ตัวอย่าง ของ ความจริงครึ่งเดียว

  • "คุณไม่ควรเชื่อใจปีเตอร์ที่จะฝากลูกของคุณให้เขาดูแล วันก่อนฉันเห็นปีเตอร์ทุบตีเด็กคนหนึ่งด้วยมือเปล่า" ในตัวอย่างนี้คำแถลงก็อาจจะเป็นจริง แต่ปีเตอร์อาจจะทุบตีที่หลังของเด็กก็เพราะว่าเด็กกำลังสำลัก
  • "ผมเป็นคนขับรถที่ดีจริง ๆ ในสามสิบปีที่ผ่านมา ผมได้ใบสั่งความเร็วเกินกำหนดเพียงสี่ครั้งเท่านั้น" คำแถลงเป็นจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องหากผู้พูดเพิ่งจะเริ่มขับรถเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • หลังจากถูกโบกให้จอดเพราะขับรถขณะเมาสุรา คนขับรถที่มึนเมาพูดคละละเลือนว่า "ผมดวดเบียร์แค่สองเท่านั้นเอง" คนขับรถอาจจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างอื่นนอกจากเบียร์อีกก็ได้ และภาชนะบรรจุเบียร์อาจจะใหญ่กว่ากระป๋อง ขวด หรือแก้วขนาดปกติทั่วไปก็ได้
  • นิทานคลาสสิกอย่างเรื่องตาบอดคลำช้าง คนตาบอดแต่ละคนลูบคลำส่วนต่าง ๆ ของช้าง แล้วได้ผลสรุปว่าช้างมีรูปร่างอย่างไรแตกต่างกัน ในขณะที่ประสบการณ์เรื่องช้างของแต่ละคนเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีใครเข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงธรรมชาติของสัตว์นี้ คนหนึ่งลูบคลำที่หางและเชื่อว่าช้างมีรูปร่างยาวและผอม อีกคนหนึ่งลูกคลำที่ท้องและเชื่อว่าช้างมีรูปร่างกลมและใหญ่ เป็นต้น
  • "ทวิวิภาคเท็จ" (false dichotomy) คือเหตุผลวิบัติรูปนัยของทวิบถเท็จ (false dilemma) ซึ่งอาจรู้จักในชื่อ ทางเลือกเท็จ (false choice), ทวิบถปลอมแปลง (falsified dilemma), เหตุผลวิบัติแห่งนิรมัชฌิม (fallacy of the excluded middle), ความคิดเรื่องดำกับขาว (black and white thinking), สหสัมพัทธ์เท็จ (false correlative), เหตุผลวิบัติแบบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (either/or fallacy) และการแยกสองง่าม (bifurcation) เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ทำให้ตัวเลือกที่เป็นไปได้ มีเพียงคำแถลงทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงมีตัวเลือกอย่างอื่นอีกหนึ่งทางขึ้นไป แต่ไม่ได้นำมาพิจารณาหรือนำเสนอให้ผู้รับฟังทราบ

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ