คิวนาร์ด_ไลน์
คิวนาร์ด_ไลน์

คิวนาร์ด_ไลน์

บริษัทคิวนาร์ด-สตีมชิพ คอมพานี หรือ คิวนาร์ด ไลน์ หรือ คูนาร์ด ไลน์ (อังกฤษ: Cunard-Steam Ship Company; Cunard Line) เป็นบริษัทเดินเรือสัญชาติอังกฤษ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Carnival House ที่เซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำเนินกิจการโดยบริษัท คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น แอนด์ พีแอลซี (Carnival Corporation & plc.)[1] ตั้งแต่ปี 2011 คิวนาร์ด ไลน์ และเรือทั้งสามลำได้รับการจดทะเบียนในเมืองแฮมิลตัน เบอร์มิวดา[2] [3]ในปี ค.ศ. 1839 ซามูเอล คูนาร์ด ได้รับสัญญาเรือกลไฟข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำแรกของอังกฤษ และในปีถัดมาได้ก่อตั้ง บริษัท British and North American Royal Mail Steam-Packet Company ในเมืองกลาสโกว์ โดยมี เซอร์ จอร์จ เบิร์นส์ (Sir George Burns) เจ้าของเรือร่วมกับ โรเบิร์ต เนเปียร์ (Robert Napier) นักออกแบบเครื่องยนต์เรือกลไฟชาวสก็อตที่มีชื่อเสียง ในเวลา 30 ปีข้างหน้า คิวนาร์ด ไลน์ ได้ครอบครองรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) สำหรับการเดินทางในมหาสมุทรแอตแลนติกที่เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1870 คูนาร์ดได้ตามหลังคู่แข่งอย่าง ไวต์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) และ อินแมน ไลน์ (Inman Line) เพื่อตอบโต้การแข่งขันนี้ ในปี ค.ศ. 1889 บริษัทได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็น บริษัท คิวนาร์ดสตีมชิพ คอมพานี (Cunard Steamship Company, Ltd) เพื่อเพิ่มทุน [4]ในปี ค.ศ. 1902 ไวต์สตาร์ไลน์ เข้าร่วมกับ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์แคนไทล์ มารีน คอมพานี (International Mercantile Marine Company) ของอเมริกา เพื่อเป็นการตอบโต้ รัฐบาลอังกฤษได้ให้เงินกู้จำนวนมากแก่ คิวนาร์ด ไลน์ และเงินอุดหนุนเพื่อสร้าง เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ 2 ลำ เพื่อรักษาตำแหน่งในการแข่งขันของอังกฤษ ซึ่งก็คือเรืออาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย ที่ได้ครอบครองรางวัลบลูริบบันด์ ตั้งแต่ปี 1909 ถึง 1929 และ อาร์เอ็มเอส ลูซิเทนีย ซึ่งถูกตอร์ปิโดยิงในปี 1915 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1919 คิวนาร์ดได้ย้ายเมืองท่าในอังกฤษจากลิเวอร์พูลไปยังเซาแทมป์ตัน[5] เพื่อรองรับนักเดินทางจากลอนดอน[5] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1920 คิวนาร์ดต้องเผชิญกับการแข่งขันครั้งใหม่เมื่อเยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส ได้สร้างเรือเดินสมุทรที่ใหญ่และมีชื่อเสียงกว่า คิวนาร์ดได้ถูกรัฐบาลอังกฤษบังคับให้ระงับการสร้างเรือลำใหม่ของตัวเองเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในปี ค.ศ. 1934 รัฐบาลอังกฤษได้เสนอเงินกู้ให่แก่คิวนาร์ด เพื่อดำเนินการต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) และ อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (RMS Queen Elizabeth) โดยมีเงื่อนไขว่า คิวนาร์ดจะต้องควบรวมกิจการกับไวต์สตาร์ไลน์ ที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินในขณะนั้น จึงกลายเป็นสายการเดินเรือ คิวนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์ (Cunard-White Star Line) ต่อมาคิวนาร์ดได้ซื้อกิจการของไวต์สตาร์ไลน์ ในปี 1947 และเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น คิวนาร์ด ไลน์ อย่างเดิมในปี 1950[4]หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คิวนาร์ดได้ตำแหน่งสายการเดินเรือที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติกกลับคืนมา ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 คิวนาร์ดได้ดำเนินการต่อเรือ 12 ลำ ไปยังสหรัฐอเมริกาและแคนาดาหลังจากปี ค.ศ. 1958 เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเริ่มเสื่อมความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการนำเครื่องบินเจ็ตเข้ามาใช้ คิวนาร์ดได้ให้บริการในการเดินทางทางอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ผ่านสายการบิน คิวนาร์ด อีเกิล (Cunard Eagle) และ BOAC คิวนาร์ด (BOAC Cunard) แต่ต่อมาก็ถอนตัวออกจากตลาดการบินในปี 1966 และได้ถอนตัวจากการให้บริการในปี 1968 เพื่อมุ่งความสนใจไปที่การล่องเรือและการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในช่วงฤดูร้อนสำหรับนักท่องเที่ยว[6]ในปี 1998 คิวนาร์ดถูกซื้อกิจการโดยบริษัท คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น แอนด์ พีแอลซี (Carnival Corporation & plc.)[7] ในปี 2004 อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (QE2) ถูกแทนที่บนเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยเรือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 (QM2) คิวนาร์ดยังให้บริการเรือเอ็มเอส ควีนวิกตอเรีย (MS Queen Victoria) และเอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (MS Queen Elizabeth) อีกด้วย ในปี 2022 คิวนาร์ดเป็นบริษัทเดินเรือเพียงแห่งเดียวที่ให้บริการผู้โดยสารตามกำหนดเวลาระหว่างยุโรปและอเมริกาเหนือในปี 2017 คิวนาร์ดประกาศว่าจะมีเรือลำที่ 4 เข้าร่วมกองเรือ[8] เดิมทีกำหนดเปิดตัวไว้ในปี 2022 แต่ต่อมาถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2024 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า เอ็มเอส ควีนแอนน์ (MS Queen Anne)[9]

คิวนาร์ด_ไลน์

อุตสาหกรรม การเดินเรือ, การขนส่ง
ผลิตภัณฑ์ เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก, การเดินทางรอบโลก, การล่องเรือเพื่อการพักผ่อน
สำนักงานใหญ่ Carnival House, เซาแทมป์ตัน, สหราชอาณาจักร
เว็บไซต์ www.cunard.com
ประเภท บริษัทย่อยของ Carnival Corporation & plc
พื้นที่ให้บริการ มหาสมุทรแอตแลนติก, เมดิเตอเรเนียน, ยุโรปเหนือ, แคริบเบียน และทั่วโลก
ก่อตั้ง 1840; 183 ปีที่แล้ว (1840) (ในฐานะบริษัท Britian and North American Royal Mail Steam Packet Company)
บุคลากรหลัก
  • ไซมอน เพลธอร์ป (ประธาน)
  • เดวิด ดิงเกิล (รองประธาน)
บริษัทแม่ คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น แอนด์ พีแอลซี
ชื่อท้องถิ่น Cunard Line
ก่อนหน้า Trafalgar House
ไวต์สตาร์ไลน์ 
ผู้ก่อตั้ง Samuel Cunard 

แหล่งที่มา

WikiPedia: คิวนาร์ด_ไลน์ http://bernews.com/2017/12/cruise-line-awaiting-fu... http://www.cruisemarketwatch.com/blog1/market-shar... http://www.royalgazette.com/article/20111021/NEWS/... http://www.theshipslist.com/ships/lines/cunard.sht... https://www.carnivalcorp.com/news-releases/news-re... https://www.cruiseindustrynews.com/cruise-news/217... https://www.cruiseindustrynews.com/cruise-news/267... https://www.cunard.com/ https://www.fleetmon.com/maritime-news/2022/38925/... https://books.google.com/books?id=2d5EAQAAIAAJ&pg=...