ประวัติ ของ จู้อิน

ตาราง กว๋ออินจื้อหมู่ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น จู้อินฝูเฮ่า

โครงการรวมเสียงอ่านเป็นหนึ่งเดียว (讀音統一會: Commission on the Unification of Pronunciation) นำโดย อู๋ จิ้งเหิง (吳敬恆) นักภาษาศาสตร์และนักปรัชญา ดำเนินงานเมื่อ ค.ศ. 19121913 ในไต้หวัน[2] ได้สร้างระบบแทนเสียงอ่านที่มีชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (國音字母) หรือ จู้อินจื้อหมู่ (註音字母 หรือ 注音字母) โดยใช้พื้นฐานจากบันทึก จี้อินจื้อหมู่ (記音字母) ของ จาง ปิ่งหลิน (章炳麟) [3] นักนิรุกติศาสตร์ ซึ่งระบบใหม่นี้มีความแตกต่างจากระบบของจางบ้างเล็กน้อย เช่นการเพิ่มเข้าหรือตัดตัวอักษรบางตัวออกไป ฉบับร่างของระบบนี้ได้เผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติของไต้หวันเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 แต่ยังไม่ได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928[2]

ต่อมา จู้อินจื้อหมู่ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น จู้อินฝูเฮ่า ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1930 ดังคำพูดโดย จอห์น เดอฟรังซิส (John DeFrancis) จากหนังสือ The Chinese Language: Fact and Fantasy ที่กล่าวไว้ว่า

สัญลักษณ์เหล่านี้เดิมมีชื่อเรียกว่า จู้อินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียง) ต่อมามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียงแห่งชาติ) แต่ด้วยเกรงว่ามันอาจถูกตีความเป็นระบบการเขียนอักขระแบบชุดตัวอักษรอิสระ ในปี ค.ศ. 1930 จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น จู้อินฝูเฮ่า (สัญลักษณ์แทนเสียง)

– จอห์น เดอฟรังซิส[4]

แต่ในเวลาต่อมา ระบบพินอินซึ่งประกาศใช้โดยจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มเข้ามาแทนที่ระบบจู้อิน ถึงแม้ว่าคำอ่านในพจนานุกรมมาตรฐานบางครั้งก็ระบุการถอดเสียงทั้งแบบพินอินและจู้อิน[5] กระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันได้พยายามที่จะยกเลิกการใช้งานระบบจู้อินมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เนื่องจากความเห็นชอบที่จะใช้ระบบที่มีพื้นฐานบนอักษรละตินมากกว่า (เช่น MPS II) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปอย่างช้ามาก เนื่องจากความยากลำบากในการอบรมให้ครูโรงเรียนประถมทั้งหมดเข้าใจในระบบอักษรละตินใหม่นี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จู้อิน http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://web.archive.org/web/20070509032222/http://w... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-atayal.h... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-paiwan.h... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-sediq.ht... http://www.christusrex.org/www1/pater/JPN-yami.htm... http://www.unicode.org/cgi-bin/GetUnihanData.pl?co... http://www.unicode.org/charts/PDF/U3100.pdf http://www.unicode.org/charts/PDF/U31A0.pdf http://www.tpml.edu.tw/TaipeiPublicLibrary/index.p...