พม่า ของ ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี จะปรากฏในรูปของความขัดแย้ง การทำสงคราม โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราช ต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัยเพราะยุทธภูมิของเราได้เปรียบเป็นอย่างมาก


ความขัดแย้งนั้น เกิดขึ้นตลอดรัชกาล โดยเริ่มจากการรบครั้งแรกที่โพธิ์สามต้นเป็นต้นไปรวม 10 ครั้ง

เป็นการรบกับพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ก่อนหน้าที่จะสถาปนากรุงธนบุรี ไทยชนะ

เป็นการรบพม่ากันที่บางกุ้ง เขตแดนระหว่างเมืองสมุทรสงครามกับราชบุรี ไทยสามารถขับพม่าออกไปได้

รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมืองสวรรคโลก ไทยสามารถตีแตกไปได้

เป็นการรบกับพม่าเมื่อฝ่ายไทยยกไปตีนครเชียงใหม่ครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดเสบียง

รบกับพม่าเมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัยครั้งแรก โปสุพลา แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองเวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง ขากลับแวะตีเมืองพิชัย แต่ไม่สำเร็จ ไทยชนะ

พม่ายกมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2 แต่พม่าตีไม่สำเร็จ พระยาพิชัย ได้วีรกรรม พระยาพิชัยดาบหัก

รบกับพม่าเมื่อไทยยกไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า กองทัพไทยชนะ ยึดนครเชียงใหม่กลับจากพม่าได้ เพราะชาวล้านนาออกมาสวามิภักดิ์กับไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้ พระยาจ่าบ้าน เป็น พระยาวิเชียรปราการ ปกครองนครเชียงใหม่ พระยากาวิละ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กาวิละ ปกครองนครลำปาง และ พระยาลำพูน เป็น พระยาวัยวงศา ปกครองเมืองลำพูน การครั้งนี้จึงได้ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และ น่าน กลับมาเป็นของไทย

เป็นการรบกับพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสว่า ในขณะเดินทัพ อย่าให้ผู้ใดแวะบ้านเรือนเด็ดขาด แต่ พระยาโยธา ขัดรับสั่งแวะเข้าบ้าน เมื่อพระองค์ทรงทราบ พระองค์พิโรธ ทรงตัดศีรษะพระยาโยธาด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง และนำศีรษะไปประจารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ พม่าสู้ไม่ได้แตกทัพไป

เป็นการรบกับพม่า เมื่อครั้งอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองเหนือ เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้น มี เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คน ล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คน เท่านี้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปช่วย และในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ

เป็นการรบกับพม่าที่เชียงใหม่ พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คน ยกมาตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่า นครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้า ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังพระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย