ความคุ้มกันทางทูต

ความคุ้มกันทางทูต[1] หรือ ความคุ้มกันทางการทูต (อังกฤษ: diplomatic immunity) เป็นความคุ้มกันทางกฎหมายประเภทหนึ่งที่มีให้แก่ผู้แทนทางทูต เอกสิทธิ์นี้เป็นการรับประกันว่าผู้แทนเหล่านั้นอยู่พ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและอำนาจศาลของประเทศผู้ให้ความคุ้มกัน (หรือเรียกว่า "รัฐผู้รับ") อย่างไรก็ตาม ความคุ้มกันนี้ไม่ครอบคลุมถึงการถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ประเทศผู้ให้ความคุ้มกันมีสิทธิเด็ดขาดที่จะเนรเทศผู้แทนทางทูตใด ๆ ออกจากประเทศของตนได้ตามเห็นสมควร ความคุ้มกันทางทูตได้รับการจัดหมวดเป็นกฎหมายระหว่างประเทศตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 ซึ่งทุกประเทศในโลกได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้ อย่างไรก็ตามพบว่าในบางภูมิภาค หลักความคุ้มกันทางทูตมีประวัติศาสตร์ย้อนไปยาวนานกว่านั้นนับพันปีความคุ้มกันทางทูตเริ่มปรากฎขึ้นในยุโรปยุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อนักการทูตยุโรปต่างตระหนักว่าความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในปีค.ศ. 1709 รัฐสภาอังกฤษได้ให้ความคุ้มกันทางทูตแก่ชาวต่างประเทศเป็นครั้งแรก นั่นก็คือเคานต์อังเดร มาเตรียฟ (Andrey Matveyev) ทูตจากรัสเซีย

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต