การเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ของ ความจำ

งานวิจัยปี ค.ศ. 2006 ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิสที่พิมพ์ในวารสาร American Journal of Geriatric Psychiatry (วารสารจิตเวชผู้สูงอายุอเมริกัน) พบว่าเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบประชานและสมองโดยเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างง่าย ๆ เช่นการฝึกหัดความจำ การทานอาหารสุขภาพ การรักษาร่างกายให้แข็งแรง และการบริหารความเครียดในงานทดลองนี้ มีการตรวจสอบผู้ร่วมการทดลอง 17 คนโดยมีอายุเฉลี่ย 53 ปี มีประสิทธิภาพความจำเป็นปกติมีการให้ผู้ร่วมการทดลอง 8 คนทานอาหารที่ดีต่อสมอง (brain healthy) ฝึกการผ่อนคลาย ออกกำลังกาย ฝึกจิต (ซึ่งเป็นเทคนิคฝึกสมองและความจำเกี่ยวกับภาษา)หลังจากนั้น 14 วัน ผู้ร่วมการทดลองสามารถใช้คำได้คล่องขึ้น (word fluency) เทียบกับความสามารถที่ได้วัดมาก่อน แต่ไม่มีการวัดผลติดตามในระยะยาว ดังนั้น จึงยังไม่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงชีวิตเช่นนี้มีผลระยะยาวต่อความจำหรือไม่[79]

มีหลักและเทคนิคช่วยจำที่มีความสัมพันธ์กันกลุ่มหนึ่ง (ที่เรียกว่า Art of memory ศิลปะความทรงจำ)ที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทรงจำ เช่น ในปี ค.ศ. 2001 International Longevity Center (ศูนย์อายุยืนสากล) พิมพ์รายงาน[80] ที่ในหน้า 14-16 ให้คำแนะนำวิธีการรักษาสมรรถภาพทางใจให้ดีจนกระทั่งถึงวัยชราข้อแนะนำรวมทั้ง การใช้สมองโดยการเรียน การฝึกสมองหรือการอ่านหนังสือการมีวิถีชีวิตที่แอ๊กถีฟเพื่อสนับสนุนการหมุนเวียนของเลือดในสมอง การเข้าสังคม การลดความเครียดการนอนเป็นเวลา การหลีกเลี่ยงภาวะเศร้าซึมหรือการมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ และการทานอาหารสุขภาพ

ระดับการประมวลผล

ในปี ค.ศ. 1972 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งเสนอว่า วิธีการจำและระดับการประมวลผลเพื่อที่จะจำเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการเก็บประสบการณ์ไว้ในความจำ ไม่ใช่การฝึกซ้อม (rehearsal) ข้อมูลนั้นบ่อย ๆ คือ

  • การจัดระเบียบ (organization) ในปี ค.ศ. 1967 มีการให้ไพ่คำศัพท์ตลับหนึ่งแก่ผู้ร่วมการทดลองแล้วให้ผู้ร่วมการทดลองจัดไพ่เป็นกอง ๆ โดยใช้วิธีจัดระเบียบตามความชอบใจ ภายหลังเมื่อให้ผู้รับการทดลองระลึกถึงคำให้มากที่สุดเท่าที่จะจำได้ พวกที่มีจำนวนหมวดการจัดที่มากกว่าสามารถจำคำได้มากกว่า งานวิจัยนี้บอกเป็นนัยว่า การจัดระเบียบความจำเป็นองค์ประกอบของประสิทธิภาพของความจำอย่างหนึ่ง (Mandler, 2011)
  • ความพิเศษ (distinctiveness) ในปี ค.ศ. 1980 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองกล่าวคำต่าง ๆ โดยวิธีที่ไม่ให้เหมือนคำอื่น ๆ เช่นให้สะกดคำต่าง ๆ ดัง ๆ ผู้ร่วมการทดลองที่ทำเช่นนี้สามารถจำคำได้ดีกว่าคนที่เพียงแค่อ่านคำเหล่านั้นจากรายการ
  • ความพยายาม (effort) ในปี ค.ศ. 1979 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองแก้ปริศนาคำสลับอักษร บางคำง่าย (เช่น FAHTER ให้เป็น FATHER) และบางคำยาก (เช่น HREFAT) ผู้ร่วมการทดลองจำคำที่แก้ได้ยากได้ดีกว่า เพราะเชื่อว่าต้องทำความพยายามมากกว่า
  • การเพิ่มรายละเอียด (elaboration) ในปี ค.ศ. 1983 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านวรรคต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศในทวีปอัฟริกาที่ไม่มีจริงประเทศหนึ่ง มีวรรคที่มีข้อความสั้น ๆ และมีวรรคที่กล่าวรายละเอียดของประเด็นในวรรคนั้น วรรคที่ประกอบด้วยรายละเอียดมีการระลึกถึงได้ดีกว่า

วิธีที่ช่วยการท่องจำ

การท่องจำเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้ที่ยังให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลได้คำต่อคำปรากฏการณ์เว้นระยะ (spacing effect) แสดงว่าเรามักจะจำรายการสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าถ้าท่องจำแล้วเว้นระยะ ทำซ้ำ ๆ กันเป็นช่วงระยะเวลายาวเปรียบเทียบวิธีนี้กับการพยายามจำเนื้อความเป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาสั้น ๆปรากฏการณ์ที่เข้าประเด็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ Zeigarnik effect ซึ่งแสดงว่า เราจำงานที่ยังไม่เสร็จหรือที่เกิดการขัดจังหวะได้ดีกว่างานที่เสร็จแล้วส่วนวิธี Method of loci (การจินตนาการเส้นทางที่คุ้นเคยแล้ววางสิ่งที่ต้องการจะจำไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นจุดเด่น) เป็นการใช้ความจำทางพื้นที่เพื่อจะจำข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่[81]

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจำเสื่อม ความจำเพาะ ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย ความสำส่อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความจำ http://journals2.scholarsportal.info.myaccess.libr... http://psychology.about.com/od/aindex/g/amygdala.h... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/438701/p... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/493353/r... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/493614/r... http://abcnews.go.com/Health/Wellness/researchers-... http://www.newscientist.com/channel/being-human/mg... http://www.reuters.com/article/2007/03/12/us-memor... http://www.sinauer.com/bouton/glossary.html#Habitu... http://link.springer.com/article/10.3758%2FBF03198...