ฉันท์มาตราพฤติ ของ ฉันท์

ฉันท์มาตราพฤติ เป็นฉันท์ที่บังคับมาตรา โดยกำหนดให้พยางค์เสียงหนักคือ พยางค์ครุเป็นพยางค์ละ 2 มาตรา ส่วนพยางค์เสียงเบา คือ พยางค์ลหุ เป็นพยางค์ละ 1 มาตรา ในคัมภีร์วุตโตทัยมีฉันท์มาตราพฤติ 27 ชนิด ตั้งแต่บทละ 45 มาตรา จนถึง 68 มาตรา แบ่งเป็น 4 พวกใหญ่ ๆ คือ

อริยชาติฉันท์

มี ๗ ชนิด ได้แก่ อริยฉันท์, อริยสามัญญฉันท์, อริยปัฐยาฉันท์, อริยวิปุลาฉันท์, อริยจปลาฉันท์, อริยมุขจปลาฉันท์ และ อริยชฆนจปลาฉันท์

คีติชาติฉันท์

มี ๔ ชนิด ได้แก่ คีติฉันท์, อุปคีติฉันท์, อูคีติฉันท์ และอริยคีติฉันท์

เวตาฬิยชาติฉันท์

มี ๙ ชนิด ได้แก่ เวตาฬิยฉันท์, โอปัจฉันทสกะฉันท์, อาปาตลิฉันท์, ลักขณันตฉันท์, อุทิจจวุตติฉันท์, ปัจจวุตติฉันท์, ปวัตตกฉันท์, อปรันติกฉันท์ และจารุหาสินีฉันท์

มัตตาสมกชาติฉันท์

มี ๗ ชนิด ได้แก่ อจลฐิติฉันท์, มัตตาสมกฉันท์, วิสิโลกฉันท์, วานวาสิกฉันท์, จิตราฉันท์, อุปจิตราฉันท์ และปาทากุลกฉันท์

กวีไม่นิยมใช้ฉันท์มาตราพฤติในงานกวีนิพนธ์

ฉันท์มาตราพฤติเป็นฉันท์ที่กำหนดมาตรา ไม่กำหนดคณะฉันท์ ผู้แต่งสามารถพลิกแพลงอักษรใช้ได้หลายแบบในมาตราที่กำหนด ทำให้ดูขาดระเบียบ และไม่กำหนดฉันทลักษณ์ที่แน่นอนลงได้ รวมทั้งกำหนดจังหวะอ่านลำบาก กวีจึงไม่นิยมใช้ฉันท์มาตราพฤติในงานกวีนิพนธ์ จะมีก็แต่ในตำราฉันท์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเท่านั้น[2]