดกับคลองนี้ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้การค้าขายและการคมนาคมสะดวกขึ้น โดยคลองพระยาราชมนตรีในปัจจุบันนี้มีความกว้างประมาณ 10-25 เมตร ระยะทางตั้งแต่คลองบางเชือกหนังถึงคลองสนามชัยประมาณ 15 กิโลเมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด สำหรับคลองนี้ถือเป็นคลองเก่าแก่ที่ควรอนุรักษ์ไว้สืบไป
  46. คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ลอดผ่านถนนราชพฤกษ์ ถนนบางแค ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร
  47. คลองมหาสวัสดิ์ หรือคลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่เริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวยหรือคลองบางกอกน้อย ใกล้วัดชัยพฤกษมาลา ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผ่านอำเภอพุทธมณฑล ไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
  48. คลองลัดมะยม เป็นคลองสายสำคัญอีกสายในเขตตลิ่งชัน ซึ่งใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำและการท่องเที่ยว โดยคลองดังกล่าวได้แยกมาจากคลองบ้านไทร ไหลลงมาทางทิศใต้ ตัดกับคลองบางระมาด คลองบางพรม คลองบางน้อย ก่อนไปสิ้นสุดที่คลองบางเชือกหนัง คลองลัดมะยมมีความกว้างประมาณ 5-9 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด เป็นที่ตั้งของตลาดน้ำคลองลัดมะยม ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงในเขตตลิ่งชัน และในปัจจุบันยังคงเปิดกิจการอยู่
  49. คลองวัดทอง หรือ คลองจักรทอง เป็นคลองสายหนึ่งในเขตบางกอกน้อย แยกออกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณข้างวัดสุวรรณาราม (วัดทอง) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดกับคลองบางขุนนนท์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับคลองวัดยาง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันตก (ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปเคยมีชื่อเรียกว่า คลองลัดบางขุนศรี ในอดีต) ก่อนจะไปบรรจบกับคลองชักพระ คลองนี้เคยมีข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกับสำนักงานเขตบางกอกน้อยในเรื่องของชื่อคลอง เนื่องจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนี้มักจะเรียกชื่อคลองนี้ว่า "คลองวัดทอง" ซึ่งชาวบ้านบางคนก็เรียกคลองนี้ในชื่อดังกล่าวเหมือนกัน แต่ป้ายแจ้งชื่อคลองระบุชื่อคลองว่า "คลองจักรทอง" จนเป็นที่มาของข้อพิพาทครั้งนี้ จนเมื่อปี พ.ศ. 2548 สำนักงานเขตบางกอกน้อย จึงได้เปลี่ยนป้ายแจ้งชื่อคลองเป็นคลองวัดทองตามคำเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการให้ชื่อคลองเป็นชื่อเดิมที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีต แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักคลองสายนี้ในชื่อ"คลองจักรทอง" ปัจจุบันลำคลองกว้างประมาณ 6-8 เมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำในคลองสีดำสนิทและเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
  50. คลองวัดยางสุทธาราม เป็นคลองแยกจากฝั่งขวาของคลองชักพระ ไหลผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ เข้าพื้นที่วัดยางสุทธาราม จากนั้นไหลขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปบรรจบคลองวัดทอง ลำคลองมีความกว้างเพียง 2-3 เมตร
  51. คลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
  52. คลองพระจุ้ย หรือ คลองผ้าลุ่ย เป็นคลองที่อยู่ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน โดยแยกมาจากคลองชักพระฝั่งซ้าย ไหลเข้ามาทางทิศตะวันตก จากนั้นหักลงไปทางทิศใต้ และไปออกคลองบางน้อย คลองพระจุ้ยมีความกว้งประมาณ 3-8 เมตร
  53. คลองขุด ในเขตทวีวัฒนา เป็นคลองขุดขึ้นในอดีต แยกมาจากคลองบางคูเวียง ลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านถนนบรมราชชนนี ถนนอุทยาน ไปจดคลองบางพรม คลองขุดเป็นคลองที่ไม่ทราบว่าขุดในสมัยใดและปีใด แต่ไม่มีการตั้งชื่อคลองในเบื้องแรก ในเวลาต่อมาชาวบ้านในละแวกนี้เห็นว่าคลองนี้ไม่มีชื่อ จึงเรียกว่า "คลองขุด" คลองสายนี้มีความกว้างประมาณ 7-12 เมตร
  54. คลองบางปะแก้ว เป็นคลองในพื้นที่เขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ไหลผ่านถนนราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ก่อนไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองยายจำปีและคลองลัดขี้เหล็ก คลองบางปะแก้วมีความกว้างประมาณ 12 - 19 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด ในอดีตใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำและใช้สำหรับอุปโภคบริโภค