จรวดขนส่งหนักพิเศษ
จรวดขนส่งหนักพิเศษ

จรวดขนส่งหนักพิเศษ

จรวดขนส่งหนักพิเศษ เป็นจรวดที่สามารถส่งน้ำหนักบรรทุกหนักพิเศษขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก กล่าวคือน้ำหนักบรรทุกมากกว่า 50 เมตริกตัน (110,000 ปอนด์)[1][2]ตามนิยามของสหรัฐ และมากกว่า 100 เมตริกตัน (220,000 ปอนด์) ตามนิยายของรัสเซีย[3] โดยหมวดหมู่นี้เป็นหมวดหมู่ของพาหนะส่งที่มีความสามารถในการส่งมวลสู่วงโคจรมากที่สุด เหนือกว่าความสามารถของพาหนะในหมวดหมู่จรวดขนส่งหนักใน ค.ศ. 2022 การส่งน้ำหนักบรรทุกในหมวดหมู่นี้เพียงแค่ 13 ครั้ง: 12 ครั้งในโครงการอะพอลโลก่อน ค.ศ. 1972 และหนึ่งครั้งในการส่งของจรวดเอเนอร์เกียใน ค.ศ. 1987 ในปัจจุบัน แผนภารกิจสู่ดวงจันทร์และระหว่างดาวเคราะห์ส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องใช้พาหนะส่งเหล่านี้แนวคิดของจรวดขนส่งหนักพิเศษหลายแนวคิดในยุคแรกถูกคิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เช่นจรวดซีดรากอน ในช่วงการแข่งขันอวกาศ จรวดแซตเทิร์น Vและเอ็น1ถูกสร้างโดยสหรัฐและสหภาพโซเวียตตามลำดับ ภายหลังจากความสำเร็จของโครงการอะพอลโลและจรวดแซตเทิร์น V และความล้มเหลวของจรวดเอ็น 1 สหภาพโซเวียตส่งจรวดเอเนอร์เกียสองครั้งในคริสต์ทตวรรษที่ 1980 หนึ่งครั้งในการส่งยานอวกาศบูรัน และแท่นอาวุธโคจรโปลูสในอีกหนึ่งครั้ง ในอีกสองทศวรรษต่อมามีการพัฒนาแนวคิดต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง เช่นโครงการพาหนะสืบจากกระสวยอวกาศและรุส-เอ็ม ในคริสต์ทศวรรษที่ 2010 มีความสนใจในจรวดขนส่งหนักพิเศษอีกครั้ง นำร่องโดยการส่งขึ้นของจรวดฟัลคอนเฮฟวี ระบบการส่งอวกาศ และสตาร์ชิป และการพัฒนาโครงการจรวดฉางเจิงและเยนีเซย์