การทำงาน ของ จำลอง_สารพัดนึก

พ.ศ. 2512 ได้ลาสิกขา หลังจากนั้นศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับไว้เป็นอาจารย์พิเศษด้านภาษาสันสกฤต ที่คณะโบราณคดีต่อมา จนได้บรรจุเข้ารับราชการ และศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านภาษาสันสกฤตที่ มหาวิทยาลัยสัมปูรณานันท สันสกฤต เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ฤคเวทียปฺรถมมณฺฑลสฺย สมาโลจนาตฺมกมฺ อธฺยยนมฺ (พ.ศ. 2523-2525) จากนั้นได้กลับมารับราชการต่อที่คณะโบราณคดี จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2527 และลาออกจากตำแหน่งคณบดี เมื่อ พ.ศ. 2529 ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนเพียงอย่างเดียวนับแต่นั้น

ดร.จำลอง สารพัดนึกเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านภาษาสันสกฤต มีความชำนาญภาษาสันสกฤตสมัยพระเวท วรรณคดีสันสกฤต ภาษาบาลี ภาษาฮินดี และภาษามอญ เคยเป็นตัวแทนประเทศไทยไปสัมมนาด้านภาษาสันสกฤตพร้อมกับศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ที่ประเทศอินเดีย และได้ร่วมเป็นผู้พิจารณาร่างหลักสูตรปริญญาโทอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาบาลีและสันสกฤต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำลอง เมื่อเป็นข้าราชการบำนาญ ก็ทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษด้านภาษาสันสกฤตให้กับหลายสถาบัน นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการจัดทำพจนานุกรมพระไตรปิฎกของราชบัณฑิตยสถาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโครงการจัดทำพจนานุกรมพุทธศาสนาจีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ดร.จำลอง สารพัดนึกได้รับรางวัลเข็มเกียรติคุณ "พระเกี้ยวทอง" จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. 2531

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาภาษาสันสกฤต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546[1]

ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับ อ.สุรีย์ สารพัดนึก มีธิดาหนึ่งคนคือ ดร.จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ใกล้เคียง

จำลอง ศรีเมือง จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ จำลอง ดาวเรือง จำลอง ครุฑขุนทด จำลอง สารพัดนึก จำลอง แววพานิช แบบจำลองโอเอสไอ แบบจำลองมาตรฐาน การจำลองการอบเหนียว แบบจำลองอะตอมของทอมสัน