ตามประเทศ ของ ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์

จีน

สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอย่างสม่ำเสมอว่า หลักการพื้นฐานข้อหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น มีเพื่อให้รัฐทั้งหลาย รวมไปถึงทรัยพ์สินของรัฐเหล่านั้น ได้มีความคุ้มกันองค์อธิปัตย์โดยสมบูรณ์ (absolute sovereign immunity) จีนต่อต้านการคุ้มกันองค์อธิปัตย์แบบมีข้อจำกัด (restrictive sovereign immunity) จีนยืนยันว่ารัฐหนึ่งอาจสละความคุ้มกันของตนได้ด้วยการประกาศโดยสมัครใจ แต่หากมีกรณีที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงในคดีความ (เช่น การประท้วง) กรณีดังกล่าวจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นการสละการคุ้มกัน[2] เคยมีกรณีที่บริษัทของจีนที่มีรัฐเป็นเจ้าของและถือว่ามีความสำคัญต่อกิจการของรัฐ ได้อ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ ในคดีความที่บริษัทเหล่านั้นถูกฟ้องในศาลต่างประเทศ มุมมองของจีนต่อเรื่องนี้คือ ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์เป็นสิทธิและประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่องคาพยพของจีนมีหน้าที่จะปกป้องรักษา[3] ตัวอย่างของบริษัทของจีนที่รัฐเป็นเจ้าของที่เคยอ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ เช่น วิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน (Aviation Industry Corporation of China - AVIC) และบรรษัทวัสดุก่อสร้างแห่งชาติจีน (China National Building Materia)[4]

สิงคโปร์

ในประเทศสิงคโปร์ ความคุ้มกันแห่งรัฐถูกประมวลบัญญัติไว้ State Immunity Act of 1979 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ State Immunity Act 1978 ของสหราชอาณาจักร

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต