ความแตกต่าง ของ จุลศักราช

การกำหนดชื่อเรียกเฉพาะ

การลำดับเลขเดือน

ปฏิทินจุลศักราช/ปฏิทินพม่าที่แพร่หลายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ บนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอยู่หลายแบบ ในขณะที่ระบบปฏิทินพม่าจะอ้างอิงเดือนต่าง ๆ ตามชื่อเดือน ระบบปฏิทินจุลศักราชของสิบสองปันนา เชียงตุง ล้านนา ล้านช้าง และสุโขทัย จะอ้างถึงเดือนต่าง ๆ ด้วยเลขลำดับเดือนแทน สิ่งเหล่านี้ทำให้การศึกษาเอกสารและจารึกโบราณในประเทศไทยต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นพิเศษ กล่าวคือ นอกจากจะต้องแน่ใจว่าวันที่ปรากฏในเอกสารจารึกเป็นวันที่ใช้ตามระบบปฏิทินท้องถิ่นต้นกำเนิดเอกสารแล้ว ยังต้องระวังถึงแบบแผนการใช้ปฏิทินที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ เองอีกด้วย[3] อย่างไรก็ตาม การนับเดือนตามระบบปฏิทินจุลศักราชที่ใช้ในประเทศกัมพูชา (เขมร) ซึ่งถือเอาเดือนมิคสิระเป็นเดือนอ้ายหรือเดือนแรกของปี จะเรียงลำดับเลขเดือนและชื่อเดือนตรงกัน[4]

ชื่อเดือนภาษาสันสกฤตชื่อเดือนภาษาบาลีเขมร, ล้านช้าง, สุโขทัยเชียงตุง, สิบสองปันนาเชียงใหม่
ไจตฺรมาสจิตฺตมาส567
ไวศาขมาสวิสาขมาส678
เชฺยษฺฐมาสเชฏฺฐมาส789
อาษาฒมาสอาสาฬฺหมาส8910
ศฺราวณมาสสาวนมาส91011
ภาทฺรปทมาส,
โปฺรษฐปทมาส
ภทฺทปทมาส,
โปฏฺฐปมาส
101112
อาศฺวินมาส,
อศฺวยุชมาส
อสฺสยุชมาส11121
การฺตฺติกมาสกตฺติกมาส1212
มารฺคศีรฺษมาสมิคสิรมาส123
เปาษมาสปุสฺสมาส234
มาฆมาส,
ปูสมาส
มาฆมาส,
ผุสฺสมาส
345
ผาลฺคุนมาสผคฺคุณมาส456

หมายเหตุ: ระบบลำดับเลขเดือนของสุโขทัยและล้านช้าง รวมถึงระบบลำดับเลขเดือนของพม่าที่เลิกใช้ไปแล้ว มีการลำดับเลขเดือนตรงกัน[5]

ชื่อปีนักษัตร

ระบบของไทยและกัมพูชาจะมีการกำหนดชื่อปีในทุกรอบ 12 ปี ด้วยชื่อสัตว์ต่าง ๆ ทำนองเดียวกับปีนักษัตรของจีน[6] ในประเทศพม่าก็มีการกำหนดชื่อปีลักษณะดังกล่าวเช่นกัน[7] แต่ได้สาบสูญไปตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1638 (ตามปฏิทินไทยคือ พ.ศ. 2080 ย่างเข้า พ.ศ. 2181) พระเจ้าตาลูนแห่งกรุงอังวะ ได้ทรงปฏิเสธที่จะใช้ปฏิทินจุลศักราชที่พระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงกำหนดขึ้นใช้ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดชื่อปีนักษัตรในแต่ละปี เนื่องจากการกำหนดชื่อปีนักษัตรด้วยชื่อสัตว์ดังกล่าวไม่ได้มีการใช้ในระบบปฏิทินพม่าแล้ว[8]

ในอาณาจักรล้านนาและล้านช้างก็ปรากฏว่ามีการกำหนดชื่อปีนักษัตรทั้ง 12 ปี เช่นกัน เรียกว่า ลูกมื้อ[9] แต่มีการเรียกชื่อแตกต่างจากภาษาไทย (ซึ่งมีชื่อปีตรงกับภาษาเขมรมากกว่า) และกำหนดชนิดสัตว์ประจำปีต่างกันเล็กน้อย[10]

ปีที่สัตว์ประจำปีชื่อภาษาไทยชื่อภาษาเขมรลูกมื้อ (ล้านนา/ล้านช้าง)
1หนูชวดជូត (ชวด)ไจ้
2วัวฉลูឆ្លូវ (ฉลูว)เป้า
3เสือขาลខាល (ขาล)ยี
4กระต่ายเถาะថោះ (เถาะ)เหม้า
5นาค/มังกรมะโรงរោង (โรง)สี
6งูเล็กมะเส็งម្សាញ់ (มสัญ)ไส้
7ม้ามะเมียមមី (มมี)สะง้า
8แพะมะแมមមែ (มแม)เม็ด
9ลิงวอกវក (วอก)สัน
10ไก่ระกาរកា (รกา)เร้า
11สุนัขจอច (จอ)เส็ด
12หมู (ไทย/เขมร)
ช้าง (ล้านนา/ล้านช้าง)
กุนកុរ (กุร)ไค้

การเรียกศกตามเลขท้ายปี

ในระบบปฏิทินแบบจุลศักราชของไทยและกัมพูชา จะมีการเรียกชื่อศกตามเลขท้ายปีจุลศักราชโดยใช้ชื่อเรียกอย่างเดียวกันตามลำดับเลขในภาษาบาลี-สันสกฤต ส่วนในล้านนาและล้านช้างก็มีระบบที่คล้ายคลึงกัน คือระบบ "แม่มื้อ" ใช้กำหนดเรียกชื่อศกในทุกรอบ 10 ปี ดังนี้

เลขศักราชที่ลงท้ายภาษาไทยภาษาเขมรแม่มื้อ (ล้านนา/ล้านช้าง)
1เอกศกឯកស័កปีกัด
2โทศกទោស័កปีกด
3ตรีศกត្រីស័កปีร้วง
4จัตวาศกចត្វាស័កปีเต่า
5เบญจศกបញ្ចស័កปีก่า
6ฉศก (/ฉอ-สก/)ឆស័កปีกาบ
7สัปตศกសប្តស័កปีดับ
8อัฐศกអដ្ឋស័កปีรวาย
9นพศกនព្វស័កปีเมือง
0สัมฤทธิศกសំរឹទ្ធិស័កปีเปิก

ในอดีต การเรียกชื่อศกตามท้ายเลขปีจุลศักราชของไทยและกัมพูชานั้นจะต้องใช้คู่กับชื่อปีนักษัตรเสมอ ส่วนล้านนาและล้านช้างก็เรียกชื่อปีด้วยแม่มื้อและลูกมื้อในทำนองเดียวกัน ต่างกันที่ระบบของไทยและกัมพูชาจะเอาชื่อปีนักษัตรขึ้นก่อนเลขศก ส่วนระบบของล้านนาล้านช้างจะเอาแม่มื้อ (เลขศก) ขึ้นก่อนลูกมื้อ (ปีนักษัตร) เช่น ปี ค.ศ. 2019 ตามปฏิทินไทยและกัมพูชาตรงกับ "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381" เทียบกับระบบแม่มื้อลูกมื้อของล้านนาและล้านช้าง ตรงกับ "ปีกัดไค้ จุลศักราช 1381" เป็นต้น ระบบดังกล่าวนี้ยังคงมีการใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในประเทศกัมพูชา ที่แม้จะยังคงการบอกเลขท้ายจุลศักราชไว้ แต่เมื่อบอกเลขปีศักราช กลับเลือกใช้พุทธศักราชแทน เช่น "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381" ในปฏิทินกัมพูชาจะใช้ว่า "ปีกุนเอกศก พุทธศักราช 2563" เป็นต้น (ระบบการนับพุทธศักราชของกัมพูชาเร็วกว่าที่ไทยใช้อยู่ 1 ปี)

หลักการคำนวณ

ระบบปฏิทินจุลศักราชมีความคล้ายคลึงกับระบบปฏิทินของพม่า ซึ่งอ้างอิงพื้นฐานการคำนวณระบบปฏิทินฮินดูตามคัมภีร์สูรยะสิทธันตะฉบับดั้งเดิม แต่แตกต่างจากระบบปฏิทินฮินดูตรงที่มีการนำเอาวัฏจักรเมตอน (Metonic cycle) มาร่วมใช้ในการคำนวณปฏิทินด้วย ทั้งนี้ วัฏจักรเมตอน คือ ช่วงระยะเวลาซึ่งใกล้เคียงกับตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของปีสุริยคติ และปีจันทรคติ ซึ่งใกล้เคียงกับระยะเวลา 19 ปี ระบบปฏิทินจุลศักราชนั้นมีการเพิ่มวันและเดือนในบางระยะ เพื่อชดเชยความคลาดเคลื่อนของวันและเดือนให้มีจำนวนใกล้เคียงกับระบบปฏิทินสุริยคติมากขึ้น[11]

การทดวันและเดือนเพิ่มเติม

ระบบปฏิทินจุลศักราชของไทยใช้รูปแบบของปี 3 แบบ คล้ายคลึงกับระบบปฏิทินพม่า แต่ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียวนัก[3] ในปฏิทินแต่ละแบบ กำหนดให้ปีปกติมีจำนวนวัน 354 วัน ปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือนเพิ่มเติม 1 เดือน) มีจำนวนวัน 384 ว้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปฏิทินพม่าจะเพิ่มวันชดเชยเพียงหนึ่งครั้งในปีอธิกมาสที่วัฏจักรเมตอนเวียนมาถึง ปฏิทินจุลศักราชของไทยกลับใช้วิธีเพิ่มวันชดเชยลงในปีปฏิทินปกติแทน อย่างไรก็ตาม วันชดเชยที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งระบบปฏิทินพม่าและปฏิทินจุลศักราชของไทย จะถูกนำไปเพิ่มในช่วงเดือนเดียวกัน คือ ช่วงหลังเดือนเชฎฐะ ซึ่งตรงกับเดือน 7 ของไทย และเดือนนายอนของพม่า[12] จึงทำให้บางปีมีเดือนอาสาฬหะสองหน แบ่งเป็นเดือนอาสาฬหะบูรพาษาฒ (เดือนแปดแรก) และเดือนอาสาฬหะอุตราษาฒ (เดือนแปดหลัง)

ปฏิทินปีปกติปีอธิกมาสน้อยปีอธิกมาสใหญ่
ปฏิทินพม่า354384385
ปฏิทินจุลศักราชของไทย354355384