เบื้องหลัง ของ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย_เมษายน_พ.ศ._2552

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมือง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นเวลาห้าปี เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อ้างผ่านการแพร่ภาพวิดีโอว่า ประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อยู่เบื้องหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และว่า พล.อ. เปรม และองคมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และชาญชัย ลิขิตจิตถะ สมคบกับกองทัพเพื่อประกันให้อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้อภิสิทธิ์จะปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าว ก็มีผู้ประท้วงหลายพันคนในกรุงเทพมหานครเมื่อต้นเดือนเมษายน เรียกร้องให้อภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ พล.อ. เปรม พล.อ. สุรยุทธ์ และชาญชัย ลิขิตจิตถะลาออกจากการเป็นองคมนตรี[4] พ.ต.ท. ทักษิณเรียกร้อง "การปฏิวัติของประชาชน" เพื่อเอาชนะอิทธิพลอำมาตยาธิปไตยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ตามคำอ้าง การประท้วง นำโดย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ขยายไปยังพัทยา ที่ประชุมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งที่สี่ การปะทะกันรุนแรงเกิดขึ้นระหว่าง นปช. กับผู้สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินที่ภักดีต่อเนวิน ชิดชอบ[5] การประท้วงเป็นเหตุให้การประชุมสุดยอดถูกยกเลิก ทำให้อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในจังหวัดชลบุรี ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552[6]

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สรุปผู้บาดเจ็บ 135 ราย[7]ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 45 ราย รักษาที่หน่วยอภิบาล 4 ราย ทราบชื่อ 3 ราย ได้แก่ นาย สนอง พานทอง[8] นาย วิเชียร ขีดกลาง และ นาย ไสว ทองอ้มเสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ นาย ป้อม ผลพันพัว นาย ยุทธการ จ้อยช้อยชด เสียชีวิตที่ตลาดนางเลิ้ง ส่วน นาย ชัยพร กันทัง และ นาย ณัฐพงศ์ ปองดี[9]นั้นตำรวจสัณนิษฐานว่าเป็นการฆาตกรรมระหว่างการชุมนุมไม่เกี่ยวข้องกับเหตุชุมนุมทางการเมืองโดยตรง

รายชื่อผู้บาดเจ็บสาหัสอาทิ จ่าสิบเอก ชนินทร์ สิงห์เล็ก ร.ต.วิชาญ นามประเทือง พ.ต.ปกรณ์ สมพานต์ อนุภาพ คำแหง จ.ส.อ.นิด กะจันทร์ พลทหาร ชาลีรุธ พอตเตอร์ พลทหาร นฤพล รอดเจริญ พลทหาร พนมรุ้ง จิตเสนาะ พลทหาร ทรงยศ ก้อนทอง พลทหาร สุชาติ สีดา พลทหาร สถิต จันนาทอง[10][11]วิเชียร ขีดกลาง วีระชัย บทมาตย์ วุฒิพงษ์ ดรน้อย ฐิติกร แฉ่งขำโฉม อนุภาส พูนสวัสดิ์ ธัชชัย เปลี่ยนชื่น เอกณรงค์ เมฆลอย [12]ผู้ทุพพลภาพได้แก่ จ.ส.อ.สุบินทร์ สิงห์เรือง และ นาย ไสว ทองอ้ม[13]

ต่อมา นายไสว ทองอ้ม และ นาย สนอง พานทอง ได้ทำการฟ้องร้อง สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งสองรายแพ้คดีในชั้นศาลฎีกาจึงต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียม และ ค่าทนายความจำเลย จำนวนเงินทั้งสิ้น 212,114 บาท ให้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี

ใกล้เคียง

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ความไวและความจำเพาะ ความไม่แน่นอน ความไม่สงบในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ความไม่สงบในอาเจะฮ์ ความไร้สัญชาติ ความไวแสง ISO ความไม่ลงรอยกันทางประชาน ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย_เมษายน_พ.ศ._2552 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://bangkokpundit.blogspot.com/2009/04/it-begin... http://www.chaoprayanews.com/2009/04/11/%E0%B8%AA%... http://www.flickr.com/photos/11401580@N03/34268347... http://www.ft.com/cms/s/55e5ef2c-2fe4-11de-a2f8-00... http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=42174... http://www.prachatai.com/05web/th/home/16251 http://in.reuters.com/article/rbssFinancialService... http://www.straitstimes.com/Breaking+News/SE+Asia/... http://www.torontosun.com/news/world/2009/04/12/90...