ความเชี่ยวชาญ ของ ความจำเชิงกระบวนวิธี

ความใส่ใจ

มีองค์ประกอบหลายอย่างที่มีบทบาทในการทำงานให้ดี คือ

  • มีความจำดี (memory capacities)[22][23]
  • การจัดระเบียบของความรู้ (knowledge structures)[24]
  • ความสามารถในการแก้ปัญหา[25]
  • ทักษะในการใส่ใจ[26]

แม้ว่าทุกองค์ประกอบจะสำคัญ แต่องค์แต่ละองค์จะสำคัญไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับกระบวนวิธีและทักษะที่ต้องใช้ สิ่งแวดล้อม และเป้าหมายของการกระทำโดยใช้องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ในการเปรียบเทียบผู้เชี่ยวชาญกับมือสมัครเล่นทั้งในเรื่องทักษะทางประชานและทักษะทางการรับรู้-การเคลื่อนไหว (sensorimotor) นักวิจัยได้ทำความเข้าใจใหม่ ๆ เป็นอันมากว่า องค์ประกอบอะไรทำให้ผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญ และองค์ประกอบอะไรที่มือสมัครเล่นไม่มี

หลักฐานบอกเป็นนัยว่า สิ่งที่มักจะมองข้ามเกี่ยวกับเรื่องความชำนาญของทักษะ ก็คือกลไกความใส่ใจในการใช้ความจำเชิงกระบวนวิธีที่มีประสิทธิภาพในเวลาที่กำลังทำกิจด้วยทักษะนั้นอยู่ผลงานวิจัยบอกเป็นนัยว่า ในระยะต้น ๆ ของการเรียนรู้ทักษะใหม่ การปฏิบัติการจะเป็นไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่อยู่ในความจำใช้งาน และแต่ละขั้นตอนจะได้รับการใส่ใจทีละขั้นตอน ๆ[27][28][29] ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความใส่ใจเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดดังนั้น กระบวนการควบคุมที่ทำไปตามขั้นตอนอย่างนี้ ต้องใช้สมรรถภาพของระบบการใส่ใจซึ่งลดความสามารถของผู้กระทำที่จะโฟกั้สที่จุดอื่น ๆ ของการทำงานนั้นเช่นการตัดสินใจ ทักษะเคลื่อนไหวที่ละเอียด การตรวจดูพละกำลังของตน และการมองงานโดยภาพรวมแต่ว่า เมื่อเกิดการฝึกบ่อย ๆ ความรู้เชิงกระบวนวิธีก็จะเจริญขึ้น ทำให้สามารถทำงานโดยไม่ต้องใช้ความจำใช้งาน และดังนั้นทักษะจึงทำงานไปได้โดยอัตโนมัติ[28][30]และนี่เป็นผลดีต่อประสิทธิภาพของการทำงานโดยองค์รวมคือเพราะว่าไม่ต้องใส่ใจหรือคอยตรวจเช็คทักษะการทำงานขั้นพื้นฐานดังนั้นจึงสามารถทำความใส่ใจในกระบวนการอื่น ๆ ได้เพิ่มยิ่งขึ้น[26]

ทักษะเสื่อมใต้ความกดดัน

เป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า ทักษะที่มีการฝึกหัดในระดับสูงเป็นทักษะที่มีการปฏิบัตการอย่างอัตโนมัติเป็นทักษะที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความจำเป็น ที่รับการสนับสนุนโดยความจำเชิงกระบวนวิธีโดยแทบไม่ต้องมีความใส่ใจและโดยทำงานเป็นอิสระจากความจำใช้งาน (working memory)[31]

แต่ว่าผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญอย่างยิ่งบางครั้งก็ยังสามารถทำการผิดพลาดได้ในสถานการณ์ที่มีความกดดันสูงปรากฏการณ์นี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า "choking" (แปลว่า การสำลัก เป็นคำอุปมาใช้แสดงการทำกิจอย่างย่ำแย่ภายใต้แรงกดดัน ทำในลักษณะที่ไม่น่าเป็นไปได้เพราะเหตุที่ได้ฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี)และเป็นตัวอย่างยกเว้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฏธรรมชาติโดยรวม ๆ อย่างหนึ่งว่า ทักษะที่ฝึกมาอย่างดีแล้วจะทนทานต่อความเสื่อมได้ใต้สถานการณ์ต่าง ๆ มากมาย[32]

แม้ว่ายังไม่เข้าใจกันดี แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า เหตุของปรากฏการณ์นี้ก็คือความกดดันเพื่อจะทำให้ดีซึ่งมีการกำหนดว่า เป็นความต้องการที่ประกอบด้วยความวิตกกังวลที่จะทำการให้ได้ดีเยี่ยมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ[32] ปรากฏการณ์นี้มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะการเคลื่อนไหวและตัวอย่างที่สามัญที่สุดที่เห็นได้จริง ๆ อยู่ในวงกีฬาคือ นักกีฬาระดับโปรที่ฝึกมาอย่างดีแล้วกลับเกิดการกระทำพลิกล็อกภายใต้ความกดดันคือทำกิจนั้น ๆ แย่จนกระทั่งว่า ขณะนั้นเหมือนกับมือสมัครเล่นแต่ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้นได้ในทักษะรูปแบบอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถทางประชาน ทางภาษา หรือทางการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนอื่น ๆ

มีทฤษฎี "เพ่งเล็งตน" (Self-focus) ต่าง ๆ ที่บอกเป็นนัยว่า ความกดดันจะเพิ่มความวิตกกังวลและความสำนึกตน (self-consciousness) ในการที่จะทำกิจให้ถูกต้องซึ่งเพิ่มระดับความใส่ใจที่ให้กับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจนั้น ๆ[32] และความใส่ใจในวิธีเป็นขั้นเป็นตอนนี้แหละที่เข้าไปรบกวนทักษะที่ฝึกมาอย่างดีแล้วที่กลายเป็นการกระทำอัตโนมัติไปแล้วทำให้สิ่งที่ก่อนหน้านี้ไม่ต้องใช้ความพยายามไม่ต้องจงใจเพื่อที่จะระลึกถึงวิธีการปฏิบัติในความจำเชิงกระบวนวิธี กลายเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างช้า ๆ ที่ต้องทำโดยเจตนา[33][34][30][35]

มีหลักฐานที่แสดงว่า ทักษะยิ่งกลายเป็นกระบวนการอัตโนมัติเท่าไร ก็จะยิ่งทนทานต่อสิ่งรบกวน ต่อความกดดันที่จะทำให้ดี และต่อปรากฏการณ์ choking ยิ่งขึ้นเท่านั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีมีเสถียรภาพของที่เหนือกว่าความจำอาศัยเหตุการณ์นอกจากการฝึกซ้อมเพื่อให้เกิดความเป็นไปโดยอัตโนมัติของทักษะแล้วการฝึกบริหาร self-consciousness (ความสำนึกว่าตนเป็นเป้าหมายความสนใจของผู้อื่นที่ทำให้เกิดความประหม่า[36]) ก็จะช่วยในการลดปรากฏการณ์ choking ในสถานการณ์ที่กดดันอีกด้วย[32]

การทำกิจได้ดีตอบสนองต่อเหตุการณ์กดดัน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ภาวะเสียความจำที่เกิดจากความเชี่ยวชาญ

ปรากฏการณ์นี้มีฐานในสมมติฐานว่า การลดระดับหรือการเปลี่ยนเป้าหมายความใส่ใจในเรื่องที่กำลังมีการเข้ารหัสและเก็บไว้ในความจำจะลดทั้งคุณภาพและปริมาณของสิ่งที่จำได้ ในความจำชัดแจ้งที่บอกให้ผู้อื่นรู้ได้ดังนั้น ถ้าทักษะที่ฝึกมาอย่างดีแล้วอยู่ในรูปแบบของความจำเชิงกระบวนวิธี และการค้นคืนเพื่อทำการปฏิบัติภายหลังเกิดขึ้นโดยจิตใต้สำนึก (ไม่ได้อยู่ในความควบคุม) และเป็นกระบวนการอัตโนมัติก็ควรจะมีหลักฐานแสดงว่า การระลึกได้โดยชัดแจ้งถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่างที่มีการปฏิบัติการโดยอัตโนมัติจะลดระดับลง[32]

ซิดนี่ย์ ครอสบี้ในเมืองแวนคูเวอร์เล่นฮอกกี้น้ำแข็งเพื่อทีมแคแนดา

มีตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้หลังจากเกมที่นายซิดนี่ย์ ครอสบี้ยิงประตูสหรัฐในช่วงนอกเวลาได้ มีผลให้ทีมแคแนดาชนะเหรียญทองกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งในงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2010นักข่าวคนหนึ่งได้ทำการสัมภาษณ์ครอสบี้ขณะยังอยู่บนลานน้ำแข็ง โดยเริ่มต้นว่า“ซิด ถ้าเป็นไปได้ บอกหน่อยว่ายิงเข้าโกล์ได้อย่างไร”ส่วนครอสบี้ตอบว่า “ผมจำไม่ค่อยได้หรอก ผมก็ยิงประตูนั่นแหละ น่าจะจากแถว ๆ นี้ ผมจำได้แค่นี้แหละ..."[37]มีข่าวว่า มีชาวแคแนดาถึง 16.6 ล้านคนที่ดูการยิงประตูของครอสบี้และน่าจะเป็นจริงว่า คนแคแนดาส่วนมากจะสามารถจำรายละเอียดเหตุการณ์นี้ได้อย่างง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ตัวครอสบี้เองเพราะว่า เขาตกอยู่ในภาวะของระบบอัตโนมัติจนกระทั่งว่า เกิดการระงับสมรรถภาพในความจำชัดแจ้งของเขา

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความจำเชิงกระบวนวิธี http://149.142.158.188/phenowiki/wiki/index.php/Pu... http://hitthepost.blogspot.com/2010_02_01_archive.... http://peblblog.blogspot.com/2010/04/pursuit-rotor... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://web.archive.org/web/20130927220537/http://1... http://www.cognitiveatlas.org http://learnmem.cshlp.org/content/1/2/106.full.pdf... //doi.org/10.1101%2Flm.1.2.106 //dx.doi.org/10.1016%2F0010-0285(87)90002-8