ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ

ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ(จีน: 臭老九; พินอิน: chòu lǎo jiǔ) เป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ของจีนสำหรับปัญญาชนที่ถูกนำมาใช้ในประเด็นหลักสองประการ[1]คำศัพท์นี้มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งมองโกลผู้พิชิตจีนได้ระบุถึง "วรรณะ" ของจีนถึง 10 วรรณะ ได้แก่ ขุนนาง เจ้าหน้าที่ พระภิกษุสงฆ์ นักพรตลัทธิเต๋า แพทย์ กรรมกร นักล่า คณิกา (ลำดับที่เก้า)นักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อ และลำดับสุดท้ายคือขอทาน มีเพียงขอทานเท่านั้นที่มีฐานะที่ต่ำต้อยกว่าปัญญาชน[2] ราชวงศ์หยวนเชื่อว่านักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อไม่ได้นำผลิตภาพมาสู่สังคมและแม้แต่ยังขัดขวางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงถูกจัดเป็นชนชั้นวรรณะทางสังคมที่เก้าในช่วงสมัยนั้น ในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 คำว่า "ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ" มักจะถูกนำใช้เป็นคำพ้องซึ่งหมายถึงปัญญาชน และแสดงให้เห็นถึงเป็นที่รังเกียจของสังคมในสมัยนั้น ปัญญาชนไม่เป็นที่ไว้วางใจในช่วงการปฏิวัติและคอยแต่จะผลักดันให้เปลี่ยนแปลงตนเอง[3]ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม "กลุ่มบัญชีดำทั้งเก้า" อันได้แก่ เจ้าของที่ดิน ชาวนาผู้ร่ำรวย ผู้ต่อต้านการปฏิวัติ ผู้มีอิทธิพลอันเลวทราม พวกฝ่ายขวา ผู้ทรยศ สายลับ นายทุน และปัญญาชน(ลำดับที่เก้า) ในขณะที่มักจะมีการกล่าวอ้างว่าเหมา เจ๋อตงเป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น ในปี ค.ศ. 1977 เติ้ง เสี่ยวผิงได้โต้แย้งว่าเป็นเพราะแก๊งออฟโฟร์ต่างหากที่เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น และเหมาเองก็เห็นว่าปัญญาชนยังคงมีคุณค่าในสังคม[4]