การจำแนกประเภท ของ ความดันโลหิตสูงวิกฤต

ความดันโลหิตสูงวิกฤตแบ่งเป็น 2 ชนิด

Hypertensive urgency

ภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤต แต่ยังไม่พบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หลอดเลือด หัวใจ ไต ตา ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ทั้งที่ไม่มีอาการแสดง และมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง (รับประทานยาบรรเทาปวด ยังไม่รู้สึกดีขึ้น) คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล หายใจถี่ เจ็บบริเวณหน้าอก โดยทั่วไปพบระดับความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 mmHg ภาวะนี้ต้องเร่งรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงไปทำลายอวัยวะสำคัญ

Hypertensive emergency

ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤต และพบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ภาวะที่ความดันโลหิตสูงมากทำให้ เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด ชัก สับสน ที่หัวใจเกิด หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว น้ำคั่งในปอด ไตวาย และ ความดันในลูกตาสูง โดยทั่วไปพบระดับความดันโลหิตสูงกว่า 220/140 mmHg ต้องรีบรักษาโดยเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

CategorySystolic (mmHg)Diastolic (mmHg)
optimal<120<80
Normal<130<85
High Normal130-13985-89
Grade 1 (mild)140-15990-99
Grade 2 (moderate)160-179100-109
Grade 3 (Severe)>180>110
Isolated systolic HTN>140<90

ใกล้เคียง

ความดันโลหิตสูง ความดัน ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ ความดันเลือด ความดันโลหิตสูงวิกฤต ความดันโลหิตต่ำ ความดันรังสี ความดันโลหิตในปอดสูง ความดันไอของธาตุ (หน้าข้อมูล) ความดันไอ