ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนสูง ของ จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การอุปถัมภ์และลัทธิมนุษยนิยม

กำเนิดวีนัส” สำหรับตระกูลเมดิชิ โดย ซานโดร บอตติเชลลี.

งานศิลปะเกือบทั้งหมดในฟลอเรนซ์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม้ว่าจะเป็นงานการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานก็เปลี่ยนมือไปจากการจ้างโดยสถาบันศาสนาไปเป็นการจ้างส่วนบุคคล ที่ส่วนใหญ่แล้วก็มาจากตระกูลเมดิชิหรือผู้มีความสัมพันธ์ของตระกูลถ้าไม่เป็นญาติพี่น้องก็มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจเช่นตระกูลซาสเซ็ตติหรือตระกูลทอร์นาบุโอนิ

ในคริสต์ทศวรรษ 1460 โคสิโม เดอ เมดิชิก็แต่งตั้งให้มาร์ซิลิโอ ฟิชีโน เป็นนักลัทธิมนุษยนิยมเป็นนักปรัชญาประจำสำนักเมดิชิ และช่วยในการแปลงานของเพลโตและงานสอนของปรัชญาเพลโตที่เน้นในเรื่องที่ว่ามนุษยชาติเป็นศูนย์กลางของจักรวาล, ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพระเจ้า และความรักระหว่างเพศเดียวกันที่ถือว่าเป็น “ความรักบริสุทธิ์” (Platonic love) เป็นสิ่งที่ใกล้ชิดที่สุดที่มนุษย์สามารถโอบอุ้มหรือจะทำความเข้าใจในความรักของพระเจ้าได้[22]

ในยุคกลางทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสมัยกรีกและโรมันถือกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับลัทธิเพกันและเป็นเรื่องนอกศาสนา แต่เมื่อมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาวัฒนธรรมกรีกและโรมันก็กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเห็นแจ้ง ภาพจากตำนานเทพเจ้ากรีก หรือจากตำนานเทพเจ้าโรมันกลายมีความหมายทางสัญลักษณ์ใหม่ในศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะเทพีวีนัสที่กลายมามีนัยยะใหม่ ผู้ที่เกิดมาเป็นสตรีเต็มตัวอันเป็นทำนองปาฏิหาริย์ที่ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอีฟใหม่ และผู้เป็นสัญลักษณ์ของความรักอันบริสุทธิ์ หรือที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือเป็นสัญลักษณ์ของเวอร์จินแมรีเอง บทบาททั้งสองนี้จะเห็นได้จากงานเขียนสีฝุ่นสองชิ้นของซานโดร บอตติเชลลีที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1480 สำหรับปิแอร์ฟรานเชสโค เดอ เมดิชิ หลานของโคสิโมในภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” และภาพ “กำเนิดวีนัส[23]

ขณะเดียวกันโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาผู้เป็นนักวาดเส้น (draughtsman) ผู้มีฝีมือในความละเอียดละออและความเที่ยงตรง ผู้เป็นจิตรกรภาพเหมือนคนสำคัญของยุคนั้นก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังสองชุดสำหรับตระกูลเมดิชิในวัดสำคัญในฟลอเรนซ์สองวัด ชุดหนึ่งเขียนภายในชาเปลซาสเซ็ตติที่วัดซานตาทรินิตา และอีกชุดหนึ่งภายในชาเปลทอร์นาบุโอนิในบาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลา จิตรกรรมฝาผนังสองชุดนี้เป็นภาพฉาก “ชีวิตของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิ”, “ชีวิตของพระแม่มารี”' และ “ชีวิตของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ในภาพเหล่านี้นอกจากเนื้อหาทางศาสนาแล้วก็ยังมีภาพเหมือนของสมาชิกในตระกูลเมดิชิรวมอยู่ในภาพด้วย ในภาพภายในชาเปลซาสเซ็ตติถึงกับมีภาพเหมือนของเกอร์ลันเดาเองรวมอยู่ด้วยกับลอเรนโซ เดอ เมดิชิผู้ว่าจ้าง และลูกชายสามคนของลอเรนโซและครูผู้เป็นกวีมนุษย์วิทยาและนักปรัชญาอักโนโล โพลิเซียโนคนสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ภายในชาเปลทอร์นาบุโอนิก็มีภาพเหมือนของโปลิเซียโนอีกภาพหนึ่งกับผู้มีอิทธิพลในสถาบันเพลโตอื่นๆ ที่รวมทั้งมาร์ซิลิโอ ฟิชิโน[22]

ฉากแท่นบูชาพอร์ตินาริ” โดยฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์ ฉากแท่นบูชาซาสเซ็ตติ” โดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา

อิทธิพลของเนเธอร์แลนด์

ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1450 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นงานของโรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็นจิตรกรเฟล็มมิชก็มาถึงอิตาลีพร้อมกับสีน้ำมันซึ่งเป็นวัสดุการเขียนภาพใหม่ ขณะที่การเขียนด้วยสีฝุ่นและจิตรกรรมฝาผนังเหมาะกับการเขียนลักษณะที่ซ้ำกันเป็นแบบ (pattern) แต่ไม่เหมาะกับการเขียนที่ต้องแสดงความเป็นธรรมชาติอย่างเป็นจริงเท่าใดนัก คุณลักษณะที่ยืดหยุ่นของน้ำมันที่สามารถเขียนให้โปร่งใส (transparent) ได้ และยังสามารถให้กลับมาแก้ได้หลังจากที่วาดไปแล้วหลายวัน เป็นการเปิดทางใหม่ให้แก่เทคนิคการเขียนภาพสำหรับศิลปินอิตาลี

ในปี ค.ศ. 1475ฉากแท่นบูชาพอร์ตินาริ[24] ขนาดใหญ่ที่เขียนโดยฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์สำหรับตระกูลพอร์ตินาริก็ได้รับการส่งมายังฟลอเรนซ์จากบรูจส์ในเบลเยียม เพื่อมาตั้งในชาเปลของตระกูลในวัดซานเอจิดิโอ ฉากแท่นบูชาสว่างเรืองด้วยสีแดงและเขียวจัดที่ตรงกันข้ามเสื้อคลุมกำมะหยี่ดำเป็นมันของผู้อุทิศพอร์ตินาริที่อยู่ในแผงซ้ายและขวาของภาพ ด้านหน้าของภาพเป็นภาพนิ่งของดอกไม้ในที่อยู่ในภาชนะที่ต่างกันช่อหนึ่งอยู่ในแจกันดินเผาเคลือบอีกช่อหนึ่งอยู่ในแจกันแก้ว เพียงแจกันแก้วเพียงอย่างเดียวก็พอจะทำให้จิตรกรอิตาลีตื่นเต้นกันไปตามๆ กัน แต่สิ่งที่มีอิทธิพลที่สุดของบานพับภาพชิ้นนี้อยู่ที่ความเป็นธรรมชาติและความเหมือนจริงของภาพแทนที่จะเป็นภาพอุดมคติเช่นที่เขียนกันมาก่อนหน้านั้น ที่เห็นได้จากหนวดขรุขระบนใบหน้าของคนเลี้ยงแกะสามคนที่มีมือไม้ดูหยาบอย่างมือของผู้ใช้แรงงาน และสีหน้าที่แสดงความตื่นตลึงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นที่เกินกว่าที่จะเข้าใจได้ ทันทีที่โดเมนนิโค เกอร์ลันเดาจิตรกรชาวฟลอเรนซ์เห็นภาพเข้าก็รีบกลับไปเขียนภาพของตนเองทันที โดยใช้อิทธิพลเฟล็มมิชแต่เป็นภาพของพระแม่มารีแบบอิตาลีที่พระพักตร์อิ่ม แทนพระแม่มารีที่มีพระพักตร์เรียวยาวอย่างเฟล็มมิช และตัวเกอร์ลันเดาเองก็เป็นหนึ่งในคนเลี้ยงแกะในภาพ[13]

งานจ้างของพระสันตะปาปา

ในปี ค.ศ. 1477 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ก็ทรงเปลี่ยนชาเปลเก่าที่ใช้เป็นที่ทำพิธีทางศาสนาในพระราชวังพระสันตะปาปาไปเป็นชาเปลใหม่ ภายในชาเปลใหม่ที่ชื่อว่าชาเปลซิสตินเพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์ดูเหมือนว่าจะออกแบบมาตั้งแต่ต้นสำหรับการเขียนจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ 16 ภาพระหว่างช่วงเสาบนระดับกลางและสำหรับเขียนภาพเหมือนของพระสันตะปาปาองค์ต่างๆ เหนือขึ้นไป

ในปี ค.ศ. 1479 กลุ่มจิตกรจากฟลอเรนซ์ที่รวมทั้งซานโดร บอตติเชลลี, เปียโตร เปรูจิโน, โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา และโคสิโม รอซเซลิ ก็ได้รับการจ้างให้ตกแต่งชาเปล จิตรกรรมฝาผนังชุดที่กำหนดให้เขียนเป็นการบรรยายภาพ “ชีวิตของโมเสส” ทางด้านหนึ่งและ “ชีวิตของพระเยซู” อีกด้านหนึ่งโดยระบุว่าจิตรกรรมสองชุดนี้ต้องประสานส่งเสริมซึ่งกันและกัน ภาพ “การประสูติของพระเยซู” และ “การพบของโมเสส” อยู่บนผนังทางด้านหลังของแท่นบูชา โดยมีฉากแท่นบูชา “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” ที่เขียนโดยเปียโตร เปรูจิโนระหว่างสองภาพนี้ เป็นที่น่าเสียดายว่าภาพสี่ภาพบนผนังอีกด้านหนึ่งถูกทำลายไปเสียแล้ว

“พระเยซูมอบกุญแจให้นักบุญปีเตอร์” โดย เปียโตร เปรูจิโน

ภาพที่เหลืออีก 12 ภาพเป็นภาพที่เขียนขึ้นจากจินตนาการของจิตรกรเอง และการประสานงานกันระหว่างจิตรกรที่ตามปกติแล้วมิได้ทำงานร่วมกัน และมีความชำนาญและลักษณะการเขียนที่แตกต่างๆ จากกัน ภาพเขียนภายในชาเปลแสดงให้เห็นถึงความสามารถต่างๆ ของศิลปินที่รวมทั้งตัวแบบที่รวมทั้งบุรุษ, สตรี และเด็ก และอื่นๆ ที่รวมทั้งเทวดา ไปจนถึงฟาโรห์ผู้กริ้วโกรธ และตัวปีศาจเอง ภาพแต่ละภาพต่างก็ต้องมีการเขียนภูมิทัศน์ จิตกรก็ต้องตกลงกันถึงขนาดของตัวแบบในภาพแต่ละภาพที่ทำให้บางภาพเหลือเนื้อที่ครึ่งบนของภาพสำหรับวาดภูมิทัศน์และท้องฟ้า เช่นในภาพ “การรักษาคนโรคเรื้อน” (the Purification of the Leper) โดยซานโดร บอตติเชลลีก็จะมีคำบรรยายเล็กในบริเวณที่เป็นภูมิทัศน์ที่เขียนว่า “การลองพระทัยพระเยซู” เป็นต้น

ในบรรดาภาพเขียนทั้งหมดภาพที่เด่นกว่าภาพใดคือภาพ “พระเยซูมอบกุญแจให้นักบุญปีเตอร์” โดยเปียโตร เปรูจิโน เป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ชัดเจนและง่าย, ความงามของสรีระของตัวแบบที่รวมทั้งภาพเหมือนตนเองรวมอยู่ในบรรดาผู้มาดูเหตุการณ์ในภาพ และ โดยเฉพาะลักษณะการเขียนแบบทัศนมิติของภูมิทัศน์เมืองที่รวมทั้งการเดินทางมาสอนศาสนาในกรุงโรมของนักบุญปีเตอร์หน้าประตูชัยสองประตูซ้ายขวาของภาพ กลางภาพเป็นสิ่งก่อสร้างแปดเหลี่ยมที่อาจจะเป็นหอศีลจุ่มของคริสเตียนหรือมอโซเลียมของโรมันก็ได้[25]

เลโอนาร์โด ดา วินชี

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชีการประกาศของเทพ” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี

เพราะความที่เป็นผู้มีความสนใจหลายด้านและมีความสามารถที่ดีเด่นรอบตัวเลโอนาร์โด ดา วินชีจึงเป็นตัวอย่างของผู้ที่เรียกกันว่าเป็น “คนเรอเนสซองซ์” (Renaissance man) แต่ความสามารถที่เด่นที่สุดของดา วินชีคือการเขียนจิตรกรรม ที่สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่นับถือกันโดยทั่วไปมาตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ งานเขียนของดา วินชีเป็นงานเขียนที่ดึงมาจากความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในแขนงต่างๆ

ดา วินชีเป็นนักสังเกตทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาโดยการมองสิ่งต่างๆ ดา วินชีศึกษาและวาดดอกไม้ในทุ่ง, แม่น้ำที่ไหลคดเคี้ยว, รูปทรงหินและภูเขา และ วิธีที่แสงสะท้อนบนใบไม้และอัญมณี และที่สำคัญที่สุดคือการศึกษาสรีรวิทยาของโครงสร้างของร่างกายของมนุษย์โดยการชำแหละศพยี่สิบถึงสามสิบศพที่ไม่มีเจ้าของจากโรงพยาบาลเพื่อที่จะได้ศึกษาและเข้าใจรูปทรงกล้ามเนื้อและเอ็น

สิ่งที่เหนือกว่าจิตรกรอื่นคือการศึกษา “บรรยากาศ” ในภาพเขียนเช่น “โมนาลิซา” หรือ “พระแม่มารีแห่งภูผา” ดา วินชีใช้แสงและเงาอย่างนุ่มนวล ที่กลายมาเป็นเทคนิคการเขียนที่เรียกกันว่า “ภาพสีม่านหมอก” (Sfumato) หรือ “ควัน” ของดา วินชี

การเขียนภาพสีม่านหมอกเป็นทั้งการเชิญชวนให้ผู้ดูเข้ามาในโลกของความลึกลับของแสงและเงาที่เปลี่ยนไป และประสบกับความสับสนของรูปทรงของก้อนหินบนภูเขาที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนรูปทรงได้ หรือสายน้ำที่ไหลหมุนวนเชี่ยวในลำน้ำ ดา วินชีสามารถเขียนให้ตัวแบบเหมือนจริงได้โดยการแสดงออกทางอารมณ์และสีหน้าของตัวแบบ ตามลักษณะการเขียนของจอตโต ดี บอนโดเนผู้ที่ริเริ่มการเขียนลักษณะนี้ก่อนหน้านั้น และไม่มีผู้ใดติดตามมาจนถึง “อาดัมและอีฟ” โดยมาซาชิโอ ภาพ “พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” ที่เขียนภายในโรงฉันภายในสำนักสงฆ์ในมิลานของดา วินชีกลายมาเป็นมาตรฐานของการเขียนภาพแบบบรรยายเรื่องต่อมาอีกหลายร้อยปี จิตรกรหลายคนของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาต่างก็เขียนภาพ “พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” กันหลายลักษณะแต่ก็มีแต่ “พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” ของดา วินชีเท่านั้นที่กลายมาเป็นภาพที่ใช้เป็นแบบในการสร้างงานเลียนแบบต่างๆ ที่รวมทั้งงานแกะไม้, อะลาบาสเทอร์, พลาสเตอร์, ภาพพิมพ์, พรมแขวนผนัง, โครเชต์ พรมปูโต๊ะ และอื่นๆ

นอกจากจะมีอิทธิพลโดยตรงจากงานศิลปะที่สร้างแล้ว การศึกษาของดา วินชีในเรื่องแสง สรีรวิทยา ภูมิทัศน์ และการแสดงออกทางอารมณ์ก็ยังได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายไปในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาด้วย[7]

มีเกลันเจโล

“พระเจ้าสร้างอาดัม” สำหรับ สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะ” โดย มีเกลันเจโล

ในปี ค.ศ. 1508 สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2ก็ทรงประสบความสำเร็จในการหว่านล้อมให้ประติมากรมีเกลันเจโลมาเขียนจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งโบสถ์น้อยซิสตีน โครงสร้างของเพดานโบสถ์น้อยซิสตีนประกอบด้วยคันทวยโค้งลงมาสิบสองช่วงสำหรับรองรับเพดานโค้ง แต่ละช่องก็เหมาะเจาะกับการเขียนภาพอัครทูต แต่มีเกลันเจโลผู้ยอมตกลงตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปามีความคิดใหม่ในการออกแบบภาพที่จะเขียนในช่องโค้งเหล่านั้น งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนชิ้นใหญ่ที่ไมเคิล แอนเจโลเขียนด้วยตนเองแทบทั้งหมดโดยมีผู้ช่วยไม่เท่าใดนัก ซึ่งต้องทำให้ใช้เวลาเกือบห้าปีในการเขียน

แผนของพระสันตะปาปาในการเขียนภาพอัครทูตเป็นหัวเรื่องที่เป็นการเชื่อมระหว่างภาพบรรยายพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่บนผนังและระเบียงภาพเหมือนของพระสันตะปาปาองค์ต่าง ๆ ตอนบน[25] นอกจากนั้นผู้นำของอัครทูตก็คือซีโมนเปโตรผู้ที่กลายมาเป็นบิชอปแห่งโรมองค์แรก แต่ความคิดไมเคิล แอนเจโลออกไปในทางตรงกันข้าม หัวเรื่องบนเพดานของมีเกลันเจโลเป็นหัวเรื่องที่ไม่ใช่แผนการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในการช่วยให้มนุษยชาติรอดจากบาป แต่งานนี้เป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับความอัปยศของมนุษยชาติ เป็นหัวเรื่องในทางศรัทธาเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีพระเยซูมาไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์[26]

โดยผิวเผินแล้วลักษณะการเขียนภาพบนเพดานของมีเกลันเจโลเป็นโครงสร้างแบบมนุษยนิยม ตัวแบบมีขนาดและลักษณะอันมหึมาและในกรณีของอาดัม เป็นร่างที่มีความงดงามจนผู้รวบรวมชีวประวัติศิลปินวาซารีถึงกับกล่าวว่ามีความงามราวกับพระเป็นเจ้าทรงออกแบบด้วยพระองค์เองไม่ใช่โดยมีเกลันเจโล แต่แม้ว่าตัวแบบแต่ละตัวจะวาดอย่างงดงาม แต่หัวเรื่องของภาพโดยทั่วไปมิได้เป็นภาพที่เขียนเพื่อสรรเสริญสภาวะของความเป็นมนุษย์และที่แน่คือไม่ได้แสดงปรัชญามนุษยนิยมของความรักบริสุทธิ์ และอันที่จริงแล้วเมื่อดูไปทางภาพของบรรพบุรุษของพระเยซูทางตอนบนของเพดานแล้วก็จะเป็นการแสดงด้านที่เลวที่สุดของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่เป็นความบาทหมางในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นลักษณะของครอบครัวที่แท้จริง

วาซารีสรรเสริญความสามารถอันดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุดของมีเกลันเจโลในการสร้างการวางท่าของตัวแบบออกไปต่าง ๆ กัน เมื่อโดนาโต บรามันเตจัดให้ราฟาเอลมาดูภาพหลังจากไมเคิล แอนเจโลวางแปรงไปแล้ววันหนึ่ง พอราฟาเอลเห็นเข้าก็เดินหนีออกไปจากห้องทันทีและเดินทางไปโบโลนยาไปเขียนภาพอย่างน้อยก็สองภาพเลียนแบบภาพประกาศกของมีเกลันเจโล ภาพหนึ่งอยู่ที่วัดซานอากอสติโนและอีกภาพหนึ่ง “โรงเรียนแห่งเอเธนส์” อยู่ในห้องราฟาเอลภายในพระราชวังวาติกันมีภาพเหมือนของไมเคิล แอนเจโลเองอยู่ในภาพด้วย[25][27][28]

ราฟาเอล

เลโอนาร์โด ดา วินชี, ไมเคิล แอนเจโล และ ราฟาเอล คือคำพ้องของคำว่ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนสูง แต่ราฟาเอลมีอายุอ่อนกว่าไมเคิล แอนเจโล 18 ปี และอ่อนกว่าดา วินชีเกือบ 30 ปี ซึ่งทำให้งานของราฟาเอลยังไม่วิวัฒนาการถึงระดับของจิตรกรร่วมสมัยคนสำคัญสองคนดังกล่าว แต่งานเขียนของราฟาเอลเป็นงานเขียนของทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนสูง

พระแม่มารีซิสติน” โดย ราฟาเอล

ราฟาเอลโชคดีที่เกิดมาเป็นลูกของจิตรกรฉะนั้นเมื่อพูดถึงการเลือกอาชีพราฟาเอลก็เลือกได้โดยไม่ต้องมีเรื่องขัดแย้งกับทางครอบครัวเช่นไมเคิล แอนเจโลผู้เป็นลูกของขุนนางระดับรอง หลายปีหลังจากที่บิดาเสียชีวิตราฟาเอลก็ไปทำงานอยู่ที่อุมเบรียกับห้องเขียนภาพของเปียโตร เปรูจิโนผู้เป็นจิตรกรฝีมือดีและผู้มีเทคนิคการเขียนอันเป็นเยี่ยม ภาพเขียนภาพแรกที่ลงชื่อและวันที่เขียนเมื่ออายุ 21 ปีชื่อ “การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” แสดงให้เห็นโครงสร้างของภาพที่ถอดมาจากภาพชื่อเดียวกัน (ภาพ) และภาพ “พระเยซูมอบกุญแจให้นักบุญปีเตอร์” ที่เขียนโดยเปรูจิโนภายในชาเปลซิสติน[18]

ราฟาเอลเป็นผู้มีนิสัยเป็นผู้ไร้ความกังวลและไม่มีความอายที่จะดึงความชำนาญจากจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยเดียวกันมาใช้ ในงานเขียนของราฟาเอลจึงแสดงให้เห็นลักษณะเด่นๆ ของการเขียนภาพของจิตรกรหลายคนที่ราฟาเอลดึงเข้ามาใช้ ทรงตัวแบบที่กลมและสีที่เรืองรองมาจากเปียโตร เปรูจิโน, ความเหมือนคนจริงมาจากโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา, ความเป็นจริงและการใช้แสงในภาพมาจากดา วินชี และการร่างอันมีพลังมากจากไมเคิล แอนเจโล ลักษณะการเขียนต่างๆ เหล่านี้มารวมกันในจิตรกรรมที่สร้างโดยราฟาเอลที่เขียนในช่วงชีวิตอันสั้น ราฟาเอลเขียนฉากแท่นบูชาขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก, จิตรกรรมฝาผนังของนิมฟ์ทะเลและเทพกาเลเชีย, ภาพเหมือนที่รวมทั้งพระสันตะปาปาสองพระองค์และนักประพันธ์คนสำคัญ และขณะที่ไมเคิล แอนเจโลเขียนเพดานชาเปลซิสติน ราฟาเอลก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่หลายภาพภายในห้องชุดที่ประทับของพระสันตะปาปาที่รวมทั้งงานชิ้นเอก “โรงเรียนแห่งเอเธนส์

โรงเรียนแห่งเอเธนส์” เป็นภาพการพบปะของผู้คงแก่เรียนคนสำคัญๆ ชาวเอเธนส์ทั้งหลายที่มารวมกันในฉากแบบคลาสสิกอันยิ่งใหญ่รอบเพลโตที่ราฟาเอลใช้เลโอนาร์โด ดา วินชีเป็นแบบ เฮราคลิตัสที่นั่งหมกมุ่นครุ่นคิดอยู่ข้างหินก้อนใหญ่ด้านหน้าของภาพเป็นภาพเหมือนของไมเคิล แอนเจโลที่เป็นลักษณะการวางภาพเช่นเดียวกับภาพประกาศกเจเรไมอาห์[29]ที่ไมเคิล แอนเจโลเขียนในชาเปลซิสติน. ภาพเหมือนของราฟาเอลเองอยู่ทางขวาข้างเปียโตร เปรูจิโน[30]

แต่งานที่ทำให้ราฟาเอลมีชื่อเสียงมิได้มาจากงานชิ้นใหญ่ๆ แต่มาจากงานเขียนภาพเล็กๆ ของพระแม่มารีและพระบุตร ราฟาเอลเขียนภาพหัวเรื่องนี้แล้วเขียนอีกที่มีพระแม่มารีพระเกศาสีทองที่มีพระพักตร์ที่อวบอิ่มที่เต็มไปด้วยความกรุณากับพระบุตรที่อวบอ้วน ในบรรดาภาพที่เขียนภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรในสวน” ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส งานชิ้นที่ใหญ่กว่า “พระแม่มารีซิสติน” เป็นงานที่นำมาใช้ในการออกแบบหน้าต่างประดับกระจกสีมากมาย และมาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ยุวเทพสองตนที่เกยคางอยู่ตอนล่างของภาพก็กลายมาเป็นรูปสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและนำไปใช้ในการสร้างงานศิลปะต่างๆ ตั้งแต่ปฏิทิน, โปสเตอร์, ร่ม, ถุงใส่สินค้า, จานรองแก้ว, กระดาษเช็ดปากและอื่นๆ[31][32]

ใกล้เคียง

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ จิตรกรรมบารอกแบบเฟลมิช จิตรกรรม จิตรกรรมไทยประเพณี จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก จิตรกรรมแผง จิตรกรรมภูมิทัศน์ จิตรกรรมไทย