การทดสอบ ของ ความจำเชิงกระบวนวิธี

Pursuit rotor task

อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาทักษะการเคลื่อนไหวโดยใช้ตา (visual-motor tracking skill) และการประสานงานระหว่างตาและมือ (hand-eye coordination) จะให้ผู้รับการทดสอบติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์โดยใช้ตัวชี้ตำแหน่ง[9]หรือติดตามจุดที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนแท่นหมุน (คล้ายกับเครื่องเล่นแผ่นเสียง) ด้วยตัวระบุตำแหน่ง[10][11]รูปที่แสดงด้านล่างนี้เป็นรูปแบบการทดสอบบนคอมพิวเตอร์ที่ผู้รับการทดสอบติดตามจุดที่วิ่งเป็นวงกลม[11]

รูปถ่ายจอคอมพิวเตอร์แสดง pursuit rotor task.

pursuit rotor task เป็นการทดสอบการติดตามที่ใช้ตา-การเคลื่อนไหวมือ ที่ปกติคนวัยเดียวกันจะมีผลใกล้เคียงกัน[12] เป็นการทดสอบที่วัดความจำเชิงกระบวนวิธีและทักษะการเคลื่อนไหวแบบละเอียด (fine-motor skills)เป็นการทดสอบทักษะการเคลื่อนไหวแบบละเอียดที่ควบคุมโดยคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ที่แสดงเป็นส่วนสีเขียวในรูปข้างล่าง[13]

ผลที่ได้เป็นคะแนนรวม อาศัยการวัดเวลาที่ผู้รับการตรวจสอบสามารถติดตามและไม่สามารถติดตามวัตถุเป้าหมายคนไข้ภาวะเสียความจำจะมีคะแนนปกติสำหรับงานทดสอบนี้เมื่อทำซ้ำ ๆ กันแต่การนอนไม่พอหรือการใช้ยาอาจมีผลต่อการทดสอบนี้[14]

Serial reaction time task

Serial reaction time (SRT) เป็นงานที่ใช้วัดการเรียนรู้โดยปริยาย (implicit learning)[15] ในงาน SRT ผู้ร่วมการทดลองจะต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีจำกัดซึ่งเป็นตัวช่วย (cue) ชี้ว่า ต้องตอบสนองอย่างไร (เช่น จะต้องกดปุ่มไหน).โดยที่ผู้ร่วมการทดลองไม่รู้ จะมีความน่าจะเป็นสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (เช่นจุดแสงบนจอคอมพิวเตอร์) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งเร้าที่จะปรากฏต่อไป จากสิ่งเร้าหนึ่งไปสู่อีกสิ่งเร้าหนึ่ง และดังนั้น สิ่งเร้าที่จะปรากฏต่อไปสามารถจะพยากรณ์ได้โดยความน่าจะเป็นและดังนั้น การตอบสนอง (reaction time) ของผู้รับการทดสอบจะเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าผู้ร่วมการทดลองเกิดการเรียนรู้และใช้ความน่าจะเป็น (โดยไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) จากสิ่งเร้าไปสู่สิ่งเร้า[16]

กล่าวอีกอย่างหนึ่ง งานนี้ให้ผู้รับการตรวจสอบเรียนทักษะที่ประเมินความจำเชิงกระบวนวิธีอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ[17] ทักษะจะมีการวัดโดยความเร็วและความแม่นยำในการเรียนรู้และโดยช่วงเวลาที่ทักษะดำรงรักษาไว้ได้คนไข้โรคอัลไซเมอร์และภาวะเสียความจำสามารถรักษาทักษะไว้ได้ในระยะยาวซึ่งแสดงว่า สามารถที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และสามารถใช้ทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อรับการทดสอบภายหลังการเรียนรู้[18]

การวาดรูปโดยมองในกระจก

งาน "การวาดรูปโดยมองในกระจก" (Mirror tracing task) ทดสอบการประสานข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยเฉพาะคือเป็นการทดสอบการเคลื่อนไหวโดยใช้ตา ที่ผู้รับการทดสอบเรียนทักษะใหม่ที่เกี่ยวกับการประสานตาและมือ[13] งานทดลองนี้เป็นแบบทดลองแรกที่แสดงหลักฐาน (ในนายเฮ็นรี่ โมไลสัน) ว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีนั้นมีอยู่ต่างหากจากความจำชัดแจ้ง เพราะว่า คนไข้เสียความจำสามารถเรียนรู้และรักษาทักษะใหม่ไว้ได้การวาดภาพนั้นเป็นงานที่ความจำเชิงกระบวนวิธีมีบทบาทดังนั้น เมื่อเราได้ฝึกการวาดภาพโดยมองในกระจกเป็นครั้งแรกแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาในการทำอย่างนั้นอีกเป็นครั้งที่สองแม้ว่าคนไข้โรคอัลไซเมอร์จะจำไม่ได้ว่าเคยฝึกงานนี้แล้วแต่ก็จะมีประสิทธิภาพในการวาดภาพ (ที่พบในการวาดในครั้งต่อ ๆ ไป) ที่เป็นปกติ[18]

งานพยากรณ์อากาศ

งานนี้แม้จะเป็นงานเรียนรู้โดยความน่าจะเป็น แต่ก็มีการให้ผู้ร่วมการทดลองแสดงด้วยว่า ใช้อะไรเป็นกลยุทธ์ในการไขปัญหาคือเป็นงานที่อาศัยประชานแต่เกิดการเรียนรู้โดยกระบวนวิธี[18]เป็นงานที่ใช้สิ่งเร้าหลายแบบ (เช่นรูปร่างและสี) โดยมีการให้ไพ่พยากรณ์อากาศชุดหนึ่งกับผู้ร่วมการทดลอง ที่ประกอบด้วยรูปร่างและสีต่าง ๆ ซึ่งผู้ร่วมการทดลองต้องอาศัยในการพยากรณ์อากาศ[19]หลังจากผู้ร่วมการทดลองทำการพยากรณ์ก็จะได้รับข้อมูลป้อนกลับ (ว่าถูกผิดแค่ไหน) แล้วก็ให้ทำการจัดประเภทอาศัยข้อมูลป้อนกลับนั้น[20] ยกตัวอย่างเช่น จะแสดงไพ่ชุดหนึ่งให้กับผู้ร่วมการทดลองเพื่อให้พยากรณ์ว่าชุดที่ให้นั้นแสดงว่าจะมีอากาศดีหรือไม่ดีผลอากาศจะเป็นอย่างไรจะเป็นไปตามกฏความน่าจะเป็นที่อาศัยไพ่แต่ละแผ่นผลงานวิจัยพบว่า คนไข้ภาวะเสียความจำสามารถเรียนรู้งานนี้ (คือยังมีการเรียนรู้โดยกระบวนวิธี) แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรียนรู้ในช่วงหลัง ๆ (ที่มีการเรียนรู้เกิน ~50 ครั้ง[21]) เทียบกับกลุ่มควบคุม[20]

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความจำเชิงกระบวนวิธี http://149.142.158.188/phenowiki/wiki/index.php/Pu... http://hitthepost.blogspot.com/2010_02_01_archive.... http://peblblog.blogspot.com/2010/04/pursuit-rotor... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://web.archive.org/web/20130927220537/http://1... http://www.cognitiveatlas.org http://learnmem.cshlp.org/content/1/2/106.full.pdf... //doi.org/10.1101%2Flm.1.2.106 //dx.doi.org/10.1016%2F0010-0285(87)90002-8