สมัยโบราณ ของ คุณธรรม

คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตรฐานทางศีลธรรมคุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้าง ๆ ของค่านิยมบุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคน ๆ นั้นความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคน ๆ นั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขาสังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกันค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม

คุณธรรมของบุคคล สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มแบ่งตามค่านิยม:

  • จริยธรรม (ดี - เลว, มีศีลธรรม - ขัดศีลธรรม - ไร้ศีลธรรม, ถูก - ผิด)
  • สุนทรียภาพ (ไม่สมดุล, พอใจ)
  • ลัทธิคำสอน (การเมือง, ศาสนา, ค่านิยมและกระแสสังคม)
  • คุณธรรมโดยกำเนิดสันดาน

คุณธรรมสำคัญของวัฒนธรรมตะวันตกคลาสสิก (The four classic Western Cardinal virtues) คือ:

ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้มีที่มาจากปรัชญากรีก เช่น งานเขียนของ พลาโต ซึ่งอาจรวมถึงงานของโซคราติส

คุณธรรมของอริสโตเติล

อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ[2]โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลาง ๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยของ ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่งตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลาความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเองความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย

อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริฐ ที่ได้มีทักษะในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุขการเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรก ๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

คุณธรรมแบบโรมัน

  • อำนาจทางจิตวิญญาณ (Auctoritas หรือ "Spiritual Authority") การมีจุดยืนทางความคิด
  • ความเป็นมิตร (Comitas หรือ "Humour") ความสุภาพ ใจกว้าง และเป็นมิตร
  • ความบากบั่นภาคเพียร (Constantia หรือ "Perseverance") ความมุมานะ พยายาม อดทน
  • ความอ่อนโยน (Clementia หรือ "Mercy")
  • ศักดิ์ศรี (Dignitas หรือ "Dignity") การมีคุณค่าแห่งตน มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
  • วินัย (Disciplina หรือ "Discipline")
  • ความมั่นคงเด็ดเดี่ยว (Firmitas หรือ "Tenacity") ความแข็งแกร่งของจิตใจที่จะยึดมั่นกับจุดมุ่งหมาย
  • ความประหยัดมัธยัสถ์ (Frugalitas หรือ "Frugality")
  • ความรับผิดชอบ (Gravitas หรือ "Gravity") การรู้ถึงความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย
  • ความน่านับถือ (Honestas หรือ "Respectability")
  • การรู้จักมารยาทธรรมเนียม (Humanitas หรือ "Humanity")
  • การขยันทำงานหนัก (Industria หรือ "Industriousness")
  • การมีความยุติธรรม (Iustitia หรือ "Justice")
  • ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Pietas หรือ "Dutifulness")
  • ความรอบคอบ (Prudentia หรือ "Prudence")
  • การรักษาสุขภาพและความสะอาด (Salubritas หรือ "Wholesomeness")
  • การควบคุมตัวเอง (Severitas หรือ "Sternness")
  • ความซื่อสัตย์ (Veritas หรือ "Truthfulness")
  • ความเป็นลูกผู้ชาย (Virtus หรือ "Manliness") ความองอาจ กล้าหาญ

ปรัญชาจีน

"คุณธรรม" หรือ เต๋อ (ในภาษาจีน ) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในปรัญชาจีน โดยเฉพาะลัทธิเต๋า เต๋อ (จีน: 德; พินอิน: dé; เวด-ไจลส์: te) เดิมที หมายถึง คุณธรรม ในแง่ของ บุคลิกส่วนตัวของบุคคล ความแข็งแกร่งภายใน และ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ (integrity) แต่ความหมายได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของศีลธรรม

หลักศีลธรรมของขงจื้อ จะกล่าวถืง มนุษยธรรม (humanity), การเคารพพ่อแม่และบรรพชน (filial piety), และ การพฤติตนให้เหมาะสม ปฏิบัติตามประเพณี (proper behavior, performance of rituals)[3]

แต่ความหมายของ เต๋อ (จีน: 德; พินอิน: dé; เวด-ไจลส์: te) สำหรับลัทธิเต๋าแล้วละเอียดอ่อนกว่าขงจื้อมาก ซึ่งคร่าว ๆ คือ การดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งเต๋า ค่านิยมหนึ่งที่สำคัญมากของจีนก็คือ บุคคลควรจะมีสถานะทางสังคม ที่เป็นผลมาจากคุณธรรมของเขาที่ได้แสดงออกมา ไม่ใช่ได้สถานะมาจากการชาติตระกูล

ขงจื้ออธิบายความหมายคำว่า เต๋อไว้ว่า "ผู้ถือไว้ซึ่งคุณธรรมนั้น เปรียบได้กับดาวเหนือ ที่ยึดมั่นในที่ของตน เป็นดาวอื่น ๆ ที่ต้องหมุนรอบ ๆ มัน"[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คุณธรรม http://www.sja.ca/Default.aspx?cid=59e4361adfbe472... http://www.ftrain.com/franklin_improving_self.html http://www.meccacentric.com/islamic_virtues.html http://www.sparknotes.com/philosophy/ethics/summar... http://www.tocquevillian.com/articles/0095.html http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/getobj... http://www.usc.edu/dept/MSA/fundamentals/tawheed/c... http://www.afpc.asso.fr/wengu/wg/wengu.php?no=17&l... http://www.accesstoinsight.org/lib/authors/bodhi/w... http://www.phoenixmasonry.org/native_american_ritu...