ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์

ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ (อังกฤษ: sovereign immunity) หรือ ความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: crown immunity) เป็นความคิดทางกฎหมายว่าองค์อธิปัตย์หรือรัฐ ไม่สามารถกระทำผิดกฎหมายได้ และมีความคุ้มกันต่อการฟ้องคดีแพ่งหรืออาญา ภายในเขตอำนาจศาลของตัวเอง สำหรับกฎทำนองเดียวกันที่เข้มกว่า ว่าด้วยศาลต่างดินแดน เรียกว่าความคุ้มกันแห่งรัฐ (อังกฤษ: state immunity)ในความหมายเก่า ความคุ้มกันที่ให้แก่พระมหากษัตริย์เป็นหลักการที่มาดั้งเดิมของความคุ้มกันแห่งรัฐที่อาศัยมโนทัศน์คลาสสิกอำนาจอธิปไตยในแง่ที่ว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลอื่นโดยปราศจากความยินยอมของผู้นั้นความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์แบ่งได้เป็นสองรูปแบบความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์ของรัฐหนึ่งสามารถสละได้ โดยในประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นจุดกำเนิดตามประวัติศาสตร์ของอำนาจหน้าที่ซึ่งสร้างศาลขึ้นมา กฎนี้แสดงออกทั่วไปในภาษิตกฎหมาย rex non potest peccare หมายถึง พระมหากษัตริย์จะทรงกระทำผิดไม่ได้ (the king can do no wrong)[1]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต