การเขียน ของ จู้อิน

กล่องสี่เหลี่ยมแสดงขอบเขตรอบนอกของอักษรจีนและอักษรจู้อิน
วรรณยุกต์จู้อินพินอิน
1ไม่ปรากฏ¯
2ˊ´
3ˇˇ
4ˋˋ
5˙ไม่ปรากฏ
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
ลำดับขีดของอักษรจู้อิน

อักษรจู้อินถูกเขียนให้เหมือนกับอักษรจีนทั่วไป รวมทั้งกฎเกณฑ์ของลำดับการขีดและตำแหน่ง ปกติอักษรจู้อินจะเขียนไว้ที่ด้านขวาของอักษรจีนตัวนั้นเสมอ ไม่ว่าอักษรจีนจะเขียนแนวตั้งหรือแนวนอน โดยทางเทคนิคแล้วการเขียนแบบนี้เรียกว่าอักษรประกอบคำ (ruby character) และพบได้น้อยมากที่อักษรประกอบคำจะไปปรากฏอยู่ข้างบนเมื่อเขียนตามแนวนอน (เหมือนฟุริงะนะที่กำกับคันจิในภาษาญี่ปุ่น) กล่องแสดงสัญลักษณ์มักจะมีอักษรจู้อินสองหรือสามตัว (ซึ่งตัวมันเองนั้นมีขนาดพอดีกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส) วางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้กล่องของอักษรจีนหนึ่งตัวมีความยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

เครื่องหมายวรรณยุกต์ของจู้อินมี 4 ตัว ได้แก่ <ˊ> แทนเสียงที่สอง, <ˇ> แทนเสียงที่สาม, <ˋ> แทนเสียงที่สี่, และ <˙> แทนเสียงที่ห้า (เสียงเบา) ในภาษาจีนกลาง สำหรับเสียงที่หนึ่งจะไม่มีการเขียนวรรณยุกต์กำกับ ระบบพินอินได้นำเอาวรรณยุกต์เหล่านี้ไปใช้ โดยตัดรูปวรรณยุกต์เสียงที่ห้าออก แล้วเพิ่มรูปวรรณยุกต์ <¯> สำหรับเสียงที่หนึ่งแทน ตามตาราง ส่วนทงย่งพินอินนั้นใช้วรรณยุกต์เหมือนกับจู้อิน การเขียนวรรณยุกต์จะเขียนที่กึ่งกลางค่อนไปทางขวาของกล่องจู้อิน เว้นแต่เครื่องหมายจุดของเสียงที่ห้า จะเขียนไว้บนสุดของกล่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จู้อิน http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://web.archive.org/web/20070509032222/http://w... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-atayal.h... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-paiwan.h... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-sediq.ht... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-yami.htm... http://www.unicode.org/cgi-bin/GetUnihanData.pl?co... http://www.unicode.org/charts/PDF/U3100.pdf http://www.unicode.org/charts/PDF/U31A0.pdf http://www.tpml.edu.tw/TaipeiPublicLibrary/index.p...